Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคไอกรน (อังกฤษ: pertussis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง[10][1] อาการแรกเริ่มมักคล้ายคลึงกับหวัด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหล และไอเล็กน้อย จากนั้นจึงมีอาการไอรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และมีไอเสียงสูงหรือหายใจเฮือกขณะจะมีอาการไอ อาการไอในระยะนี้อาจเป็นต่อเนื่องได้ถึง 10 สัปดาห์หรือมากกว่า บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคไอ 100 วัน"[11] ผู้ป่วยอาจมีอาการไอรุนแรงมากจนอาเจียน ซี่โครงหัก หรืออ่อนเพลียอย่างมากจากการไอได้[1][2] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีอาจมีอาการไอเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไอเลย แต่มีอาการหยุดหายใจชั่วขณะแทน[1] ระยะฟักตัวของโรคนี้มักอยู่ที่ 7-10 วัน ผู้ที่รับวัคซีนแล้วก็อาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่อาการอาจรุนแรงน้อยกว่า[1]
โรคไอกรน | |
---|---|
ชื่ออื่น | Whooping cough, pertussis, 100-day cough |
A young boy coughing due to pertussis. | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Runny nose, fever, cough[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Vomiting, broken ribs, very tired[1][2] |
ระยะดำเนินโรค | ~ 10 weeks[3] |
สาเหตุ | Bordetella pertussis (spread through the air)[4] |
วิธีวินิจฉัย | Nasopharyngeal swab[5] |
การป้องกัน | Pertussis vaccine[6] |
การรักษา | Antibiotics (if started early)[7] |
ความชุก | 16.3 million (2015)[8] |
การเสียชีวิต | 58,700 (2015)[9] |
โรคคอตีบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis[4] สามารถติดต่อกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอหรือการจามของผู้ป่วย[4][12] ระยะที่สามารถติดต่อได้เริ่มตั้งแต่ระยะที่เริ่มมีอาการไปจนถึงระยะที่ไอต่อเนื่องกันมาแล้ว 3 สัปดาห์[7] ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะพ้นระยะติดต่อเมื่อเวลาผ่านไป 5 วัน[7] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกหรือคอหอย[5] แล้วนำไปเพาะเชื้อหรือตรวจสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์[5]
การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนโรคคอตีบ[6] แนะนำให้เริ่มฉีดครั้งแรกตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ และควรจะได้ 4 ครั้ง ภายในอายุ 2 ปีแรก[13] ภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่[14] ในผู้สัมผัสโรคที่มีความเสีย่งต่อการป่วยรุนแรงอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคได้[15] สำหรับผู้ป่วยโรคคอตีบ การให้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้เริ่มให้ยาภายใน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย[7] สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือสตรีตั้งครรภ์ ยังแนะนำให้ได้รับยาปฏิชีวนะหากป่วยมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์[7] ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ เช่น อีริโทรมัยซิน อะซิโทรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน และไทรเมโทพริม/ซัลฟาเมทอกซาโซล[7] การรักษาอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอาการไอนอกเหนือไปจากการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นยังไม่มีหลักฐานที่ดีมาสนับสนุนการใช้[16] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ประมาณ 50% จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และประมาณ 0.5% จะเสียชีวิต[1][2]
มีข้อมูล ค.ศ. 2015 ซึ่งประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคคอตีบประมาณ 16.3 ล้านคน[8] ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยพบได้ทุกช่วงอายุ[6][16] จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจาก 138,000 คนใน ค.ศ. 1990 เหลือ 58,700 คนใน ค.ศ. 2015[9][17] มีบันทึกกล่าวถึงการระบาดของโรคนี้ย้อนกลับไปจนถึงคริสตศตวรรษที่ 16[18] แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1906[18] และวัคซีนก็มีใช้ตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1940[18]
อาการตามแบบฉบับของโรคไอกรนคืออาการไอมากเป็นชุดๆ หายใจเข้าเสียงดัง (วู้ป/whoop) บางครั้งอาจไอมากจนอาเจียนหรือหมดสติได้[19]
โรคไอกรนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ติดจากคนสู่คนผ่านการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อซึ่งถูกปล่อยออกมาจากคนป่วยที่มีอาการไอหรือจาม[4]
การประเมินผู้ป่วยในภาพรวมโดยแพทย์เป็นวิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด[20]
การวินิจฉัยด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากการป้ายสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกในสารเพาะเชื้อ BG, การทำ PCR, การตรวจแอนติบอดีด้วยวิธีฟลูออเรสเซนท์, และการตรวจภูมิคุ้มกันในเลือด[21]
มีโรคที่มีอาการคล้ายกันแต่รุนแรงน้อยกว่า เกิดจากการติดเชื้อ B. parapertussis[22]
วิธีป้องกันโรคที่สำคัญที่สุดคือการได้รับวัคซีน[23]
วัคซีนป้องกันโรคไอกรนเป็นวัคซีนที่ได้ผลดีในการป้องกันโรค[24]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.