Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไข้กาฬหลังแอ่น[1], ไข้กาฬนกนางแอ่น[1] หรือ การติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัส[2] (อังกฤษ: meningococcal disease) คือกลุ่มของโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Neisseria meningitidis หรืออีกชื่อว่าเมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) ซึ่งเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก แม้เชื้อนี้จะพบเป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้บ่อย แต่การติดเชื้อนี้เข้าสู่กระแสเลือดเป็นภาวะที่มีอันตรายกว่ามาก โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส (meningococcal meningitis) และโรคติดเชื้อเมนิงโกค็อกคัสเข้ากระแสเลือด (meningococcemia) เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิต ที่สำคัญ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาทั่วโลก
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal disease) | |
---|---|
Charlotte Cleverley-Bisman หนึ่งในผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดที่รอดชีวิตจากโรคนี้ แขนที่ติดเชื้อในภาพได้ถูกผ่าตัดออกในเวลาต่อมา | |
สาขาวิชา | Infectious disease, critical care medicine |
ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักว่าการติดเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงเป็นลักษณะเฉพาะเช่นนี้ได้อย่างไร คนปกติจำนวนมากมีเชื้อนี้อาศัยอยู่ในร่างกายเป็นปกติโดยไม่ได้ทำให้เกิดโรค แต่หากเชื้อหลุดเข้ากระแสเลือดไปยังสมองก็จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงเช่นนี้ได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้พยายามทำความเข้าใจชีววิทยาของเชื้อ meningococcus และปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับร่างกาย อย่างไรก็ดีมีการพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนที่ได้ผลดีออกมาใช้แล้ว และยังต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา[3]
ในช่วง 13 ปี ที่ผ่านมา อุบัติการณ์ของผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้ออยู่เป็นปกติ อยู่ที่ 1-5 ต่อ 100,000 ประชากร ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 10-25 ต่อ 100,000 ประชากร ในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนในช่วงที่มีการระบาดทั่วนั้นมีอุบัติการณ์สูงถึง 100 ต่อ 100,000 ประชากร ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียประมาณ 2,600 ราย ต่อปี และในประเทศที่กำลังพัฒนาพบประมาณ 333,000 ราย ต่อปี และมีอัตราผู้ป่วยตายอยู่ที่ 10-20%[4]
แม้ไข้กาฬหลังแอ่นจะไม่ได้ติดต่อง่ายเท่าโรคหวัด แต่ก็สามารถติดต่อผ่านน้ำลาย หรือผ่านการสัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องเป็นเวลานานได้
ผู้ป่วยที่สงสัยป่วยไข้กาฬหลังแอ่นควรได้รับการรักษาทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิมักฉีด benzylpenicillin เข้ากล้ามเนื้อ และส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการระดับสูงกว่าต่อไป เมื่อถึงโรงพยาบาลแล้วผู้ป่วยมักได้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่เป็น cephalosporin รุ่นที่ 3 เช่น ceftriaxone หรือ cefotaxime ทั้งนี้ benzylpenicillin และ chloramphenicol ก็ได้ผลเช่นกัน นอกจากนี้ยังควรได้รับการรักษาประคับประคองอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน การให้ยากระตุ้นความดันเลือด เช่น dopamine หรือ dobutamine รวมทั้งการรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะขึ้นสูง ผู้ป่วยบางรายอาจควรได้รับการรักษาด้วย steroid แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าจะมีผลดีในระยะยาว
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.