โคคา-โคล่า (อังกฤษ: Coca-Cola) หรือเรียกสั้นๆว่า โค้ก (Coke) เป็นเครื่องดื่มอัดลมที่วางขายตามร้านค้า ภัตตาคาร และตู้ขายสินค้าแบบหยอดเหรียญในกว่า 200 ประเทศ ผลิตโดย บริษัทโคคา-โคลา แห่งแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า โค้ก (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทโคคา-โคล่าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2487) เดิมตั้งใจขายเป็นยาตำรับสงวนสิทธิ์ (patent medicine) เมื่อจอห์น เพมเบอร์ตันคิดค้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนนักธุรกิจเอซา กริกส์ แคนด์เลอร์ (Asa Griggs Candler) ผลิตโคคา-โคล่า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของเขานำโค้กครองตลาดเครื่องดื่มอัดลมทั่วโลกตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท, อุตสาหกรรมการผลิต ...
โคคา-โคล่า
Coca-Cola logo - see "Logo design" section
Coca-Cola bottle - see "Contour bottle design" section
ขวดน้ำอัดลมโคคา-โคล่า
ประเภทน้ำโคล่า
อุตสาหกรรมการผลิตโคคา-โคลา (บริษัท)
ประเทศต้นกำเนิด สหรัฐ
เปิดตัว8 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 (138 ปี)
สีสีคาราเมล (E-150d)
รูปแบบอื่น
  • Diet Coke
  • Diet Coke Caffeine-Free
  • Caffeine-Free Coca-Cola
  • Coca-Cola Zero Sugar
  • Coca-Cola Cherry
  • Coca-Cola Vanilla
  • Coca-Cola Citra
  • Coca-Cola Life
  • Coca-Cola Lime
  • Coca-Cola Mango
สินค้าที่เกี่ยวข้องเป๊ปซี่
RC Cola
Afri-Cola
Postobón
Inca Kola
Kola Real
Cavan Cola
เว็บไซต์coca-cola.com
ปิด

ส่วนผสมของโค้ก

ส่วนผสมของโค้กถือเป็นความลับของบริษัท โดยส่วนผสมของโค้กนั้น มีพนักงานในบริษัทโคคาโคล่าเพียงไม่กี่คนที่รู้ และได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการผสม โดยทางบริษัทใช้ชื่อส่วนผสมว่า "7X" โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงว่า X หมายถึงอะไร และพนักงานบริษัทจะทำการผสมสูตรต่างๆ ตามหมายเลขของส่วนผสม แทนที่ชื่อของส่วนผสมเพื่อป้องกันสูตรรั่วไหล

ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 พนักงานบริษัทโค้ก 2 คนและเพื่อนอีก 2 คน ถูกจับกุมข้อหาพยายามขโมยสูตรส่วนผสมโค้ก และขายให้แก่เป๊ปซี่ในราคา 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เรื่องเล่าและข่าวลือเกี่ยวกับโค้ก

โค้กมีเรื่องเล่าและข่าวลือมากมาย กล่าวถึงผลเสียเนื่องจากโค้ก ซึ่งข่าวลือยังมีปรากฏแม้แต่ในเว็บไซต์สภากาชาดไทย[1] เรื่องราวต่างๆ ส่วนมากจะเน้นในแนวขำขันและการนำโค้กไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ปริมาณกรดในโค้กมีมากเพียงพอที่จะทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ในความเป็นจริงค่าความเป็นกรดด่าง หรือ pH ของโค้กมีค่า 2.5 ซึ่งใกล้เคียงกับมะนาว หรือ เลมอน มีค่า pH 2.4 หรือ ส้ม มีค่า pH 3.5 หรือแม้แต่ข่าวลือว่าตำรวจสหรัฐอเมริกาใช้โค้กในการล้างเลือดบนถนนกรณีเกิดเหตุรถชน หรือแม้แต่โค้กสามารถละลายฟันในช่องปากในตอนกลางคืน หรือโค้กใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โค้กที่มีฤทธิ์เป็นกรดเทฆ่าอสุจิ ซึ่งข่าวลือต่าง ๆ อาจเป็นเพียงเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรืออาจเป็นการโจมตีโค้กโดยฝ่ายที่ต่อต้านน้ำอัดลมซึ่งมองว่าน้ำอัดลมเป็นอาหารขยะชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องนี้กล่าวถึงชื่อโค้กโดยตรง ไม่มีการกล่าวถึงน้ำอัดลมหรือน้ำโคล่ายี่ห้ออื่นเลย รายการมิธบัสเตอร์สได้เคยมีการทดสอบในการใช้โค้กช่วยในการล้างเลือดที่เปื้อนเสื้อผ้าซึ่งไม่ได้ผล ข่าวลือยังมีกล่าวว่าโค้กใช้ในการขจัดคราบเกลือ บริเวณขั้วแบตเตอรีรถยนต์ให้สะอาดได้ ซึ่งปกติแล้วคราบเกลือสามารถกำจัดได้โดยใช้แค่น้ำอุ่นธรรมดาได้เช่นเดียวกัน

รูปภาพโค้กจากสื่อต่างๆ

ในประเทศไทย

โคคา-โคล่า หรือ โค้ก ออกจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 ในปริมาณบรรจุขวดละ 6.5 ออนซ์ จำหน่ายราคา 1.50 บาท โดย รักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทยร่วมกับหุ้นส่วนชาวต่างชาติ คือ Bill Davis และ Ray Derrick และดำเนินการขออนุมัติลิขสิทธิ์ขวด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 [2] โดยได้มีการเปิดโรงงานบรรจุขวด "Rak Derrick & Davis Bottling" เพื่อผลิตและจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 เมษายน 2492[3] และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้แก่ กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ของ พจน์ สารสิน ในปี 2502 โคคา-โคล่า จัดจ้างผลิต ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทย เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2521[4]

ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ของ โคคา-โคล่า ทั้งประเทศ ยกเว้น 14 จังหวัดภาคใต้ ที่มี บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โค่ลา โดยมี บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบด้านกิจกรรมการตลาด โดยได้มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย[5]

ในประเทศไทยมีการจัดการประกวดดนตรี โดยใช้ชื่อว่า โค้กมิวสิกอวอร์ด มีศิลปินที่เคยชนะเลิศจากเวทีประกวดแห่งนี้ เช่น โมเดิร์นด็อก (พ.ศ. 2535), อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ (พ.ศ. 2536), สมเกียรติ (พ.ศ. 2553)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.