Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตูดิโอจิบลิ (ญี่ปุ่น: 株式会社スタジオジブリ; โรมาจิ: Kabushiki-gaisha Sutajio Jiburi, อังกฤษ: Studio Ghibli Inc.) เป็นสตูดิโอภาพยนตร์อนิเมะของประเทศญี่ปุ่น เคยเป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์โทกูมะโชเต็น ภาพยนตร์อนิเมะของสตูดิโอนี้ เต็มไปด้วยจินตนาการ เข้าถึงอารมณ์ และได้รับความชื่นชมไปทั่วโลก ชื่อ จิบลิ มาจากเครื่องบินตรวจการณ์ของประเทศอิตาลีที่ใช้ในทะเลทรายซาฮาราในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง คำนี้มีที่มาจากคำในภาษาลีเบียนที่แปลว่า "ลมร้อนที่พัดผ่านทะเลทรายซาฮารา" เปรียบได้กับ สตูดิโอที่พัดเอากระแสลมลูกใหม่ผ่านมายังอุตสาหกรรมอนิเมะของญี่ปุ่น[3] โลโก้ของบริษัทมีตัวละคร "โทะโตะโระ" จากภาพยนตร์เรื่อง โทโทโร่เพื่อนรัก ประกอบอยู่ด้วย
โลโก้สตูดิโอจิบลิ | |
สำนักงานใหญ๋ใน โคงาเนอิ, โตเกียว | |
ชื่อท้องถิ่น | 株式会社スタジオジブリ |
---|---|
ชื่อโรมัน | Kabushiki-gaisha Sutajio Jiburi |
ประเภท | บริษัทในเครือ (บริษัทร่วมทุน) |
อุตสาหกรรม | ภาพยนตร์ วิดีโอเกม โฆษณาทางโทรทัศน์ |
รูปแบบ | อะนิเมะ |
ก่อนหน้า | ท็อปคราฟต์ |
ก่อตั้ง | 15 มิถุนายน 1985 ใน โตเกียว, ญี่ปุ่น |
ผู้ก่อตั้ง |
|
สำนักงานใหญ่ | คาจิโนะ-โจ, โคงาเนอิ, โตเกียว , ญี่ปุ่น |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | โทชิโอะ ซูซูกิ (ประธาน) โกโร มิยาซากิ (กรรมการผู้จัดการ) คิโยฟูมิ นาคาจิมะ (ผู้อำนวยการ) ฮายาโอะ มิยาซากิ (ผู้อำนวยการ) |
ผลิตภัณฑ์ | ภาพยนตร์แอนิเมชัน, ภาพยนตร์สั้นแอนิเมชัน, ภาพยนตร์โทรทัศน์, โฆษณา, ภาพยนตร์คนแสดง |
รายได้สุทธิ | ¥3.43 พันล้าน (2023)[1] |
สินทรัพย์ | ¥31.179 พันล้าน (2023)[1] |
พนักงาน | 190[2] (2023) |
บริษัทแม่ | โทคูมะโชเท็น (1985–2005) นิปปงทีวี (2023–ปัจจุบัน, 42.3%) |
บริษัทในเครือ | สตูดิโอคาจิโนะ |
เว็บไซต์ | www |
สตูดิโอจิบลิได้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1985 โดยผู้กำกับอย่างฮายาโอะ มิยาซากิ ร่วมกับผู้เป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและพี่เลี้ยงอย่าง อิซาโอะ ทากาฮาตะ และ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการสร้างที่มีผลงานมายาวนานอย่างโทชิโอะ ซูซึกิ จุดเริ่มต้นทั้งหมดต้องย้อนไปปี ค.ศ. 1984 ภาพยนตร์เรื่อง มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม ซึ่งได้รับความนิยมจากมังงะที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องในนิตยสารอะนิเมจ (Animage) ของ โทคุมะ โชเท็น หลังจากบทดั้งเดิมถูกปฏิเสธ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการอำนวยการสร้างโดย ท็อปคราฟต์ (Topcraft) และความสำเร็จของภาพยนตร์กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มจิบลิ โทคุมะเป็นบริษัทแม่ของสตูดิโอจิบลิ และให้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์กับ ดิสนีย์ ในการจัดจำหน่ายทั่วโลกถึง 8 เรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร หรือ สปิริเต็ดอะเวย์ ภาพยนตร์เรื่อง ปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์ นำเค้าโครงเรื่องมาจากหนังสือของนักเขียนชาวอังกฤษชื่อ Diana Wynne Jones ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหลายประเทศรวมทั้งแคนาดาและสหรัฐอเมริกา นักประพันธ์เพลงอย่างโจ ฮิไซชิ จะเป็นผู้แต่งเพลงประกอบให้กับภาพยนตร์ในสตูดิโอจิบลิของมิยาซากิทุกเรื่อง
ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการชื่นชมมากที่สุดของสตูดิโอ ไม่ได้กำกับโดยมิยาซากิ คือ สุสานหิ่งห้อย แต่กำกับโดย อิซาโอะ ทากาฮาดะ ภาพยนตร์โศกนาฏกรรมของสองชีวิตกำพร้าในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในญี่ปุ่น หลายปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสตูดิโอจิบลิและนิตยสารอนิเมะจ ดังจะได้พบได้จากบทความในเซ็คชั่นที่ชื่อ "Ghibli Notes" อาร์ตเวิร์กจากภาพยนตร์ต่างๆ และงานอื่นๆ ของจิบลิมักจะได้ลงเป็นภาพปกของนิตยสารอยู่เสมอๆ
จิบลิมักเป็นที่รู้จักดีในนโยบาย "no-edits" ในสัญญาอนุญาตฉายภาพยนตร์ของพวกเขาในต่างประเทศ ต้นตอก็มาจากการอัดเสียงเพิ่มเติมอย่างเสียๆ หายๆ ในภาพยนตร์เรื่องมหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม ของมิยาซากิ เมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกา (ถูกตัดต่อและใส่ความเป็นอเมริกันเข้าไป) ดังนั้น สัญญาการให้ลิขสิทธิ์ของเจ้าหญิงโมโนโนเกะ มิยาซากิจะขีดเส้นใต้นโยบาย "no-editing" ไปในเอกสารทุกฉบับ
ในปี ค.ศ. 2024 สตูดิโอจิบลิได้รับรางวัลปาล์มทองคำเกียรติยศ ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน ครั้งที่ 77 พร้อมกับ เมอรีล สตรีป และจอร์จ ลูคัส นับเป็นบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์แห่งแรกที่ได้รับรางวัลนี้[4][5]
มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม กำกับโดย ฮายาโอะ มิยาซากิ ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ท็อปคราฟต์ ต่อมามิยาซากิ, อิซาโอะ ทากาฮาตะและโทชิโอะ ซุซุกิ ซื้อกิจการดังกล่าวแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสตูดิโอจิบลิ ด้วยเหตุนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมักได้รับการฉายซ้ำและทำการตลาดว่าเป็นภาพยนตร์ของสตูดิโอจิบลิ
ชื่อเรื่อง | วันฉายครั้งแรก | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบท | ผู้อำนวยการสร้าง | ผู้แต่งเพลงประกอบ | RT | MC |
---|---|---|---|---|---|---|---|
มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม | 11 มีนาคม ค.ศ. 1984 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | โจ ฮิซาอิชิ | 90%[6] | 86[7] | |
ลาพิวต้า พลิกตำนานเหนือเวหา | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1986 | 96%[8] | 78[9] | ||||
โทโทโร่เพื่อนรัก | 16 เมษายน ค.ศ. 1988 | โทรุ ฮาระ | 93%[10] | 86[11] | |||
สุสานหิ่งห้อย | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | มิจิโอะ มามิยะ | 100%[12] | 94[13] | |||
แม่มดน้อยกิกิ | 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 98%[14] | 83[15] | ||
ในความทรงจำที่ไม่มีวันจาง | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | โทชิโอะ ซุซุกิ | แคตซ์ โฮชิ | 100%[16] | 90[17] | |
พอร์โค รอสโซ สลัดอากาศประจัญบาน | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 96%[18] | 83[19] | ||
สองหัวใจ หนึ่งรักเดียว | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1993[A] | โทโมมิ โมจิซุกิ | เซอิจิ โอคุดะ โนโซมุ ทาคาฮาชิ |
ชิเงรุ นางาตะ | 89%[20] | 73[21] | |
ปอมโปโกะ ทานูกิป่วนโลก | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | ชังชังไต้ฝุ่น | 86%[22] | 77[23] | ||
วันนั้น...วันไหน หัวใจจะเป็นสีชมพู | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 | โยชิฟุมิ คนโด | ฮายาโอะ มิยาซากิ | ยูจิ โนมิ | 94%[24] | 75[25] | |
เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 93%[26] | 76[27] | ||
ยามาดะ ครอบครัวนี้ไม่ธรรมดา | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | อะกิโกะ ยาโนะ | 78%[28] | 75[29] | ||
มิติวิญญาณมหัศจรรย์ | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 96%[30] | 96[31] | ||
