จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิเฉียนหลง (จีน: 乾隆皇帝; พินอิน: Qiánlóng huángdì) ฮกเกี้ยนว่า เขียนหลง[1] (หมิ่นหนาน: Kiân-liông) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 5 ของราชวงศ์ชิง เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) มีพระนามเดิมว่าหงลี่ (弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 24 พรรษา และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เฉียนหลง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1735 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 (60 ปี 124 วัน) | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิยงเจิ้ง | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิเจียชิ่ง | ||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 25 กันยายน ค.ศ. 1711 พระราชวังต้องห้าม หงลี่ | ||||||||||||||||
สวรรคต | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799 ปี) พระราชวังต้องห้าม | (87||||||||||||||||
อัครมเหสี | จักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน จักรพรรดินีจี้ จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ชิง | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิยงเจิ้ง | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน | ||||||||||||||||
ช่วงเวลา | |||||||||||||||||
เหตุการณ์สำคัญ | จัดทำสารานุกรม คู่เฉวียนซู่ |
จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง
รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยนซึ่งเป็นพระราชมารดาของจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดเซียงเฟย์ ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนเซียงเฟย์ถึง 11 ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน
จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่งชื่อเหอเชิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเชินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว ให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเชินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเชินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว
จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระราชโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่ยฺหวีกุ้ยเฟย์ (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม
ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระราชโอรสลำดับที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระเจ้าหลวง (太上皇帝)
ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคตจักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริงและพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเชินทันทีและบังคับให้เขาฆ่าตัวตายหลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้วจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง
ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบันมีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่าง ๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิยงเจิ้ง แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิยงเจิ้งให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์ แต่เรื่องนี้คงเป็นได้แค่เรื่องแต่งเพราะจักรพรรดิเฉียนหลงเองก็ทรงมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกับจักรพรรดิยงเจิ้งมาก จึงไม่ควรยึดเป็นความจริงและ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู
หฺวัง ไท่จี๋ (1592–1643) | |||||||||||||||||||
จักรพรรดิชุ่นจื้อ (1638–1661) | |||||||||||||||||||
จักรพรรดินีเซี่ยวจฺวังเหวิน พระบรมอัยยิกาเจ้า (1613–1688) | |||||||||||||||||||
จักรพรรดิคังซี (1654–1722) | |||||||||||||||||||
Tulai (1606–1658) | |||||||||||||||||||
จักรพรรดินีเซี่ยวคังจาง (1638–1663) | |||||||||||||||||||
Lady Aisin Gioro | |||||||||||||||||||
จักรพรรดิยงเจิ้ง (1678–1735) | |||||||||||||||||||
Esen | |||||||||||||||||||
Weiwu | |||||||||||||||||||
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน (1660–1723) | |||||||||||||||||||
Lady Saiheli | |||||||||||||||||||
จักรพรรดิเฉียนหลง (1711–1799) | |||||||||||||||||||
Eyiteng | |||||||||||||||||||
Wulu | |||||||||||||||||||
Lady Long | |||||||||||||||||||
Lingzhu (1664–1754) | |||||||||||||||||||
Lady Qiao | |||||||||||||||||||
จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน (1692–1777) | |||||||||||||||||||
Wugong | |||||||||||||||||||
Lady Peng | |||||||||||||||||||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.