โรงเรียนวัดราชาธิวาส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวัดราชาธิวาส (อังกฤษ: Rajadhivas School) เป็นโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมายาวนาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งเป็น พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เมื่อก่อนเป็นโรงเรียนชายล้วน จนถึง พ.ศ. 2538 เป็นโรงเรียน สหศึกษา ตั้งอยู่ที่ ซอยสามเสน 9 แขวง วชิรพยาบาล เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ตุลาคม 2020) |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
โรงเรียนวัดราชาธิวาส Rajadhivas School | |
---|---|
พิกัด | 13.774966°N 100.504745°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.ว./R.J. |
คำขวัญ | สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ
(พวกเราพึงเคารพพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) |
สถาปนา | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 10105554 |
ผู้อำนวยการ | นาย อภิภูมิ เปี้ยปลูก |
สี | ชมพูและน้ำเงิน |
เพลง | มาร์ช ชมพู-น้ำเงิน |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นมะฮอกกานีใบใหญ่ |
เอกลักษณ์ | ลูกราชามีสัมมาคารวะ |
คติพจน์ | เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม |
เว็บไซต์ | www.rajadhivas.ac.th |
โรงเรียนวัดราชาธิวาสสถาปนาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสขณะนั้น ในลักษณะอาคารเรียนชั่วคราวและได้มีการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร ในลำดับต่อมา คือ ตึกไชยันต์ 2462 และตึกสามพี่น้อง โดยทุนทรัพย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ภายหลังได้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการให้สร้างตึกวาสุกรี ตึกสมอรายขึ้นเพิ่มเติมและสร้างตึกสามพี่น้อง ตึกไชยันต์ของใหม่ แทนของเก่าที่ทรุดโทรม ปัจจุบันโรงเรียนวัดราชาธิวาสมี 4 อาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 จึงได้เริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ[1]
อาคารรูปตัว L มีจำนวน 6 ชั้น
มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกศิลปะและพละศึกษา (ชั้น 3 เป็นโรงยิม)
มีจำนวน 4 ชั้น ห้องปรับอากาศทั้งหมด
มีจำนวน 3 ชั้น เป็นตึกวิทย์
เป็นโดมหลังคาขนาดใหญ่ คุมพื้นที่ทั้งสนาม (สร้างขึ้นสมัย ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี) ใช้สำหรับที่เข้าแถวเคารพธงชาติตอนเช้า และยังเป็นลานอเนกประสงค์ใช้ในพิธีสำคัญต่าง ๆ
เป็นลานอเนกประสงค์มีเวทีใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ, โรงอาหาร
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ครูใหญ่ปรุง | พ.ศ. 2447-2449 |
2 | ครูใหญ่รัตน์ | พ.ศ. 2449-2450 |
3 | ครูใหญ่พุก | พ.ศ. 2451-2452 |
4 | ครูใหญ่ทวี | พ.ศ. 2452-2453 |
5 | ครูใหญ่วารี | พ.ศ. 2453-2454 |
6 | ครูใหญ่เผื่อน | พ.ศ. 2453-2454 |
7 | ครูใหญ่เกิด | พ.ศ. 2454-2458 |
8 | ครูใหญ่พร | พ.ศ. 2458-2459 |
9 | ครูใหญ่ราชบุรุษตรี | พ.ศ. 2459 |
10 | ครูใหญ่เกิด (ขุนกุมาโรวาท) | พ.ศ. 2459 |
11 | ครูใหญ่แช่ม | พ.ศ. 2460-2462 |
12 | ครูใหญ่ขุนพิพัฒน์คุรุกิจ (แช่ม) | พ.ศ. 2462 |
13 | ครูใหญ่ทองคำ ภูจามร | พ.ศ. 2462-2463 |
14 | ครูใหญ่หลวงชาญพิทยกิจ | พ.ศ. 2463-2476 |
15 | ขุนวิรุฬจรรยา (จันทร์เงินมาก) (สมัย 1) | พ.ศ. 2476-2487 |
16 | ครูใหญ่สุวรรณ เผือกใจแผ้ว | พ.ศ. 2487-2490 |
17 | ขุนวิรุฬจรรยา (จันทร์เงินมาก) (สมัย 2) | พ.ศ. 2591-2503 |
18 | อาจารย์ถิ่น รัติกนก | พ.ศ. 2503-2507 |
19 | อาจารย์ใหญ่เรวัติ ชื่นสำราญ | พ.ศ. 2507-2508 |
20 | อาจารย์ใหญ่แสวง ตันบุญตั้ง | พ.ศ. 2508-2511 |
21 | อาจารย์ใหญ่ทองสุก เกตุโรจน์ | พ.ศ. 2511-2514 |
22 | ผอ.ว่าที่ ร.ต.จรัญ โสตถิพันธุ์ | พ.ศ. 2515-2519 |
23 | ผอ.สวัสดิ์ ปิ่นสุวรรณ | พ.ศ. 2519-2520 |
24 | ผอ.จรัญ ดาบโกไสย | พ.ศ. 2520-2521 |
25 | ผอ.ทิม ผลภาค | พ.ศ. 2521-2526 |
26 | ผอ.เจริญ วงศ์พันธ์ | พ.ศ. 2526-2531 |
27 | ผอ.ดุสิต พูนพอน | พ.ศ. 2531-2534 |
28 | ผอ.สุรินทร์ ต่อเนื่อง | พ.ศ. 2534-2537 |
29 | ผอ.ประวิทย์ พฤทธิกุล | พ.ศ. 2537-2538 |
30 | ผอ.อำนาจ ผิวขำ | พ.ศ. 2538-2542 |
31 | ผอ.นิรมล ธรรมอุปกรณ์ | พ.ศ. 2542-2545 |
32 | ผอ.สุธน คุ้มสลุด | พ.ศ. 2545-2549 |
33 | ผอ.เทพฤทธิ์ ศรีปัญญา | พ.ศ. 2549 |
34 | ผอ.อนันต์ ทรัพย์วารี | พ.ศ. 2549-2554 |
35 | ผอ.ไชยา กัญญาพันธุ์ | พ.ศ. 2554-2556 |
36 | ผอ.สมทบ โตสุรัตน์ | พ.ศ. 2556-2559 |
37 | ผอ.ชาญณรงค์ แก้วเล็ก | พ.ศ. 2559-2563 |
38 | ผอ.ราเมศ มุสิกานนท์ | พ.ศ. 2563-2564 |
39 | ผอ.นฤเทพ ใจสุทธิ | พ.ศ. 2564-2566 |
40 | ผอ.อภิภูมิ เปี้ยปลูก | พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.