Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรมาจิ (ญี่ปุ่น: ローマ字; โรมาจิ: Rōmaji; [ɾoːma(d)ʑi] หรือ [ɾoːmaꜜ(d)ʑi], แปลว่า อักษรโรมัน) หมายถึง อักษรโรมัน (อักษรละติน) ที่ใช้แทนอักษรคานะในภาษาญี่ปุ่นตามระบบการถอดเป็นอักษรโรมัน (romanization) ซึ่งมีอยู่หลายระบบ ได้แก่ ระบบคุนเร (ญี่ปุ่น: 訓令式 โรมาจิ: Kunrei-shiki ทับศัพท์: คุนเรชิกิ) ระบบเฮ็ปเบิร์น (ญี่ปุ่น: ヘボン式 โรมาจิ: Hebon-shiki ทับศัพท์: เฮบงชิกิ) ระบบนิฮง (ญี่ปุ่น: 日本式 โรมาจิ: Nihon-shiki ทับศัพท์: นิฮงชิกิ) เป็นต้น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ในปี ค.ศ. 1954 (ปีโชวะที่ 29) รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ "ข้อกำหนดการถอดเป็นอักษรโรมัน" (ญี่ปุ่น: ローマ字のつづり方 โรมาจิ: Rōmaji no tsuzurikata) ประกอบไปด้วยตาราง 2 ตาราง ตารางที่ 1 เป็นวิธีถอดตามระบบคุนเร ส่วนตารางที่ 2 เป็นวิธีถอดแบบอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับระบบคุนเร โดยกำหนดให้ใช้ตารางที่ 1 เป็นหลัก และใช้ตารางที่ 2 เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ตามระบบที่กำหนดได้ในทันที เช่น เป็นวิธีถอดที่ใช้ในทางการทูต[1]
นอกจากนี้ ใน "แนวปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา" (ญี่ปุ่น: 小学校学習指導要領; โรมาจิ: Shōgakkō gakushū shidō yōryō) ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2017 (ปีเฮเซที่ 29) ยังได้กำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรียนวิธีการถอดภาษาญี่ปุ่นเป็นอักษรโรมัน (โรมาจิ) ตามข้อกำหนดข้างต้นทั้งในด้านการอ่านและการเขียนด้วย[2] อย่างไรก็ตาม โรมาจิมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์[3]
เสียงสระ「ア、イ、ウ、エ、オ」เขียนเป็น "a, i, u, e, o" ตามลำดับ
โดยหลักการแล้ว เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค 「カ、サ、タ、ナ、ハ、マ、ヤ、ラ、ワ、ガ、ザ、ダ、バ、パ」ให้เขียนเป็น "k, s, t, n, h, m, y, r, w, g, z, d, b, p" ตามลำดับ ส่วนเสียงควบกล้ำให้เขียนเป็น "พยัญชนะ+y+สระ" เช่น 「キャ」→ "kya"
ระบบเฮ็ปเบิร์นและระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงแทน「シ」ด้วย "shi" แทน「チ」ด้วย "chi" แทน「ツ」ด้วย "tsu" แทน「フ」ด้วย "fu" แทน「ジ」ด้วย "ji" เสียงควบกล้ำของวรรค「サ」แทนด้วย "sh-" ทั้งหมด เสียงควบกล้ำของวรรค「タ」แทนด้วย "ch-" ทั้งหมด และเสียงควบกล้ำของวรรค「ザ」แทนด้วย "j-" ทั้งหมด เนื่องจากคำนึงถึงความใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาแม่ของเจมส์ เคอร์ทิส เฮ็ปเบิร์น (James Curtis Hepburn)
ระบบนิฮงแทน「ヂ」「ヅ」「ヲ」ด้วย "di" "du" "wo" อิงตามอักขรวิธีโบราณ แต่เนื่องจากในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) ไม่ได้แยกความต่างระหว่าง「ヂ」กับ「ジ」, 「ヅ」กับ「ズ」และ「ヲ」กับ「オ」อีกต่อไป ระบบคุนเรจึงใช้ "zi" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」 เช่นเดียวกับระบบเฮ็ปเบิร์นที่ให้ "ji" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」
โดยหลักการแล้ว เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกให้เขียนเป็น "n" ยกเว้นเฉพาะระบบเฮ็ปเบิร์นดั้งเดิมที่กำหนดให้เขียนเป็น "m" เมื่ออยู่หน้าอักษร "b, p, m"
