Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะวอลล์ (อังกฤษ: The Wall) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 11 ของวงโพรเกรสซิฟร็อกจากประเทศอังกฤษ พิงก์ ฟลอยด์ และนับเป็นสตูดิโออัลบั้มสุดท้ายที่รวมสมาชิกดั้งเดิมของวง ได้แก่ เดวิด กิลมอร์ (มือกีตาร์), โรเจอร์ วอเทอรส์ (มือกีตาร์/ร้องนำ), ริชาร์ท ไรท์ (มือคีย์บอร์ด) และนิค เมสัน (มือกลอง) ก่อนที่ไรท์จะออกจากวง อัลบั้มได้รับการเปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 จนภายหลังการทัวร์ "The Wall Tour" (1980–81) ได้ออกภาพยนตร์กึ่งมิวสิกวีดิโอในปี ค.ศ. 1982 ในชื่อ "Pink Floyd – The Wall" ในซิงเกิล Another Brick in the Wall, Part 2 ซึ่งครองอันดับ 1 บนชาร์ทต่าง ๆ เพียงซิงเกิลเดียวในอัลบั้ม
เดอะวอลล์ | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 | |||
บันทึกเสียง | ธันวาคม ค.ศ. 1978 - พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 ที่สตูดิโอ
| |||
แนวเพลง |
| |||
ความยาว | 80:54 | |||
ค่ายเพลง |
| |||
ลำดับอัลบั้มของพิงก์ ฟลอยด์ | ||||
|
เช่นเดียวกับ 3 อัลบั้มก่อนหน้าของพิงก์ ฟลอยต์ ที่เน้นแต่งปรัชญากับเนื้อเพลง เดอะวอลล์ ได้นำเสนอคอนเซปต์ในธีมของความโดดเดี่ยว และการถูกทิ้ง ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวอันข่มขื่นของ ซิด บาร์เร็ตต์ อดีตสมาชิกวง ที่ได้สูญเสียพ่อในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาถูกต่อต้านจากครูในโรงเรียน ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านที่แม่เข้มงวด และการแต่งงานที่ล้มเหลว จากทั้งหมดนี้เองได้เปลี่ยนแปลงเขาเป็นคนโดดเดี่ยวในสังคม จึงได้นำมาเปรียบในมุมมองของผนังกำแพง โดยวอร์เทอรส์ในฐานะหัวหน้าวงได้คิดขึ้นระหว่างทัวร์ "In the Flesh Tour" ปี ค.ศ. 1977 จากจินตนาการภาพที่เห็นผู้ฟังกับเขาบนเวทีว่าเป็นดั่งกำแพง อัลบั้มยังนับว่าได้นำเสนอเนื้อหาที่รุนแรงขึ้นกว่าอัลบั้มก่อนหน้านี้มาก ไรท์ได้ออกจากวงในระหว่างบันทึกเสียง แต่ก็ยังคงร่วมเล่นให้กับวงเป็นครั้งคราวในทัวร์ "The Wall Tour" หน้าปกอัลบั้ม เดอะวอลล์ นับว่าเป็นหนึ่งในแบบหน้าปกมีความเรียบง่ายที่สุดของวง ด้วยการแสดงเพียงลายเส้นกำแพงอิฐสีขาว และไม่มีตัวหนังสือใด ๆ เลย
อัลบั้มได้ถูกนำไปใช้ในวงการต่อต้านเป็นวงกว้างโดยเฉพาะการศึกษา ในปี ค.ศ. 1980 ประเทศแอฟริกาใต้ ได้ทำการแบนเพลง Another Brick in the Wall ที่นักศึกษาได้นำเพลงมาปรับใช้ในการออกมาประท้วงด้านความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติในโรงเรียนภายใต้ระบอบการแบ่งแยกสีผิว[4][5]
อัลบั้ม ประสบผลสำเร็จในยอดขายด้วยการเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดใน ปี ค.ศ. 1980 และในปี ค.ศ. 1999 ก็สามารถจำหน่ายไปแล้วกว่า 23 ล้านการยืนยันจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ (RIAA) หรือคิดเป็นกว่า 15 ล้านชุด ทำให้เป็นอัลบั้มที่ได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในสหรัฐ นิตยสารโรลลิงสโตน ได้จัดอันดับ เดอะวอลล์ ไว้ที่ 87 บนหัวข้อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"
