คายกคณะ หรือ นักร้องหมู่ (อังกฤษ: choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป

ประเภทของคายกคณะ

แบ่งตามประเภท

  1. คายกคณะผสมชายหญิง เป็นประเภทที่อาจพบได้มากที่สุด มีการแบ่งนักร้องออกเป็น 4 กลุ่ม หรือ 4 แนว ได้แก่ โซปราโน อัลโต เทนเนอร์ และเบส เรามักเรียกว่า SATB
  2. คายกคณะหญิงล้วน อาจแบ่งนักร้องเป็น 2 แนว คือ โซปราโน-อัลโต เรียกว่า SA หรือแบบ 3 แนว โซปราโนI, โซปราโนII และอัลโต เรียกว่า SSA
  3. คายกคณะชายล้วน มักแบ่งเป็นเทนเนอร์ 2 แนว บาริโทน และเบส หรือเรียกว่า TTBB
  4. คายกคณะเด็ก มักเป็นออกเป็น 2 แนว (SA) หรือ 3 แนว (SSA)

แบ่งตามหน่วยงาน

  1. คายกคณะประจำโบสถ์
  2. คายกคณะประจำมหาวิทยาลัย
  3. คายกคณะประจำโรงเรียน
  4. คายกคณะประจำชุมชน
  5. คายกคณะอาชีพหรืออิสระ
ประเภทเสียงร้อง
เทียบกับการจัดเรียงบนคีย์บอร์ด
โซปราโน (หญิง)
เมซโซ-โซปราโน (หญิง) หรือ
เคาเตอร์เทเนอร์ (ชาย)
คอนทราลโต (หญิง) หรือ อัลโต
เทเนอร์ (ชาย)
แบริโทน (ชาย)
เบส (ชาย)

ระดับเสียงของนักร้องในคายกคณะ

ระดับเสียงของนักร้องจะแยกชาย และหญิง ฝ่ายละ 3 ประเภท ได้แก่

  1. โซปราโน (อังกฤษ: Soprano) เป็นนักร้องผู้หญิง เสียงสูง โดยมีระดับเสียงตั้งแต่ Middle C จนถึง High A หรืออาจสูงกว่า High A
  2. เมซโซ-โซปราโน (อังกฤษ: Mezzo Soprano) เป็นนักร้องหญิงที่มีเสียงระดับกลาง ถ้าเป็นเพลง 2 แนว (SA) จะต้องคัดแยกไปรวมกับโซปราโน หรืออัลโต ตามความใกล้เคียงของระดับเสียง แต่ถ้าเป็นเพลง 3 แนว (SSA)ระดับเสียงเมซโซ โซปราโน จะแยกกลุ่มออกมาเป็น โซปราโนII
  3. อัลโต (อังกฤษ: Alto) หรือคอนทราลโต ((อังกฤษ: Contralto) เป็นนักร้องหญิงที่มีระดับเสียงต่ำ
  4. เทเนอร์ (อังกฤษ: Tenor) เป็นนักร้องชายที่มีเสียงสูง
  5. แบริโทน (อังกฤษ: Baritone) เป็นนักร้องชายที่มีระดับเสียงปานกลาง
  6. เบส (อังกฤษ: Bass) เป็นนักร้องชายที่มีระดับเสียงต่ำสุด มีลักษณะเสียงหนักแน่น ลุ่มลึก และมีพลัง

ลักษณะการประสานเสียงแบบต่าง ๆ

  • 1. ชานต์ (chant) เป็นการประสานแบบง่าย ๆ คือ การใส่แนวประสานซึ่งเป็นแนวต่ำกว่าแนวทำนองโดยใช้ระดับเสียงไม่มากนัก ปกติประมาณสอง-สามระดับเสียง โดยร้องซ้ำๆ ทั้งเพลง ซึ่งเรียกว่า ออสตินาโต (ostinato)
  • 2. เอกโค (echo) เป็นการประสานเสียงโดยการขับร้องเพลงเดียวกันแต่เริ่มต้นขับร้องไม่พร้อมกัน แนวเสียงแรกเป็นผู้นำ และแนวเสียงที่สองเป็นเสียงสะท้อนของแนวเสียงแรก บทเพลงประเภทนี้โน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละวรรคจะมีเสียงยาวทำให้การขับร้องของเสียงที่สองร้องเป็นเสียงสะท้อนได้อย่างพอดี
  • 3. เดสแคนต์ (descant) เป็นการประสานเสียงโดยการใส่แนวประสานเสียงสูงเหนือเสียงทำนอง ผู้ขับร้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อยเพื่อความสมดุลของเสียง
  • 4. แคนอน (canon) เป็นการประสานเสียงโดยการขับร้องเพลงเดี่ยวตั้งแต่เริ่มต้น โดยการขับร้องไม่พร้อมกันมีลักษณะการร้องคล้ายกับเอกโค แต่มีความยากกว่า เนื่องจากเสียงโน้ตตัวท้ายวรรคไม่จำเป็นต้องมีความยาวพอดีกับการขับร้องของแนวที่สอง จึงทำให้เสียงของแต่ละแนวสอดประสานทับกัน
  • 5. พาร์ตซิงงิง (part-singing) เป็นการร้องประสานเสียงที่แนวเสียงแต่ละแนวมีแนวเฉาพะของตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสามารถร้องได้ตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไป

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.