หากหลัง「ん」เป็นสระหรืออักษรวรรค「ヤ」ในระบบเฮ็ปเบิร์นดั้งเดิมจะเติมเครื่องหมายยัติภังค์ ส่วนระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงจะเติมเครื่องหมายอะพอสทรอฟี เพื่อป้องกันความสับสนที่จะอ่านเป็นอักษรวรรค「ナ」
ตัวอย่าง: shin-ai หรือ shin'ai(親愛) ≠ shinai(市内), shin-yō หรือ shin'yō(信用) ≠ shinyō(屎尿)
โดยหลักการแล้ว ให้ซ้ำพยัญชนะที่อยู่ก่อนหน้าเสียงพยัญชนะซ้ำ มีข้อยกเว้นเฉพาะในระบบเฮ็ปเบิร์น (ทั้งแบบเก่าและฉบับปรับปรุง) ที่ให้ให้ "t" เมื่อตามด้วย "ch" เช่น "matcha" สำหรับเสียงพยัญชนะซ้ำกรณีที่ปรากฏท้ายคำ เช่น「あっ」「それっ」ไม่มีระบบใดที่กำหนดวิธีเขียนไว้
คำช่วย「は」「へ」「を」 ทั้งระบบคุนเรและระบบเฮ็ปเบิร์นเขียนด้วย「わ (wa)」「え (e)」「お (o)」ตามลำดับ แต่อาจพบการเขียนเป็น「は (ha)」「へ (he)」「を (wo)」ได้ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการสะท้อนรูปเขียนของอักษรคานะ
โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์น จะออกเสียงสระตามกลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นวิธีแสดงการสะกดคำในภาษาญี่ปุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ และเคยเป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา แต่ถูกยกเลิก ณ วันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๔ โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์นเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์นฉบับแก้ไข ใช้ขีดข้างบนสระเพื่อแสดงสระเสียงยาว และใช้เครื่องหมายอะพอสทรอฟีเพื่อแบ่งพยางค์ในบางกรณี เช่น じゅんいちろう-Jun'ichirō ระบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเรียนต่างชาติและในทางวิชาการ
โรมาจิแบบนิฮงชิกิ ออกแบบมาเพื่อให้คนญี่ปุ่นเขียนภาษาของตนด้วยอักษรละติน แทนการถ่ายเสียงตามแบบเฮ็ปเบิร์น ระบบนี้ตามระบบอักษรญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัด ไม่เปลี่ยนตามวิธีออกเสียง ระบบนี้เป็นมาตรฐาน ISO 3602 Strict
โรมาจิแบบคุงเรชิกิ เป็นการดัดแปลงเล็กน้อยจากโรมาจิแบบนิฮงชิกิ โดยอักษร づ กับ ず ออกเสียง zu เหมือนกันในภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ ในทางกลับกัน นิฮงชิกิจะเขียน づ เป็น du และเขียน ず เป็น zu คุงเรชิกิเป็นมาตรฐานของทางการญี่ปุ่น และเป็นมาตรฐาน ISO 3602 คุงเรชิกิจะสอนที่โรงเรียนญี่ปุ่นในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ตัวอย่างของการทับศัพท์แบบต่าง ๆ
ฮิรางานะ | คาตากานะ | เฮปเบิร์น | นิฮงชิกิ | คุงเรชิกิ | สากล |
---|---|---|---|---|---|
あ | ア | a | |||
い | イ | i | |||
う | ウ | u | ɯ | ||
え | エ | e | |||
お | オ | o | |||
か | カ | ka | |||
き | キ | ki | kʲi | ||
く | ク | ku | kɯ | ||
け | ケ | ke | |||
こ | コ | ko | |||
きゃ | キャ | kya | kʲa | ||
きゅ | キュ | kyu | kʲɯ | ||
きょ | キョ | kyo | kʲo | ||
さ | サ | sa | |||
し | シ | shi | si | ɕi | |
す | ス | su | sɯ | ||
せ | セ | se | |||
そ | ソ | so | |||
しゃ | シャ | sha | sya | ɕa | |
