แดวู เอสเปอโร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แดวู เอสเปอโร (อังกฤษ: Daewoo Espero) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดย แดวู เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2533 และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2540 โดยเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของแดวู มอเตอร์ส ออกแบบโดย Gruppo Bertone ใช้แพลตฟอร์มของ GM ตระกูล GM J platform มีตัวถัง 1 แบบคือซีดาน 4 ประตู ใช้เครื่องยนต์ 1.5 ,1.8 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ระยะฐานล้อ 2,620 มม. ความยาว 4,615 มม. ความกว้าง 1,718 มม. ความสูง 1,388 มม. น้ำหนัก 1,108 กก. มีฐานการประกอบอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ ,อิหร่าน ,โปแลนด์และโรมาเนีย
แดวู เอสเปอโร | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | แดวู |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2533 - 2540 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) |
รูปแบบตัวถัง | ซีดาน 4 ประตู |
รุ่นที่คล้ายกัน | โตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่ ฮอนด้า แอคคอร์ด นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า มิตซูบิชิ กาแลนต์ มาสด้า 626/6 ซูบารุ เลกาซี ซูซูกิ คิซาชิ อีซูซุ อาสก้า เชฟโรเลต มาลีบู ฟอร์ด มอนดิโอ/ทอรัส ฮุนได โซนาต้า เกีย ออพติมา เปอโยต์ 508 ซีตรอง C5/DS5 โฟล์กสวาเกน พัสสาท สโกด้า ซูเพิร์บ โอเปิล เวคตร้า/อินซิกเนีย โฮลเดน คอมมอเดอร์ วอลโว่ S60 |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | ไม่มี |
รุ่นต่อไป | แดวู เลกันซา |
ในประเทศที่พูดภาษาสเปนยกเว้นชิลี แดวู เอสเปอโรจะถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น แดวู อราโนส เนื่องจากคำว่า Espero แปลว่า ฉันรอ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ดี หากใช้ชื่อนี้ก็อาจจะทำให้ยอดขายตกต่ำได้
ในประเทศไทย แดวู เอสเปอโร เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นรถนำเข้าทั้งคัน พร้อมกับการเปิดตัวและสื่อสารแบรนด์ Daewoo ในประเทศไทย โดยบริษัท ไทยแดวูมอเตอร์เซลส์ จำกัด (เดิมคือบริษัท เรโนลต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์เรโนลต์ในประเทศไทยที่ได้ถอนการลงทุนในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538) เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยนำมาเปิดตัวพร้อมกับรถยนต์ขนาดเล็กรุ่น Fantasy เอสเปอโรเปิดตัวเพื่อแข่งกับรถขนาดกลางจากเกาหลีใต้อีกรุ่นหนึ่ง คือ Hyundai Sonata ในยุคที่รถเกาหลีเริ่มได้รับความนิยมในประเทศไทย ก่อนจะค่อยๆ เลิกนำเข้าและจำหน่ายไปในปี พ.ศ. 2542 เป็นปีเดียวกับที่แดวูตัดสินใจถอนการลงทุนจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.