Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีรานยา อัลอับดุลลอฮ์ (อาหรับ: رانيا العبد الله Rāniyā al-ʻAbd Allāh; พระนามเดิม: รานยา อัลยัสซิน; พระราชสมภพ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระบรมราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน นับตั้งแต่ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสใน พ.ศ. 2536 พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา สุขภาพ การเสริมพลังชุมชน เยาวชน บทสนทนาข้ามวัฒนธรรมและไมโครไฟแนนซ์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดียตัวยงและทรงดูแลเพจบน เฟซบุ๊ก ยูทูบ อินสตาแกรมและทวิตเตอร์ พระองค์มีพระราชโอรสสองพระองค์และพระราชธิดาสองพระองค์ ทรงได้รับการถวายราชสดุดีและรางวัลมากมาย
สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีรานยาใน ค.ศ. 2018 | |||||
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน | |||||
ดำรงพระยศ | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 – ปัจจุบัน | ||||
พิธีประกาศ | 22 มีนาคม ค.ศ. 1999 | ||||
พระราชสมภพ | คูเวตซิตี ประเทศคูเวต รานยา อัลยัสซิน | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1970||||
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน (สมรส 1993) | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
พระราชบิดา | ไฟซาล อัลยัสซิน | ||||
พระราชมารดา | อิลฮาม ยัสซิน | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชวงศ์จอร์แดน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน
|
พระองค์ทรงมีบทบาทในด้านการส่งเสริมสิทธิสตรีภายในประเทศจอร์แดน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิสตรีและให้มีความทัดเทียมกับบุรุษเพศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก สืบเนื่องมาจากการต่อต้านของกลุ่มอนุรักษนิยม[1][2]
นอกจากนี้สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระสิริโฉมที่งดงาม ทำให้พระองค์เป็นสตรีที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากนิโคล คิดแมน จากการสำรวจจากประชาชนใน พ.ศ. 2545[3]
สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ณ คูเวตซิตี ประเทศคูเวต มีพระนามเดิมว่า รานยา อัลยัสซิน เป็นธิดาของนายไฟซาล เซดกี อัลยัสซินกับนางอิลฮาม อัลยัสซิน ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวปาเลสไตน์ โดยพระชนกมีอาชีพเป็นแพทย์[1][3]
ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเอกชนคูเวต จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอเมริกัน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จนสำเร็จการศึกษา ต่อมาทรงเข้าทำงานที่ธนาคารซิตีแบงก์ในแผนกการตลาด[1][3] และทำงานกับบริษัทแอปเปิลในกรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน[4]
พระองค์มีพระปฏิสันถารกับเจ้าชายอับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์เป็นครั้งแรก ณ งานเลี้ยงอาหารค่ำในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 และทรงประกาศการหมั้นในอีกสองเดือนต่อมา
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอับดุลลอฮ์ท่ามกลางเสียงวิพากวิจารณ์เกี่ยวกับเชื้อสายปาเลสไตน์ของพระองค์[1]
หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสเสร็จสิ้นลง ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ เจ้าหญิงรานยา อัลอับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดาสี่พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (พระราชสมภพ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ณ กรุงอัมมาน)
เจ้าหญิงอีมาน (ประสูติ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ กรุงอัมมาน)
เจ้าหญิงซัลมา (ประสูติ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ณ กรุงอัมมาน)
เจ้าชายฮาเชม (ประสูติ 30 มกราคม ค.ศ. 2548 ณ กรุงอัมมาน)
แม้จะมีพระราชกรณียกิจจำนวนมาก แต่พระองค์ก็ทรงจัดเวลาให้กับครอบครัว ซึ่งพระองค์เองก็ทรงทำหน้าที่ของพระมารดาได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทรงดูแลเอาใจใสพระโอรส-ธิดาอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง[1]
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 พระสวามีของพระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน[5][6]
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ทรงประกาศสถาปนาให้พระองค์ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน[7] หากมิทรงได้รับการสถาปนาจากพระราชสวามี พระองค์จะทรงมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงพระวรราชชายา เหมือนเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ พระสัสสุ(แม่สามี)ของพระองค์[8][9]
นับตั้งแต่ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับพระราชสวามี สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงใช้บทบาทของพระองค์ในการส่งเสริมภาคส่วนต่างๆของสังคมในจอร์แดนและที่อื่นๆ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีรานยาทรงให้การอุปถัมภ์ต่อการริเริ่มด้านการศึกษาและการเรียนรู้
