วงศ์วาฬแกลบ[2] หรือ วงศ์วาฬอกร่อง (อังกฤษ: Rorqual; การออกเสียง /ˈrɔːrkwəl/) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Balaenopteridae

ข้อมูลเบื้องต้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์, สกุล ...
วงศ์วาฬแกลบ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน
Thumb
วาฬหลังค่อม (Megaptera novaeanglia)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Mysticeti
วงศ์ใหญ่: Balaenopteroidea
วงศ์: Balaenopteridae
Gray, 1864
สกุล[1]
ปิด

จัดเป็นวาฬบาลีน หรือวาฬไม่มีฟันวงศ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของวาฬในวงศ์นี้คือ มีครีบหลังรูปสามเหลี่ยมอยู่ส่วนท้ายลำตัวและช่วงท้อง และลักษณะเด่นอีกประการ คือ จากใต้คางลงไปมีลักษณะเป็นร่อง ๆ ถี่ ๆ ยาวไปตามลำตัว 30-100 ร่อง เรียกว่า "Rorqual" [3]

เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมีตั้งแต่ 150 ตัน จนถึงขนาดเล็กที่สุด 9 ตัน เป็นวาฬที่มีหวีกรองในปาก คือ บาลีน จึงกินอาหารได้แต่เพียงขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน, เคย และปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะตัก, ปลาแฮร์ริ่ง เป็นต้น

พบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ติดต่อสื่อสารกันด้วยคลื่นเสียงและโซนาร์ ตัวเมียมีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 11-12 เดือน เมื่อคลอดลูกอ่อนจะออกมาจากช่องคลอดของแม่ โดยส่วนหางออกมาก่อน เพื่อให้ส่วนของช่องหายใจเป็นส่วนสุดท้ายที่ออกมาสัมผัสน้ำทะเล และสามารถว่ายน้ำได้ทันที โดยโผล่ขึ้นมาสูดอากาศหายใจครั้งแรกในทันทีที่คลอด ลูกแรกเกิดมีขนาดใหญ่ประมาณร้อยละ 40 ของแม่ ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย[3]

การจำแนก

แบ่งออกได้เป็น 9 ชนิด 2 สกุล ทั้งนี้มีบางสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่

  • สกุล Balaenoptera
    • Balaenoptera acutorostrata Lacépède, 1804 (วาฬมิงค์, วาฬแกลบครีบขาวเทา)
    • Balaenoptera bonaerensis Burmeister, 1867 (วาฬมิงค์แอตแลนติก)
    • Balaenoptera borealis Lesson, 1828 (วาฬไซ, วาฬแกลบครีบดำ)
    • Balaenoptera brydei Olsen, 1913 (วาฬบรูด้า, วาฬแกลบ)
    • Balaenoptera edeni Anderson, 1879 (วาฬอีเดน-บางข้อมูลจัดเป็นชนิดเดียวกันกับวาฬบรูด้า)[4]
    • Balaenoptera musculus (Linnaeus, 1758) (วาฬสีน้ำเงิน)
    • Balaenoptera omurai Wada, Oishi, and Yamada, 2003 (วาฬโอมุระ)
    • Balaenoptera physalus (Linnaeus, 1758) (วาฬฟิน)
  • สกุล Megaptera
  • ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[5]
    • Archaebalaenoptera
    • Cetotheriophanes
    • Diunatans
    • Mauicetus
    • Notiocetus
    • Parabalaenoptera
    • Plesiobalaenoptera
    • Praemegaptera
    • Protororqualus

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.