อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (อังกฤษ: Indus Valley Civilisation; IVC) เป็นอารยธรรมยุคสัมริดในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ ดำรงอยู่ตั้งแต่ราว 3300 BCE ถึง 1300 BCE และยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงปี 2600 BCE ถึง 1900 BCE[1][a] อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ, อียิปต์โบราณ และ เมโสโปเตเมีย เป็นสามอารยธรรมยุคเริ่มแรกของโลก พื้นที่ที่เคยเป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศอัฟกานิสถาน, ส่วนใหญ่ของประเทศปากีสถาน และทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[2][b] อารยธรรมนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่บนที่ลุ่มริมแม่น้ำสินธุซึ่งไหลผ่านตลอดประเทศปากีสถานและระบบแม่น้ำที่มีน้ำตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่ได้น้ำจากมรสุม และแม่น้ำตามฤดูกาล แม่น้ำกากการ์-ฮากรา[1][3]
ภูมิภาค | ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ประเทศปากีสถาน และตามฤดูกาลสำหรับแม่น้ำกากการ์-ฮากรา ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและตะวันออกของปากีสถาน |
---|---|
สมัย | ยุคสำริดในเอเชียใต้ |
ช่วงเวลา | ป. 3300 – 1300 BCE |
แหล่งโบราณคดีต้นแบบ | ฮารัปปา |
แหล่งโบราณคดีสำคัญ | ฮารัปปา, โมเหนโจ-ดาโร (27°19′45″N 68°08′20″E), โธลวีระ, คเนรีวลา, and Rakhigarhi |
ก่อนหน้า | เมหร์ครห์ |
ถัดไป | วัฒนธรรมภาชนะทาสีเทา วัฒนธรรมสุสานที่เอช |
เมืองต่าง ๆ ของอารยธรรมเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองที่มีการวางผังเมือง, บ้านที่สร้างจากอิฐอบ, ระบบระบายน้ำและชลประทานที่ซับซ้อน, กลุ่มของอาคารที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย และวิธีการใหม่ ๆ ในหัตถกรรม (ผลิตภัณฑ์จากคาร์เนเลียนและการสลักตราประทับ) และความสามารถในการแยกโลหะออกจากแร่ (ทองแดง, สำริด, ตะกั่ว, ดีบุก)[4] เมืองใหญ่สองแห่งของอารยธรรมคือโมเฮนโจ-ดาโร และ ฮารัปปา เป็นไปได้ว่ามีประชากรมากถึง 30,000 และ 60,000 คน[5][c] และในช่วงเวลารุ่งเรืองสูงสุดอาจมีประชากรมากถึงหนึ่งถึงห้าล้านคน[6][d]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.