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ในความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีได้ทรงริเริ่มรางวัลครูประจำปี รางวัลพระราชินีรานยาเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา[10][11]
สมเด็จพระราชินีทรงเป็นประธานพิพิธภัณฑ์เด็กเชิงโต้ตอบแห่งแรกของจอร์แดน เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กและครอบครัว[12][13]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชินีได้ทรงก่อตั้ง“ Madrasati”(โรงเรียนของฉัน) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของภาครัฐและเอกชนที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงโรงเรียนรัฐบาลของจอร์แดน 500 แห่งในระยะเวลาห้าปี[14]
ในระดับอุดมศึกษาโครงการทุนการศึกษาราชินีรานยา[15] เป็นพาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งจากทั่วโลก
สมเด็จพระราชินีรานยาทรงเป็นประธานสมาคมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ (Royal Health Awareness Society: RHAS)[16]
สมเด็จพระราชินีรานยาทรงจัดตั้งมูลนิธิ Jordan River (JRF)ในปีพ.ศ. 2538[17]
โครงการ The Jordan River Children Program(JRCP) พัฒนาโดยสมเด็จพระราชินีรานยา เพื่อวางสวัสดิการของเด็กๆเหนือวาระทางการเมืองและข้อห้ามทางวัฒนธรรม[18] นำไปสู่การเปิดตัวในปีพ.ศ. 2541 ของโครงการ JRF’s Child Safety Program ซึ่งตอบสนองความต้องการของเด็กๆที่มีความเสี่ยงจากการถูกทารุณกรรมและริเริ่มการรณรงค์ระยะยาวเพื่อเพิ่มความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็ก
การเสียชีวิตของเด็กสองคนในอัมมานอันเป็นผลมาจากการทารุณกรรมเด็กเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552 ทำให้สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีรับสั่งเรียกประชุมรัฐบาลและเอกชน(รวมถึง JRF)เป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อหารือเกี่ยวกับจุดที่ทำให้ระบบเกิดความล้มเหลว[19]
สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระราชดำรัสว่าสิ่งสำคัญของการศึกษาคือการจัดหาทักษะที่จำเป็นสำหรับคนหนุ่มสาวให้ทำงานได้ดีในสถานที่ทำงาน[20]
พระองค์ทรงริเริ่มกองทุนอัล-อามันเพื่ออนาคตของเด็กกำพร้าในปีพ.ศ. 2546[21] และทรงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชาวจอร์แดนในต่างประเทศ พระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์ INJAZ Al-Arab ซึ่งก่อตั้งโดย Save the Children ในปีพ.ศ. 2542 และเปิดตัวในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรของจอร์แดนในปีพ.ศ. 2544[22] ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครราชทูตประจำภูมิภาคของ INJAZ Al-Arab พระองค์ได้ทรงสอนภายในชั้นเรียนและมีพระราชปฏิสันถารกับคนหนุ่มสาวในประเทศอื่นๆ พระองค์ทรงเป็นประธานการเสวนากับผู้ประกอบการเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบปีที่ 10 ของ INJAZ Al-Arab ที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวความสำเร็จของศิษย์เก่า[23]
ที่งานประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสในปีค.ศ. 2551 พระองค์ได้เปิดตัวแคมเปญ "เพิ่มขีดความสามารถของเยาวชนชาวอาหรับหนึ่งล้านคนภายในปี 2551" ซึ่งเป็นแนวคิดของ INJAZ Arabia[24]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เพื่อระลึกถึงความมุ่งมั่นของพระองค์ที่ทรงมีต่อของเด็กและเยาวชน กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF) ได้ทูลเชิญสมเด็จพระราชินีรานยาเข้าร่วมโครงการริเริ่มการเป็นผู้นำระดับโลก[25] สมเด็จพระราชินีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับผู้นำโลกคนอื่นๆ รวมถึงอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา ประเทศแอฟริกาใต้ ในขบวนการระดับโลกที่พยายามปรับปรุงสวัสดิการของเด็กๆ[26] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 สมเด็จพระราชินีรานยาทรงได้รับการขนานพระนามว่าทรงเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงคนแรกของยูนิเซฟสำหรับเด็ก[27] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชินีรานยาทรงเป็นประธานระดับโลกกิตติมศักดิ์ของการริเริ่มการศึกษาของเด็กหญิงแห่งสหประชาชาติ(UNGEI)[28]
ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนมาอย่างยาวนานของแคมเปญระดับโลกเพื่อการศึกษา(GCE)[29] สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเด็กๆและผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจในแอฟริกาใต้ทั้งในเมืองของ Johannesburและโซเวโต ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[30] สมเด็จพระราชินีรานยาและผู้หญิงผลัดกันอ่านเรื่องสั้นจาก The Big Read ให้กับเด็กๆในความพยายามที่จะส่งเสริมการรู้หนังสือ หนึ่งในเรื่องราวในหนังสือ "Maha of the Mountains” ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระราชินีรานยา[31] ในเมืองโซเวโต ทรงลงพระนามาภิไธยของพระองค์ที่ด้านหลังของ Big Read ก่อนที่จะทรงส่งต่อให้ทุกคนเขียนชื่อของพวกเขา[32][33]
