Ars longa, vita brevis เป็นคำแปลภาษาละตินของคำพังเพยที่มีที่มาจากภาษากรีกโบราณ ซึ่งแปลโดยคร่าว ๆ ได้ว่า "ความชำนาญต้องใช้เวลา, ชีวิตนั้นสั้น" (skilfulness takes time and life is short.) โดยคำพังเพยนี้ยกมาจากสองบรรทัดแรกของ Aphorismi โดยฮิปโปเครติส แพทย์ยุคกรีกโบราณ
ในภาษาไทยนิยมแปลโดยทั่วไปว่า "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" และเกี่ยวพันกับศิลป พีระศรี
คำแปล
ตัวบทต้นฉบับภาษากรีก คำแปลเป็นภาษาละตินมาตรฐาน คำแปลเป็นภาษาอังกฤษจากภาษากรีก และคำแปลเป็นภาษาไทยจากภาษาอังกฤษ คือ:
กรีก:[1] | ถอดอักษรเป็นโรมัน |
|
|
ละติน: | อังกฤษ (ไทย):[2] |
|
|
การตีความ
หนึ่งในประเด็นที่มักถูกยกมาพูดคุยมากที่สุดเกี่ยวกับวลีนี้คือคำว่า "ศิลปะ" หรือ "art" (ละติน: ars, กรีกโบราณ: τέχνη tékhnē) ซึ่งมีความหมายดั้งเดิมว่า "เทคนิค, หัตถการ" (ดังเช่นใน The Art of War) ไม่ใช่ศิลปะในแง่ของ "วิจิตรศิลป์" (fine art) คำนี้มาจากงานเขียนของฮิปโปเครติส ซึ่งเป็นแพทย์ยุคโบราณและเขียนวลีนี้เป็นคำเปิดในงานเขียนทางการแพทย์ของเขา บรรทัดต่อมาจากวลีนี้เขียนว่า: "แพทย์จะต้องไม่เพียงแต่เตรียมพร้อมที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องโดยตัวเขาเอง แต่จะต้องทำให้ผู้ป่วย ผู้มีส่วนร่วม และบุคคลภายนอกให้ความร่วมมือด้วย"[a] ฉะนั้น หากจะแปลวลีนี้ให้เข้าบริบท ควรแปลว่า "การที่บุคคลหนึ่งจะชำนาญการในสิ่งใดก็ตาม (เช่นในบริบทนี้คือการแพทย์) ต้องใช้เวลา แต่ขณะเดียวกันบุคคลหนึ่งก็มีเวลาสั้นเหลือเกินที่จะทำ [ฝึกฝนจนชำนาญ]"[3] วลีนี้ยังตีความได้ว่า "แม้ศิลปินจะล่วงลับหรือถูกลืม แต่ศิลปะคงอยู่ตลอดไป"[3]
หมายเหตุ
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.