เดอะวอลล์เป็นแนวร็อกโอเปรา[6] ที่นำเสนอการถูกละทิ้งและความโดดเดี่ยว ผ่านกำแพง ในเพลงได้ถ่ายทอดเนื้อเรื่องของตัวละครเอก คือ "พิงก์" (Pink) ซึ่งมีความหมายถึง ซิด บาร์เร็ตต์[7] และเช่นเดียวกับวอร์เทอรส์เอง ที่พ่อของพวกเขาเสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 2[8] "พิงก์" จึงอยู่ในครอบครัวที่มีแม่เป็นเสาหลัก ซึ่งแม่ของเขาก็เป็นคนที่เข้มงวด เจ้าระเบียบ แต่ในเพลง "Mother" กลับสื่อออกมาในเชิงชื่นชมว่า แม่ของเขาต่างหากที่ช่วยพิงก์ในการสร้างกำแพงเพื่อปกป้องเขาจากโลกภายนอกนี้ จากประโยคที่ว่า "Of course Momma's gonna help build the wall," โดยได้เน้นว่าแม่จะอยู่เคียงข้างเขาจนกว่าเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่ และเมื่อเขาโตขึ้นก็กังวลที่จะเอาความรักไปให้กับหญิงอื่น
เมื่อเขาไปโรงเรียนก็ถูกรังแกกดขี่ข่มเหง จากคุณครู ความชอกช้ำนี้เองที่ทำให้ตอกย้ำว่า "เป็นกลุ่มก้อนอิฐในกำแพง" (Bricks in the wall) เช่นเดียวกับในเพลง "Another Brick in the Wall Part II" ที่ได้สื่ออย่างชัดเจนว่า เขาต้องการประท้วงความเข้มงวดและความเจ้าระเบียบของโรงเรียนลง รวมถึงต้องการเสรีภาพ เมื่อพิงก์ เติบโตขึ้นได้กลายเป็นร็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียง เขาก็พบกับการนอกใจ ที่ทำให้การแต่งงานเขายุติลง จนเขาติดยา และระเบิดความรุนแรงที่สะสมมาเนิ่นนานในตัวของเขา ในที่สุดเขาก็สร้างกำแพงสำเร็จ เป็นการสิ้นสุดความโดดเดี่ยวของเขาจากการติดต่อกับโลกมนุษย์[9]
จากนั้นพิงก์ได้พบว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า จึงได้ไปปรึกษาแพทย์ไห้ช่วยรักษาอาการของเขา แต่ปรากฎว่าการรักษาครั้งนี้มีผลข้างเคียงจนทำให้พิงก์เชื่อว่าตนเองเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ที่กำลังทำการแสดงอยู่ในคอนเสิร์ตธีมนีโอนาซี เมื่อเขาได้ฟื้นคืนสติมา เขากลับตกอยู่ในห้วงความคิด ที่เขากำลังถูกไต่สวนจากศาลในสิ่งที่เขาทำลงไป และเขาได้ถูกพิพากษาจากศาล (หรือคือความคิดของเขา) ให้ "ทลายกำแแพงลงเสีย" จนทำให้พิงก์กลับเข้าสู่ความจริงอีกครั้ง[10]
เช่นเดียวกับอัลบั้มอื่น ๆ ของวง ยังคงมีการรำลึกถึงซิด บาร์เร็ตต์อยู่หลายครั้งในอัลบั้ม อาทิเช่นในเพลง "Nobody Home" และเพลง "Comfortbly Numb"[11]
เพลงแต่งโดยโรเจอร์ วอร์เทอรส์ เป็นหลัก
ลำดับ | ชื่อเพลง | ร้องนำ | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "In the Flesh?" | วอร์เทอรส์ | 3:16 |
2. | "The Thin Ice" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | 2:27 |
3. | "Another Brick in the Wall" | วอร์เทอรส์ | 3:21 |
4. | "The Happiest Days of Our Lives" | วอร์เทอรส์ | 1:46 |
5. | "Another Brick in the Wall" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | 3:59 |
6. | "Mother" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | 5:32 |
ความยาวทั้งหมด: | 20:21 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ร้องนำ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Goodbye Blue Sky" | กิลมอร์ | 2:45 | |
2. | "Empty Spaces" | วอร์เทอรส์ | 2:10 | |
3. | "Young Lust" | วอร์เทอรส์, กิลมอร์ | กิลมอร์ | 3:25 |
4. | "One of My Turns" | วอร์เทอรส์ | 3:41 | |
5. | "Don't Leave Me Now" | วอร์เทอรส์ | 4:08 | |
6. | "Another Brick in the Wall (Part III)" | วอร์เทอรส์ | 1:48 | |
