Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดวิด ลอยด์ จอร์จ เอิร์ลลอยด์-จอร์จแห่งดไวฟอร์ (อังกฤษ: David Lloyd George, Earl Lloyd-George of Dwyfor; 17 มกราคม พ.ศ. 2406 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2488) คือนักการเมืองจากพรรคเสรีนิยมและรัฐบุรุษของสหราชอาณาจักร เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการกล่าวสุนทรพจน์ เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในฐานะสมาชิกสภาสามัญชนจากพรรคเสรีนิยม ในปี พ.ศ. 2433 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 - 2457 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. 2458 จนในที่สุดได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2465
เอิร์ลลอยด์-จอร์จแห่งดไวฟอร์ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม 1916 – 19 ตุลาคม 1922 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าจอร์จที่ 5 |
ก่อนหน้า | เฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ |
ถัดไป | โบนาร์ ลอว์ |
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม 1926 – 4 พฤศจิกายน 1931 | |
นายกรัฐมนตรี | แรมเซย์ แมคโดนัล สแตนลีย์ บอลดวิน |
ก่อนหน้า | เฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ |
ถัดไป | เฮอร์เบิร์ต แซมมูเอล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มกราคม ค.ศ. 1863 ชอร์ลตัน-ออน-เมดล็อก แมนเชสเตอร์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 26 มีนาคม ค.ศ. 1945 ปี) ทีนิววีด ลานีสตัมดวี แคร์นาฟอนเชอร์ เวลส์ สหราชอาณาจักร | (82
เชื้อชาติ | เวลส์ |
ศาสนา | ไม่มีศาสนา |
พรรคการเมือง | เสรีพรรค (1890–1916 &1924–45) เสรีพรรคแห่งชาติ (1922–1923) |
วิชาชีพ | ทนายความและนักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
แม้นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรหลายคนจะเคยเป็นทนายว่าความ (barristers) มาก่อน แต่นับมาถึงปัจจุบัน เดวิด ลอยด์ จอร์จ คือทนายที่ปรึกษากฎหมาย (solicitor) เพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร[1] และเป็นชาวเวลส์เพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ด้วย[2] ทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ใช้ภาษาเวลส์เป็นภาษาแม่และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง[3] เดวิด ลอยด์ จอร์จ ได้รับการลงคะแนนให้เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่สาม สำรวจโดยบริษัทวิจัยการตลาดโมรี (MORI) จากนักวิชาการ 139 คน และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับจากการสำรวจประชาชนทั่วสหราชอาณาจักร[4][5]
เดวิด ลอยด์ จอร์จ ได้สนับสนุนการเรียกเก็บค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่าข้อเสนอของฝรั่งเศส เนื่องจากเขารู้ดีว่าถ้าหากทำตามข้อเสนอของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็อาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปตอนกลาง และความสมดุลอันบอบบางก็จะถูกทำลาย นอกจากนี้เขายังกังวลกับข้อเสนอของวูดโรว์ วิลสัน สำหรับอำนาจปกครองตัวเอง เช่นเดียวกับฝรั่งเศส เขาต้องการรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึงได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งซึ่งสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ
ยังมีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญาการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2461 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษนิยม ในความต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมา แรงกดดันของมหาชนชาวอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการลดขนาดของจักรวรรดิเยอรมัน ลอยด์ จอร์จจึงจัดการให้เพิ่มการชำระค่าปฏิกรสงครามโดยรวมและส่วนแบ่งของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่าใช้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงม่าย เด็กกำพร้า ชายทุพพลภาพ ชายที่ตกงานจำนวนมหาศาลเนื่องจากสงครามโลก
อย่างไรก็ตาม ลอยด์ จอร์จนั้นก็ได้เฝ้าระวังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากเยอรมนีที่ขมขื่นจากสงคราม และเขารู้สึกว่าสนธิสัญญาที่ลดความรุนแรงลงซึ่งมิได้ก่อให้เกิดความพยาบาทน่าจะเป็นผลที่ดียิ่งกว่าและเป็นการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยาวนาน อีกหนึ่งปัจจัยนั้นคือเยอรมนีนั้นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของอังกฤษ และการจำกัดเศรษฐกิจของเยอรมนีย่อมไม่ส่งผลดีต่ออังกฤษ นอกจากนั้นเขาและคลูมองโซได้รู้จักสภาพของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารของโลกในอนาคตอีกด้วย หลังจากนั้น ข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันก็ไม่สามารถได้รับคำเยาะเย้ยหรือถูกหัวเราะใส่จากอังกฤษและฝรั่งเศสถ้าพวกเขายังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาอยู่ นี่ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมสันนิบาตชาติเกี่ยวกับแนวคิดหลักของวิลสันซึ่งตั้งอยู่บนสันติภาพที่โอบอ้อมอารีนั้นได้ถูกเล่นงานโดยอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวิลสันได้เดินทางมาถึงสถานที่จัดการประชุม ยิ่งกว่านั้น อังกฤษต้องการที่จะรักษา "ความสมดุลของอำนาจ" - โดยไม่ให้ทประเทศใดก็ตามในยุโรปเสนอข้อตกลงไว้มากมายกว่าประเทศอื่น ๆ และถ้าข้อเสนอของฝรั่งเศสได้ถูกนำไปใช้ นอกจากเยอรมนีจะกลายเป็นคนพิการแล้ว ฝรั่งเศสก็จะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแทนที่อังกฤษอีกด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.