วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์เพื่อรองรับการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับนานาชาติซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ทั้งนี้ชื่อวิทยาลัยตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบ 100 ปี ชาตกาล

ข้อมูลเบื้องต้น สถาปนา, คณบดี ...
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Pridi Banomyong International College,
Thammasat University
Thumb
สถาปนา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์www.pbic.tu.ac.th
ปิด

ประวัติ

พ.ศ. 2551 วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งเพื่อเป็นเกียรติและเป็นการระลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในวาระองค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญระดับนานาชาติ[2] โดยจุดประสงค์หลักเพื่อสนองนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานเทียบได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และขยายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ

โดยในระยะแรกวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รับโอนหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมาจากสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2552 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) โดยเป็นหลักสูตรการศึกษาแบบสหวิทยาการพร้อมทั้งเน้นความเชี่ยวชาญทางภาษา ขอบข่ายการศึกษาของหลักสูตรอาทิ การศึกษาภาษา สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจจีน โดยใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน[3]

นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังมีหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานของหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

ทำเนียบคณบดี

  • รศ.ดร.พิมพันธุ์ เวสสะโกศล (พ.ศ 2551–2557)
  • รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต (พ.ศ. 2557–2560)
  • ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (พ.ศ. 2560–2563)
  • ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ (พ.ศ. 2563–2566)
  • รศ.ดร.ปีเตอร์ รักธรรม (พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน)

ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา (กนศ.ป. , กน.ป.)

ประธานคณะกรรมการนักศึกษาคณะ หรือ ประธานนักศึกษา ได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ มีอำนาจบริหารกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ, ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ...
ทำเนียบประธานคณะกรรมการนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1. นางสาวธัญพร แซ่กัง พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2560
2. นางสาวอสมา ผิวละออ พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561
3. นายสุทธิโชค จิตศรีสมบัติ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562
4. นางสาวนันทิพร นาคราช พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563
5. นายพชร จงเจริญจิตเกษม พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2563
6. นางสาวอภิชญา แซ่โค้ว พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2566
7. นายชณัฐส์ อัญพันธุ์ผล พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2567
ปิด

งานกิจการนักศึกษา (Student Affairs)

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดระบบกิจกรรมนักศึกษา โดยให้นักศึกษามีอิสระในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเสรี ซึ่งมี "คณะกรรมการนักศึกษา" เป็นหน่วยงานหลักที่บริหารงานกิจกรรมและงบประมาณโดยนักศึกษาเอง ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2567 ฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษาภายในวิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษาใหม่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กรรมการนักศึกษา มีจำนวนไม่เกิน 13 ตำแหน่ง และส่วนที่ 2 ประธานรุ่นแต่ละชั้นปี จำนวน 4 ชั้นปี รวมเป็นจำนวนไม่เกิน 17 ตำแหน่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงสมัยใหม่, การรับฟังข้อเสนอแนะของนักศึกษาทุกภาคส่วน รวมถึงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาจากทุกชั้นปีอย่างเสมอภาค

ทั้งนี้ ยังประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษาต่างๆ ภายในวิทยาลัยฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการนักศึกษาฯ อีกด้วย

กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาภายในคณะ

กลุ่มกิจกรรมหลักของนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ เป็นต้น

  • กลุ่มกิจกรรมคฑากร แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กลุ่มกิจกรรมผู้นำเชียร์ แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักสูตร

ปริญญาตรี

  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Thai Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยศึกษา ณ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ตลอดจนจบการศึกษา นอกจากนั้นหลักสูตรไทยศึกษามีโครงการสองปริญญาที่นักศึกษาสามารถเข้าร่วม โดยร่วมกับ School of Oriental and African StudiesUniversity of London สหราชอาณาจักร (2 ปี ศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และอีก 2 ปี ศึกษา ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Chinese Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา (มหาวิทยาลัยคู่สัญญา อาทิ Peking University และ Fudan University)
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอินเดียศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Arts in Indian Studies (International Program) เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา โดยนักศึกษาต้องไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ สาธารณรัฐอินเดีย อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.