7. | "Goodbye Cruel World" | วอร์เทอรส์ | 0:48 | |
ความยาวทั้งหมด: | 18:45 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ร้องนำ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Hey You" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | 4:40 | |
2. | "Is There Anybody Out There?" | วอร์เทอรส์ | 2:44 | |
3. | "Nobody Home" | วอร์เทอรส์ | 3:26 | |
4. | "Vera" | วอร์เทอรส์ | 1:35 | |
5. | "Bring the Boys Back Home" | วอร์เทอรส์ | 1:21 | |
6. | "Comfortably Numb" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | วอร์เทอรส์, กิลมอร์ | 6:23 |
ความยาวทั้งหมด: | 20:09 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ร้องนำ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "The Show Must Go On" | กิลมอร์ | 1:36 | |
2. | "In the Flesh" | วอร์เทอรส์ | 4:15 | |
3. | "Run Like Hell" | กิลมอร์, วอร์เทอรส์ | วอร์เทอรส์, กิลมอร์ | 4:20 |
4. | "Waiting for the Worms" | วอร์เทอรส์, กิลมอร์ | 4:04 | |
5. | "Stop" | วอร์เทอรส์ | 0:30 | |
6. | "The Trial" | วอร์เทอรส์, เอซริน | วอร์เทอรส์ | 5:13 |
7. | "Outside the Wall" | วอร์เทอรส์ | 1:41 | |
ความยาวทั้งหมด: | 21:39 |
ชาร์ท (1979–80) | อันดับ |
---|---|
Australia (Kent Music Report)[12] | 1 |
Austrian Albums (Ö3 Austria)[13] | 1 |
Canada Top Albums/CDs (RPM)[14] | 1 |
Dutch Albums (Album Top 100)[15] | 1 |
German Albums (Offizielle Top 100)[16] | 1 |
New Zealand Albums (RMNZ)[17] | 1 |
Norwegian Albums (VG-lista)[18] | 1 |
Swedish Albums (Sverigetopplistan)[19] | 1 |
UK Albums (OCC)[20] | 3 |
US Billboard 200[21] | 1 |
ชาร์ท(1990) | อันดับ |
Dutch Albums (Album Top 100)[22] | 19 |
ชาร์ท (2005–06) | อันดับ |
Austrian Albums (Ö3 Austria)[23] | 11 |
Belgian Albums (Ultratop Flanders)[24] | 85 |
Belgian Albums (Ultratop Wallonia)[25] | 81 |
Danish Albums (Hitlisten)[26] | 19 |
Finnish Albums (Suomen virallinen lista)[27] | 21 |
Italian Albums (FIMI)[28] | 13 |
Spanish Albums (PROMUSICAE)[29] | 9 |
Swiss Albums (Schweizer Hitparade)[30] | 29 |
ชาร์ท (2011–12) | อันดับ |
Australian Albums (ARIA)[31] | 20 |
Austrian Albums (Ö3 Austria)[32] | 15 |
Belgian Albums (Ultratop Flanders)[33] | 44 |
Belgian Albums (Ultratop Wallonia)[34] | 20 |
Czech Albums (ČNS IFPI)[35] | 7 |
Danish Albums (Hitlisten)[36] | 10 |
Dutch Albums (Album Top 100)[37] | 15 |
Finnish Albums (Suomen virallinen lista)[38] | 17 |
French Albums (SNEP)[39] | 12 |
German Albums (Offizielle Top 100)[16] | 4 |
Irish Albums (IRMA)[40] | 38 |
Italian Albums (FIMI)[41] | 4 |
New Zealand Albums (RMNZ)[42] | 14 |
Norwegian Albums (VG-lista)[43] | 10 |
Polish Albums (ZPAV)[44] | 11 |
Portuguese Albums (AFP)[45] | 10 |
Spanish Albums (PROMUSICAE)[46] | 15 |
Swedish Albums (Sverigetopplistan)[47] | 13 |
Swiss Albums (Schweizer Hitparade)[48] | 8 |
UK Albums (OCC)[49] | 22 |
US Billboard 200[50] | 17 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.