เจ้าหญิงเบียทริซ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงเบียทริซ นางเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี (อังกฤษ: Princess Beatrice, Mrs Edoardo Mapelli Mozzi) หรือ เบียทริซ เอลิซาเบธ แมรี (อังกฤษ: Beatrice Elizabeth Mary; 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531) เป็นสมาชิกของราชวงศ์วินด์เซอร์ เบียทริชเป็นพระธิดาในเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก กับซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ทรงอยู่ในลำดับที่ 9 แห่งการสืบราชสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร ต่อจากพระบิดา พระองค์มีพระขนิษฐาพระองค์หนึ่งคือเจ้าหญิงยูเชนี
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
เจ้าหญิงเบียทริซ | |||||
---|---|---|---|---|---|
นางเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี | |||||
ประสูติ | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร | ||||
พระสวามี | เอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน) | ||||
| |||||
พระบุตร | ซีเอนา มาเปลลี มอซซี | ||||
ราชวงศ์ | วินด์เซอร์ | ||||
พระบิดา | เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก | ||||
พระมารดา | ซาราห์ เฟอร์กูสัน | ||||
ศาสนา | คริสตจักรอังกฤษ | ||||
ลายพระอภิไธย |
เจ้าหญิงเบียทริซประสูติเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์สำหรับสตรีและเด็กในลอนดอน เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก กับซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก เป็นพระราชนัดดาลำดับที่ห้าในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[1] ส่วนพระนามนั้น พระชนกและชนนีตั้งไว้ก่อนประสูติกาลเพียงสองสัปดาห์[2]
เจ้าหญิงเบียทริชเข้าพิธีบัพติศมา ณ โบสถ์น้อยประจำพระราชวังเซนต์เจมส์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระองค์มีพ่อทูนหัวและแม่ทูนหัวคือ ไวเคานต์ลินลีย์ (ปัจจุบันคือเอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน), ดัชเชสแห่งรอกซ์เบอร์ (ปัจจุบันคือเลดีเจน ดาวเนย์), ปีเตอร์ พาลัมโบ, กาเบรียล กรีนอล และแคโรลีน คอตเทอเรล[3][4]
ในงานระดมทุน ณ หอศิลป์ภาพเหมือนแห่งชาติกรุงลอนดอนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เจ้าหญิงเบียทริซปรากฏพระองค์พร้อมกับเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี (Edoardo Mapelli Mozzi) นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บุตรชายของอเล็กซ์ มาเปลลี-มอซซี (Alex Mapelli-Mozzi) นักกีฬาโอลิมปิกชาวสหราชอาณาจักร ซึ่งสืบสันดานจากขุนนางอิตาลี สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เอโดอาร์โด มีบรรดาศักดิ์เป็นเคานต์เช่นเดียวกับบิดา แต่บรรดาศักดิ์นี้ไม่ได้รับการยอมรับในราชสำนักอิตาลีหรือสหราชอาณาจักร[5][6][7][8][9][10] สันนิษฐานว่าเจ้าหญิงเบียทริซและเอโดอาร์โดเริ่มคบหากันใน พ.ศ. 2561 หลังงานสมรสของเลดีกาเบรียลลา วินด์เซอร์ พระญาติชั้นที่หนึ่งของเจ้าหญิง[11]
เจ้าหญิงเบียทริซทรงหมั้นหมายกับเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ที่ประเทศอิตาลี และมีพระราชพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการในสำนักดยุกแห่งยอร์กเมื่อวันที่ 26 กันยายน[12] ต่อมามีหมายกำหนดการจัดพระราชพิธีเสกสมรสลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ณ โบสถ์น้อยภายในพระราชวังเซนต์เจมส์ และจัดงานฉลองเสกสมรสแบบส่วนพระองค์ในสวนของพระราชวังบักกิงแฮม[13] แต่พระราชพิธีดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[14][15] ที่สุดจึงมีการจัดพระราชพิธีเสกสมรสแบบส่วนพระองค์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ โบสถ์น้อยหลวงแห่งนักบุญทั้งหลายภายในมหาอุทยานวินด์เซอร์ (Windsor Great Park) และมิได้ประกาศต่อสาธารณชนล่วงหน้า[16] ในพระราชพิธี เจ้าชายแอนดรูว์ทรงพระดำเนินพร้อมกับเจ้าหญิงเบียทริซ เจ้าหญิงเบียทริซสวมฉลองพระองค์สำหรับเสกสมรส เดิมเป็นฉลองพระองค์ครุยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งได้รับการออกแบบใหม่โดยนอร์แมน ฮาร์ตเนลล์ (Norman Hartnell) ส่วนเทริดที่ใช้สวมในพระราชพิธี ทรงยืมเทริดสุริยรัศมีของพระนางแมรี (Queen Mary Fringe Tiara) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มาใช้[17]
เจ้าหญิงเบียทริซมีพระโอรสเลี้ยงคนหนึ่ง ชื่อ คริสโตเฟอร์ วูลฟ์ (Christopher Woolf; เกิด พ.ศ. 2559) บุตรของพระภัสดาที่เกิดกับกับดารา หวง (Dara Huang) สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายไต้หวัน ซึ่งเป็นอดีตคนรัก[18] เจ้าหญิงเบียทริซประสูติการพระธิดาชื่อ ซีเอนา เอลิซาเบธ มาเปลลี มอซซี (Sienna Elizabeth Mapelli Mozzi)[19] เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564 ณ โรงพยาบาลเชลซีและเวสต์มินสเตอร์ อยู่ในลำดับที่ 11 แห่งการสืบราชสมบัติของสหราชอาณาจักร[20]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.