หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ เป็นแห่งแรกของโครงการหอสมุดแห่งชาติ 4 มุมเมือง[ต้องการอ้างอิง] ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวงพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติ 4 มุมเมือง เนื่องจากตระหนักถึงการขยายตัวของกรุงเทพมหานครที่ทำให้มีประชากรเพิ่มมากขึ้น การคมนาคมเริ่มมีความคับคั่งประกอบกับจำนวนผู้ที่มาใช้บริการหอสมุดแห่งชาติมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี เริ่มมีปัญหาความแออัดในเรื่องของสถานที่[1]

หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนที่อยู่ในเขตปริมณฑล มีสถานที่ศึกษาค้นคว้า

สถานที่ตั้ง

หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่ 280/8 หมู่ 2 ถนนหลวงพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520

ในการก่อตั้งหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนพรตพิทยพยัต ได้มีส่วนร่วมในด้านสถานที่ตั้งโดยโรงเรียนพรตพิทยพยัตได้มอบที่ดิน จำนวน 5 ไร่ ให้กับสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเป็นที่ตั้งของหอสมุดดังกล่าว[2]

แบบอาคาร

ผู้ออกแบบอาคาร คือ ฉลอง สมิตะมาน สถาปนิก ระดับ 8 สถาบันศิลปกรรม โดยลักษณะอาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มี 3 ชั้น ขนาดกว้าง 39.6 เมตร ยาว 54 เมตร รวมพื้นที่ใช้สอย 3,455 ตารางเมตร จัดแบ่งเป็นพื้นที่บริการดังนี้[3]

  • ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ห้องบริการหนังสือเด็กและเยาวชน และห้องบริการหนังสือทั่วไป
  • ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องหนังสือศิลปะ ห้องเก็บตู้พระธรรม ตู้ลายทอง สำหรับเป็นที่ศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ห้องหนังสือนวนิยาย และห้องประชุมขนาด 250 ที่นั่ง
Thumb
หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง ถ่ายจากโรงเรียนพรตพิทยพยัต
  • ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องบริการหนังสือวิจัยและหนังสือรายงานต่าง ๆ ห้องหนังสือวิทยานิพนธ์ ห้องบริการโสตทัศนศึกษา และห้องบริการข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.