เจ้าแมวยอดนักสืบ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 | ฮิโรยูกิ โมนิตะ | เรอิโกะ โยชิดะ | โทชิโอะ สูซูกิ โนโซมุ ทาคาฮาชิ |
ยูจิ โนมิ | 88%[32] | 70[33] |
ปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์ | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โทชิโอะ สูซูกิ | โจ ฮิซาอิชิ | 87%[34] | 82[35] | |
ศึกเทพมังกรพิภพสมุทร | 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 | โกโระ มิยาซากิ | โกโระ มิยาซากิ เคอิโกะ นิวะ |
ทามิยะ เทระชิมะ | 38%[36] | 47[37] | |
โปเนียว ธิดาสมุทรผจญภัย | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 91%[38] | 86[39] | ||
อาริเอตี้ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 | ฮิโระมาซะ โยเนบายาชิ | ฮายาโอะ มิยาซากิ เคอิโกะ นิวะ |
เซซิล คอร์เบล | 94%[40] | 80[41] | |
ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 | โกโระ มิยาซากิ | ซาโตชิ ทาเคเบะ | 87%[42] | 71[43] | ||
ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 88%[44] | 83[45] | ||
เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ | 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | อิซาโอะ ทากาฮาตะ ริโกะ ซาคางูจิ |
โยชิอากิ นิชิมูระ | 100%[46] | 89[47] | |
ฝันของฉันต้องมีเธอ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 | ฮิโระมาซะ โยเนบายาชิ | ฮิโระมาซะ โยเนบายาชิ เคอิโกะ นิวะ มาซาชิ อันโดะ |
ทาคัทสึกุ มูรามัทสึ | 92%[48] | 72[49] | |
เต่าแดง | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 | มิคาเอล ดูดอก เดอ วิต | มิคาเอล ดูดอก เดอ วิต ปาสคาล เฟอร์ราน |
โทชิโอะ สูซูกิ อิซาโอะ ทากาฮาตะ วินเซนต์ มาราวาล ปาสกาล โกเชเทอซ์ เกรกัวร์ ซอร์ลาต์ |
โลรองต์ เปเรซ เดล มาร์ | 93%[50] | 86[51] |
อาย่ากับเหล่าแม่มด | 30 ธันวาคม ค.ศ. 2020[B] 27 สิงหาคม ค.ศ. 2021[C] |
โกโระ มิยาซากิ | เคอิโกะ นิวะ เอมิ กุนจิ |
โทชิโอะ สูซูกิ | ซาโตชิ ทาเคเบะ | 28%[52] | 46[53] |
เด็กชายกับนกกระสา | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 | ฮายาโอะ มิยาซากิ | โจ ฮิซาอิชิ | 97%[54] | 92[55] |
ชื่อเรื่อง | วันออกอากาศ | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบท | ผู้อำนวยการสร้าง | ผู้แต่งเพลงประกอบ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
ยานางาวะ โฮริวาริ โมโนงาตาริ | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1987 (เอ็นเอชเค) | อิซาโอะ ทากาฮาตะ | ซูซูมุ คุโบะ | มิจิโอะ มามิยะ | สารคดี | |
ซันโซคุ โนะ มูสึเมะ โรนยะ | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2014 – 28 มีนาคม ค.ศ. 2015 (เอ็นเอชเค) | โกโร มิยาซากิ | ฮิโรยูกิ คาวาซากิ | โนบุโอะ คาวาคามิ | ซาโตชิ ทาเคเบะ | อะนิเมะชุดฉายทางโทรทัศน์ สร้างจาก โรนยา, เดอะร็อบเบอร์ส์ดอเทอร์ โดย แอสตริด ลินด์เกรน |
เซน – โกรกูแอนด์ดัสต์บันนีส์[56] | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 (ดิสนีย์+) | คัทสึยะ คนโด | โทโมฮิโกะ อิชิอิ | ลุดวิก เยอรันซอน | ภาพยนตร์สั้น สตาร์ วอร์ส โดยจิบลิและลูคัสฟิล์ม |
ผลงานเหล่านี้ ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นโดยสตูดิโอจิบลิ แต่อำนวยการสร้างโดยสมาชิกของ Topcraft ก่อนจะสร้างสตูดิโอจิบลิ ในปี ค.ศ. 1985 หรือสร้างร่วมกับสตูดิโอจิบลิ
นอกจากนี้ จิบลิยังสร้างผลงานเป็นภาพยนตร์สั้นแนวทดลองของ ทาคาฮาตะ ในปี ค.ศ. 2004 เรื่อง Winter Days
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.