สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เริ่มเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 และได้รับการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ในปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ 1 ใน 2 แห่งของประเทศไทย[1]

ข้อมูลเบื้องต้น ภาพรวมหน่วยงาน, ก่อตั้ง ...
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี
และราชกิจจานุเบกษา
Thumb
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504
หน่วยงานก่อนหน้า
  • โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สมชาย พฤฒิกัลป์, ประธานกรรมการ
  • กฤษณา แพงสี, รองผู้อํานวยการรักษาการเเทนผู้อํานวยการ
เว็บไซต์
ปิด

ประวัติ

สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อว่า "โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี" อยู่ภายใต้การควบคุมและการบริหารงานของกองโรงพิมพ์ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

ต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับโอนกองโรงพิมพ์และโรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารในสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2517 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีนโยบายให้โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีการบริหารงานในลักษณะหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit) ภายใต้ชื่อ "สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา"[2]

งานพิมพ์ของสำนักพิมพ์

Thumb
ปกหนังสือราชกิจจานุเบกษา

สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา มีหน้าที่บริการด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ของราชการ โดยมีผลงานพิมพ์ที่สำคัญ คือ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.