Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (อังกฤษ: RMS Queen Elizabeth 2) หรือ QE2 เป็นเรือเดินสมุทรของอังกฤษที่ปลดระวางแล้วซึ่งดัดแปลงเป็นโรงแรมลอยน้ำ เดิมทีสร้างขึ้นสำหรับสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ เรือลำนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นเรือลำที่สอที่ตั้งชื่อว่าควีนเอลิซาเบธ ดำเนินการสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ ในฐานะทั้งเรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและ เรือสำราญ ตั้งแต่ปี 2512 ถึง 2551 จากนั้นเรือก็ถูกจอดทิ้งไว้จนถึงปี 2561 เรือก็ได้รับการปรับปรุงเพื่อไปเปิดดำเนินการเป็นโรงแรมลอยน้ำในดูไบ [3]
ประวัติ | |
---|---|
เจ้าของ |
|
ผู้ให้บริการ |
|
ท่าเรือจดทะเบียน |
|
เส้นทางเดินเรือ | ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ(ระหว่างบริการของคูนาร์ด) |
Ordered | 2507 |
อู่เรือ | จอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์ |
มูลค่าสร้าง | 29,091,000 ปอนด์ |
Yard number | 736 |
ปล่อยเรือ | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 |
เดินเรือแรก | 20 กันยายน พ.ศ. 2510 |
สร้างเสร็จ | 26 พฤศจิกายน 2511 (เริ่มการทดลองทางทะเล) |
Maiden voyage | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 |
บริการ | พ.ศ. 2511–2551 |
หยุดให้บริการ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 |
รหัสระบุ | หมายเลข IMO: 6725418
สัญญาณเรียกขาน: GBTT (2511–2552), YJVW6 (2552–ปัจจุบัน) ตัวเลขทางราชการอังกฤษ: 336703 |
สถานะ | โรงแรมและพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำที่ Mina Rashid ดูไบ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ขนาด (ตัน): | 70,327 ตัน |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 49,738 ตัน[2] |
ความยาว: | 293.5 เมตร (963 ฟุต) |
ความกว้าง: | 32 เมตร (105 ฟุต) |
ความสูง: | 52.1 เมตร (171 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 9.8 เมตร (32 ฟุต) |
ดาดฟ้า: | 10 ชั้น |
ระบบพลังงาน: |
|
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: |
|
ความจุ: | ผู้โดยสาร: 1,892 คน |
ลูกเรือ: | 1,040 คน |
อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 ได้รับการออกแบบสำหรับบริการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากท่าเรือบ้านเกิดที่เซาแธมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา [4] และได้รับการตั้งชื่อตามเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (RMS Queen Elizabeth) รุ่นก่อนหน้า เรือลำนี้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของคูนาร์ด ไลน์ตั้งแต่ปี 2512 จนกระทั่งถูกสืบทอดต่อโดย อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 ในปี 2547 เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้รับการออกแบบในสำนักงานของคูนาร์ด ไลน์ ในลิเวอร์พูลและ เซาแทมป์ตัน และต่อขึ้นใน ไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ ถือเป็นเรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำสุดท้ายจนกระทั่ง "Project Genesis" ได้รับการประกาศโดยสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ ในปี 2538 หลังจากที่ มิกกี้ แอริสัน (Micky Arison) ได้เข้าซื้อกิจการของสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์
เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้รับการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสมัยใหม่ในปี พ.ศ. 2529–30 ได้ทำการล่องเรือไปทั่วโลกเป็นประจำตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีของการให้บริการ และต่อมาได้ดำเนินการโดยส่วนใหญ่เป็นเรือสำราญ โดยแล่นออกจากเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ เรือลำนี้ไม่มีเรือคู่และไม่เคยให้บริการด่วนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกรายสัปดาห์ไปยังนิวยอร์กตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม เรือลำนี้ยังคงปฏิบัติตามประเพณีของคูนาร์ด ไลน์ ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตามที่กำหนดเป็นประจำทุกๆ ปีในช่วงที่ยังประจำการอยู่
เรือควีนอลิซาเบธ 2 ได้ปลดระวางออกจากคูนาร์ด ไลน์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และถูกซื้อกิจการโดยบริษัทเอกชนของดูไบเวิล์ด ซึ่งมีแผนที่จะเปลี่ยนเรือเป็นโรงแรมลอยน้ำขนาด 500 ห้องที่จอดอยู่ที่ ปาล์มอัลญุมัยเราะฮ์ในดูไบ [5] [6] อย่างไรก็ตามจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 เรือถูกจอดไว้ Dubai Drydocks และต่อมาที่ Mina Rashid [7] แผนการเปลี่ยนแปลงครั้งต่อมาได้รับการประกาศในปี 2555[8] และอีกครั้งโดย กลุ่มโอเชียนิก ในปี 2556[9] แต่แผนทั้งสองก็หยุดชะงัก ในเดือนพฤศจิกายน 2558 Cruise Arabia & Africa อ้างคำพูดของประธาน DP World Ahmed Sultan Bin Sulayem ว่า QE2 จะไม่ถูกยกเลิก[10] และบริษัทก่อสร้างในดูไบประกาศในเดือนมีนาคม 2560 ว่าได้ทำสัญญาเพื่อปรับปรุงเรือ[11] QE2 ที่ได้รับการปรับปรุงและเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561[12]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.