หัวใจถูกบีบรัด (อังกฤษ: cardiac tamponade, pericardial tamponade) เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งมีของเหลวคั่งอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ[2] หากมีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นจนทำให้หัวใจไม่สามารถขยายตัวเพื่อเติมเลือดเข้าห้องหัวใจได้จะทำให้หัวใจมีปริมาตรเลือดหัวใจบีบต่อครั้ง (stroke volume) ลดลง ทำให้เกิดการสูบฉีดเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เกิดภาวะช็อค และทำให้เสียชีวิตได้

ข้อมูลเบื้องต้น หัวใจถูกบีบรัด (Cardiac tamponade), ชื่ออื่น ...
หัวใจถูกบีบรัด
(Cardiac tamponade)
ชื่ออื่นPericardial tamponade
Thumb
ภาพการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแสดงปริมาตรของน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจขนาดใหญ่มากทำให้เกิดการกดทับอันเป็นผลมาจากการมีเลือดออกจากมะเร็ง; ลูกศรปิด -แสดงหัวใจ, ลูกศรเปิด -แสดงการไหล
สาขาวิชาศัลยกรรมหัวใจ
อาการหายใจลำบาก, อ่อนแรง, วิงเวียนศีรษะ, ไอ[1]
การตั้งต้นรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไป[2]
สาเหตุมะเร็ง, ไตวาย, การบาดเจ็บทรวงอก, เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ, วัณโรค[1][2]
วิธีวินิจฉัยสังเกตอาการและตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ[2]
การรักษาระบายของเหลว (เจาะเยื่อหุ้มหัวใจ, เปิดช่องเยื่อหุ้มหัวใจ, ลอกเยื่อหุ้มหัวใจ)[2]
ความชุก2 ต่อ 10,000 ประชากรต่อปี (สหรัฐ)[3]
ปิด

ภาวะหัวใจถูกบีบรัดเกิดขึ้นเมื่อเกิดมีของเหลวขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเร็วเกินกว่าที่ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะขยายได้ทัน หากปริมาณของของเหลวเพิ่มขึ้นช้า ๆ (เช่นในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย) ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะสามารถขยายขนาดเพื่อรองรับของเหลวได้ก่อนที่จะเกิดภาวะบีบรัด แต่ถ้าของเหลวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เช่นในอุบัติเหตุหรือการฉีกขาดของหัวใจ) ปริมาณของเหลวเพียง 100 มิลลิลิตรก็สามารถทำให้เกิดภาวะบีบรัดได้[4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.