จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี (อังกฤษ: Queen Pōmare IV of Tahiti) หรือพระนามอย่างเป็นทางการ ไอมาตา โปมาเรที่ 4 วาฮีเน โอ ปูนูอาเตราอีตูอา (อังกฤษ: Aimata Pōmare IV Vahine-o-Punuateraʻitua) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2410 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชอาณาจักรตาฮีตี
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี | |||||||||
![]() | |||||||||
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตี | |||||||||
ครองราชย์ | 11 มกราคม พ.ศ. 2360 - 17 กันยายน พ.ศ. 2410 | ||||||||
รัชสมัย | 50 ปี | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าโปมาเรที่ 3 แห่งตาฮีตี | ||||||||
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตี | ||||||||
ประสูติ | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2356 | ||||||||
สวรรคต | 17 กันยายน พ.ศ. 2410 (พระชนมพรรษา 64 พรรษา) | ||||||||
พระราชสวามี | พระเจ้าตาโปอาที่ 2 แห่งบอราบอรา อารีอีฟาไอเต | ||||||||
พระราชบุตร | อารีอีอาอูเอ โปมาเรที่ 5 เตรีอีมาเอวารูอาที่ 2 ตามาโตอาที่ 5 เตรีอีตาปูนูอี โปมาเร เตรีอีตูอา ตูอาวีลา โปมาเร | ||||||||
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 แห่งตาฮีตี | |||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์โปมาเร | ||||||||
พระบรมราชชนก | พระเจ้าโปมาเรที่ 2 แห่งตาฮีตี | ||||||||
พระบรมราชชนนี | สมเด็จพระราชินีเตริโตโอเตไร เตเรโมเอโมเอ | ||||||||
ลายพระอภิไธย | ![]() |
สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าโปมาเรที่ 2 แห่งตาฮีตี กับ เตริโตโอเตไร เตเรโมเอโมเอ พระอัยกาของพระองค์คือพระเจ้าโปมาเรที่ 1 แห่งตาฮีตี พระองค์ทรงครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งตาฮีตี หลังจากที่พระเชษฐาของพระองค์สวรรคต ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 14 พรรษา
ในปีพ.ศ. 2386 ฝรั่งเศสได้ประกาศว่าเกาะตาฮีตีอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส และได้แต่งตั้งผู้ว่าการที่ปาเปเอเต สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรพยายามอย่างไร้ผลที่จะส่งสารถึงกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเพื่อขอให้อังกฤษแทรกแซงการครอบครองตาฮีตีของฝรั่งเศส และเนรเทศพระองค์เองไปยังราอีอาเตอาเพื่อเป็นการประท้วง[1] ผลที่ตามมาคือสงครามฝรั่งเศส-ตาฮีตี ซึ่งกินเวลาจากปีพ.ศ. 2386 ถึง พ.ศ. 2390 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกอาณาจักรในหมู่เกาะโซไซตี ชาวตาฮีตีต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็สูญเสียไม่น้อย แม้ว่าอังกฤษไม่เคยช่วยชาวตาฮีตี แต่อังกฤษก็ประณามการกระทำของฝรั่งเศสและเกือบจะสงครามระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในภูมิภาคแปซิฟิก ความขัดแย้งเหล่านี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของกองกำลังตาฮีตีที่ป้อมเฟาเตาอา แม้ว่าฝรั่งเศสจะได้รับชัยชนะ แต่พวกเขาก็ไม่สามารถที่จะยึดเกาะเนื่องจากแรงกดดันทางการทูตจากบริเตนใหญ่ ซึ่งประโยชน์ที่บริเตนใหญ่จะได้รับคือ คำสั่งจะได้ข้อยุติสงครามคือการที่พันธมิตรของพระราชินีในฮูอาฮีเน ราอีอาเตอา และบอราบอรา จะได้รับอนุญาตให้รักษาความเป็นอิสระ[2][3][4]
ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 ก็ยอมอ่อนข้อและปกครองภายใต้ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2380 จนถึง พ.ศ. 2410 สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2410 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังที่สุสานพระราชวงศ์โปมาเร พระเจ้าโปมาเรที่ 5 แห่งตาฮีตี พระราชโอรสจึงครองราชย์ต่อจากพระองค์ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2413
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2365 สมเด็จพระราชินีนาถโปมาเรทรงอภิเษกสมรสกับว่าที่กษัตริย์ตาโปอาที่ 2 แห่งตาฮาอาและบอราบอรา การอภิเษกสมรสครั้งนี้จบลงด้วยการหย่าร้าง
ต่อมาพระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2375 กับเตนานีอา อารีอีฟาไอเต (10 มกราคม พ.ศ. 2363 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2416) [5][6] โดยพระสวามีพระองค์ที่สอง มีพระราชย์โอรสธิดาได้แก่
กลุ่มเกาะตัวโมตูไม่เคยถูกฝรั่งเศสผนวกเข้าไปส่วนหนึ่งของตน พวกเขาเพียงครอบครองโดยไม่ได้ประกาศอำนาจอธิปไตย ดั้งนั้นจึงถือว่าชอบธรรมทางกฎหมายที่หมู่เกาะแห่งนี้จะเป็นทรัพย์สินที่ถูกต้องของราชวงศ์โปมาเรและผู้ใดก็ตามที่อยู่อาศัยบนเกาะ แต่ฝรั่งเศสไม่ประกาศโดยปกติพวกเขามีอำนาจควบคุมโดย "ชอบธรรม" บนหมู่เกาะส่วนใหญ่ของตาฮีตีและดินแดนอื่นของราชย์วงศ์
เนื่องจากฝรั่งเศสไม่เคยครองครองหมู่เกาะตัวโมตูในทางนิตินัย ทำให้ไม่สามารถล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มี ดังนั้นสถาบันจึงยังคงอยู่ในการดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ฝรั่งเศสมีอำนาจเพียงพฤตินัยเหนือตัวโมตู
กรณีดังกล่าวที่คล้ายกันสามารถพบได้ทั่วโลกและแปซิฟิก นิวซีแลนด์ ที่บ่งบอกว่าคนพื้นเมืองในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ไม่เคยถูกผนวกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและที่เนื่องจากมีการละเมิดสนธิสัญญา(ซึ่งพระมหากษัตริย์ยินยอม) ทำให้อาจจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายในการเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอื่น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.