しゅ | シュ | shu | syu | ɕɯ | |
しょ | ショ | sho | syo | ɕo | |
た | タ | ta | |||
ち | チ | chi | ti | tɕi | |
つ | ツ | tsu | tu | tsɯ | |
て | テ | te | |||
と | ト | to | |||
ちゃ | チャ | cha | tya | tɕa | |
ちゅ | チュ | chu | tyu | tɕɯ | |
ちょ | チョ | cho | tyo | tɕo | |
な | ナ | na | |||
に | ニ | ni | ɲi | ||
ぬ | ヌ | nu | nɯ | ||
ね | ネ | ne | |||
の | ノ | no | |||
にゃ | ニャ | nya | ɲa | ||
にゅ | ニュ | nyu | ɲɯ | ||
にょ | ニョ | nyo | ɲo | ||
は | ハ | ha | |||
ひ | ヒ | hi | çi | ||
ふ | フ | fu | hu | ɸɯ | |
へ | ヘ | he | |||
ほ | ホ | ho | |||
ひゃ | ヒャ | hya | ça | ||
ひゅ | ヒュ | hyu | çɯ | ||
ひょ | ヒョ | hyo | ço | ||
ま | マ | ma | |||
み | ミ | mi | mʲi | ||
む | ム | mu | mɯ | ||
め | メ | me | |||
も | モ | mo | |||
みゃ | ミャ | mya | mʲa | ||
みゅ | ミュ | myu | mʲɯ | ||
みょ | ミョ | myo | mʲo | ||
や | ヤ | ya | ja | ||
ゆ | ユ | yu | jɯ | ||
よ | ヨ | yo | jo | ||
ら | ラ | ra | ɾa | ||
り | リ | ri | ɾʲi | ||
る | ル | ru | ɾɯ | ||
れ | レ | re | ɾe | ||
ろ | ロ | ro | ɾo | ||
りゃ | リャ | rya | ɾʲa | ||
りゅ | リュ | ryu | ɾʲu | ||
りょ | リョ | ryo | ɾʲo | ||
わ | ワ | wa | wa~ɰa | ||
ゐ | ヰ | i | wi | i | |
ゑ | ヱ | e | we | e | |
を | ヲ | o | wo | o | |
ん | ン | n-n'(-m) | n-n' | m~n~ŋ~ɴ | |
が | ガ | ga | |||
ぎ | ギ | gi | gʲi | ||
ぐ | グ | gu | gɯ | ||
げ | ゲ | ge | |||
ご | ゴ | go | |||
ぎゃ | ギャ | gya | gʲa | ||
ぎゅ | ギュ | gyu | gʲɯ | ||
ぎょ | ギョ | gyo | gʲo | ||
ざ | ザ | za | |||
じ | ジ | ji | zi | ʑi~dʑi | |
ず | ズ | zu | zɯ | ||
ぜ | ゼ | ze | |||
ぞ | ゾ | zo | |||
じゃ | ジャ | ja | zya | ʑa~dʑa | |
じゅ | ジュ | ju | zyu | ʑɯ~dʑɯ | |
じょ | ジョ | jo | zyo | ʑo~dʑo | |
だ | ダ | da | |||
ぢ | ヂ | ji | di | zi | ʑi~dʑi |
づ | ヅ | zu | du | zu | zɯ |
で | デ | de | |||
ど | ド | do | |||
ぢゃ | ヂャ | ja | dya | zya | ʑa~dʑa |
ぢゅ | ヂュ | ju | dyu | zyu | ʑɯ~dʑɯ |
ぢょ | ヂョ | jo | dyo | zyo | ʑo~dʑo |
ば | バ | ba | |||
び | ビ | bi | bʲi | ||
ぶ | ブ | bu | bɯ | ||
べ | ベ | be | |||
ぼ | ボ | bo | |||
びゃ | ビャ | bya | bʲa | ||
びゅ | ビュ | byu | bʲɯ | ||
びょ | ビョ | byo | bʲo | ||
ぱ | パ | pa | |||
ぴ | ピ | pi | pʲi | ||
ぷ | プ | pu | pɯ | ||
ぺ | ペ | pe | |||
ぽ | ポ | po | |||
ぴゃ | ピャ | pya | pʲa | ||
ぴゅ | ピュ | pyu | pʲɯ | ||
ぴょ | ピョ | pyo | pʲo | ||
ゔ | ヴ | vu | βɯ |
คะนะ | เฮปเบิร์น | นิฮงชิกิ | คุงเรชิกิ |
---|---|---|---|
うう | ū | û | |
おう, おお | ō | ô | |
し | shi | si | |
しゃ | sha | sya | |
しゅ | shu | syu | |
しょ | sho | syo | |
じ | ji | zi | |
じゃ | ja | zya | |
じゅ | ju | zyu | |
じょ | jo | zyo | |
ち | chi | ti | |
つ | tsu | tu | |
ちゃ | cha | tya | |
ちゅ | chu | tyu | |
ちょ | cho | tyo | |
ぢ | ji | di | zi |
づ | zu | du | zu |
ぢゃ | ja | dya | zya |
ぢゅ | ju | dyu | zyu |
ぢょ | jo | dyo | zyo |
ふ | fu | hu | |
ゐ | i | wi | i |
ゑ | e | we | e |
を | o | wo | o |
ん | n, n' ( m) | n n' |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.