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์ “The King’s Gift” ซึ่งเป็นหนังสือสำหรับเด็กเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ รายได้ทั้งหมดนั้นทรงพระราชทานแก่เด็กด้อยโอกาสในจอร์แดน[34]
สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเล่มที่สองเนื่องในวันแม่ปีพ.ศ. 2551 ชื่อว่า "ความงามอันเป็นนิรันด์" บอกเล่าเรื่องราวการสนทนาของเด็กสาวกับแกะตัวน้อยในขณะที่เธอกำลังค้นหาสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลก[35]
สำหรับเทศกาล Big Read พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์ “Maha of the Mountains” ซึ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของหญิงสาวที่จะได้รับการศึกษาและความท้าทายที่เธอต้องเผชิญ[31]
The Sandwich Swap เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากเหตุการณ์เมื่อทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระราชินีรานยา ทรงบอกเล่าเรื่องราวของพระสหายคนสนิททั้งสองคน ลิลี่และซัลมา ผู้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรสชาติสุดแหยะของเนยถั่ว แซนวิชเยลลี่และฮัมมัส ทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับ Kelly DiPucchio[36][37]
• รานยา อัลยัสซิน (31 สิงหาคม ค.ศ. 2513 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2536)
• เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงรานยา อัลอับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน (10 มิถุนายน พ.ศ. 2536 – 24 มกราคม พ.ศ. 2542)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (22 มีนาคม พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)
•พ.ศ. 2544: รางวัลแห่งความสำเร็จในชีวิต มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ ประเทศอิตาลี
•พ.ศ. 2545: รางวัล Ambrogino D’Oro จากเทศบาลเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
•พ.ศ. 2546: รางวัลสื่อมวลชนเยอรมันจาก Deutscher Medienpreis ประเทศเยอรมนี
•พ.ศ. 2548: โล่รางวัลสถาบันการศึกษาแห่งความสำเร็จ ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2548: รางวัล Sesame Workshop ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2550: รางวัลเมดิเตอร์เรเนียน สาขาความเป็นปึกแผ่นทางสังคมจากมูลนิธิเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี
•พ.ศ. 2550: รางวัลการดำเนินการด้านมนุษยธรรมระดับโลกจาก UNSA-USA และสภาธุรกิจแห่งสหประชาชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2550: รางวัล Bambi สาขางานการกุศลตามความสนใจโดย Hubert Burda Media ประเทศเยอรมนี
•พ.ศ. 2550: รางวัลด้านมนุษยธรรมจอห์น วัลลัค สาขาเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2551: รางวัล World Savers จาก Conde Nast Traveller ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2551: รางวัล David Rockefeller Bridging Leadership จากมหาวิทยาลัยซินเนอโกส ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2552: รางวัลมาริสา เบลลิสาริโอระดับนานาชาติจาก Fondazione Bellisario ประเทศอิตาลี
•พ.ศ. 2552: รางวัล North South Prize โดย the North South Prize ประเทศโปรตุเกส
•พ.ศ. 2552: รางวัล FIFA Presidential Award ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
•พ.ศ. 2553: รางวัล Arab Knight of Giving Award จาก Arab Giving Forum ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
•พ.ศ. 2553: รางวัล The Leadership Award จาก White Ribbon Alliance สาขา Safe Motherhood ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2553: รางวัล เจมส์ ซี มอร์แกน สาขามนุษยธรรมระดับโลกจาก Tech Awards ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2553: ผู้หญิงแห่งปี 2010 จาก Glamour ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2556: รางวัล Global Citizen ของสภาแอตแลนติก
•พ.ศ. 2556: รางวัล Walther Rathenau จาก Walther Rathenau Institut ประเทศเยอรมนี
•พ.ศ. 2557: รางวัลด้านมนุษยธรรม ประเทศอิตาลี
•พ.ศ. 2559: รางวัลด้านมนุษยธรรมแห่งสมาคมสื่อมวลชนต่างประเทศ สหราชอาณาจักร
•พ.ศ. 2559: รางวัล Golden Heart Award ประเทศเยอรมนี
•พ.ศ. 2559: เหรียญเกียรติยศสำหรับผู้หญิงจากชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด มอบโดยพระโอรสของพระองค์ ชีค ฮัมดาน ที่การประชุม Global Women Forum ในดูไบ
•พ.ศ. 2560: รางวัล Global Trailblazer ประเทศสหรัฐอเมริกา
•พ.ศ. 2560: รางวัล Fellowship จาก Fashion for Relief เพื่อรับทราบถึงความพยายามด้านมนุษยธรรมของสมเด็จพระราชินีต่อเด็กที่ติดอยู่ในความขัดแย้ง ประเทศฝรั่งเศส
•พ.ศ. 2561: รางวัลบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี ในการประชุมสุดยอดผู้มีอิทธิพลต่อสื่อโซเชียลมีเดียประจำปีครั้งที่สาม (ASMIS) ในดูไบ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.