Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 (อังกฤษ: Mazda CX-5) เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก (Compact SUV) ในสไตล์ Crossover รุ่นแรกที่ผลิตโดยมาสด้า เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2555 เป็นรถยนต์มาสด้ารุ่นแรกที่ใช้แนวทางการออกแบบ KODO - Soul of Motion ของมาสด้า มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 นั้นผลิตขึ้นเพื่อทดแทนรุ่นเก่าอย่าง มาสด้า ทริบิวต์ (อังกฤษ: Mazda Tribute) และมาสด้า ซีเอ็กซ์-7 (อังกฤษ: Mazda CX-7) ซึ่งทั้ง 2 รุ่นได้เลิกผลิตไปแล้ว โดยตลาดรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงเป็นตลาดที่มาสด้าศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องเก็บข้อมูลทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มต่างๆ และได้ออกรถต้นแบบมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 และเมื่อกระแสยอดขายของ Nissan Qashqai ของนิสสันไปได้ดีมาก จึงทำให้มาสด้าเริ่มมั่นใจในการพัฒนาต่อ
มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | มาสด้า |
เริ่มผลิตเมื่อ | 2012–ปัจจุบัน |
รุ่นปี | 2013-ปัจจุบัน |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก |
รูปแบบตัวถัง | รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก 5 ประตู |
โครงสร้าง |
|
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | มาสด้า ทริบิวต์ มาสด้า ซีเอ็กซ์-7 |
มาสด้า CX-5 มีเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 และ 2.5 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร รวมถึงโครงสร้างก็ใช้เทคโนโลยี SkyActiv ร่วมกับเครื่องยนต์ด้วย เพื่อคงความขับสนุกไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และยังมีระบบ i-Stop อีกด้วย
ในประเทศไทย บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะนำมาสด้า CX-5 มาเปิดตัวในเร็วๆ นี้ เนื่องจากทางมาสด้าได้นำ CX-5 มาจัดแสดงในงาน Bangkok International Motorshow ปี 2556 แล้ว โดยจะเป็นรถยนต์รุ่นแรกที่ใช้แนวทางการออกแบบ KODO โครงสร้างและเครื่องยนต์ SkyActiv รุ่นแรกของมาสด้าในไทย โดยจะนำเข้ามาจากมาเลเซีย มีเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 และเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร สาเหตุที่ไม่ประกอบในประเทศไทย เนื่องจากกำลังการผลิตของโรงงานมาสด้าในไทย (โรงงาน Auto Alliance Thailand) เต็มที่แล้ว ไม่สามารถขยายตัวออกไปได้อีก
รุ่นปรับโฉม ของมาสด้า CX-5 ได้ถูกเผยโฉมในประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 การเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นคือ รูปร่างของภายในห้องโดยสารได้มีการออกแบบใหม่ ลดเสียงจากภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงระบบไฟหน้า LED อัจฉริยะ ALH (Adaptive LED Headlights) ไฟตัดหมอก ไฟท้ายแบบ LED กระจังหน้าออกแบบใหม่ และเพิ่มระบบ i-Activesense เข้ามา[1] นอกจากนั้น ภายในห้องโดยสารได้มีการเพิ่มหน้าจอแสดงผลขนาด 7 นิ้วแบบสัมผัสพร้อมระบบ MZD Connect และลำโพง Bose จำนวน 9 ตำแหน่ง[2]
สำหรับรุ่นปรับโฉม มีการตัดเครื่องยนต์ 2.5 ลิตรออกไป ทำให้เหลือเพียงแค่เครื่องยนต์ 2.0 และ 2.2 ลิตร ส่วนสีภายนอกนั้นมีสีขาว สีเงิน สีเทา สีฟ้า และสีดำ[3]
รุ่นที่ 2 (KF) | |
---|---|
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | พฤศจิกายน 2016[4]–present |
รุ่นปี | 2017–ปัจจุบัน |
แหล่งผลิต | |
ผู้ออกแบบ | อิคุโอะ มาเอดะ ชินอิจิ อิซายามะ (2014) |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รุ่นที่คล้ายกัน |
|
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | |
ระบบเกียร์ |
|
มิติ | |
ระยะฐานล้อ | 2,698 มิลลิเมตร (106.2 นิ้ว) |
ความยาว | 4,550 มิลลิเมตร (179.1 นิ้ว) |
ความกว้าง | 1,842 มิลลิเมตร (72.5 นิ้ว) |
ความสูง | 1,680 มิลลิเมตร (66.1 นิ้ว) |
น้ำหนัก | 1,505–1,659 กิโลกรัม (3,318–3,657 ปอนด์) |
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 รุ่นที่สองได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งานลอสแอนเจลิส ออโต้โชว์ มาสด้า หลังจากนั้น เดือน ธันวาคม 2016 ประเทศญี่ปุ่นก็ได้เป็นประเทศแรกที่เริ่มผลิตและส่งมอบซีเอ็กซ์-5 ใหม่นี้ ซีเอ็กซ์-5 โฉมที่สองเป็นรถยนต์มาสด้ารุ่นแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
สำหรับประเทศไทย ซีเอ็กซ์-5 ได้เปิดตัวเมื่อบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ตามหลังการเปิดตัวในประเทศมาเลเซีย 1 เดือน โดยตัวรถยังคงนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เช่นเดิม โดยมีรุ่นย่อย C, S, SP (เครื่องยนต์เบนซิน) และรุ่นย่อย XD, XDL (เครื่องยนต์ดีเซล)
สำหรับเครื่องยนต์ รุ่นที่สองยังคงใช้เครื่องยนต์เดิมจากรุ่นที่แล้วคือเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 165 แรงม้า แรงบิด 210 นิวตันเมตรและเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร 175 แรงม้า แรงบิด 420 นิวตันเมตร ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตรไม่ได้ทำการตลาดในประเทศไทยอีกแล้ว ทุกเครื่องยนต์เชื่อมระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ
ระบบความปลอดภัยในสำหรับทุกรุ่นย่อยได้แก่ระบบเบรก ABS/EBD/BA, ระบบควบคุมเสถียรภาพและการทรงตัวของรถ (DSC), ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCS), ระบบควบคุมแรงบิดขณะเข้าโค้ง G-Vectoring Control, ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HLA), ระบบไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน (ESS), ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตา (ABSM : Advanced Blind Spot Monitoring), ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (RCTA : Rear Cross Traffic Alert), ถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่ง (คู่หน้า-ด้านข้าง-ม่านนิรภัย), กล้องมองภาพขณะถอยจอด
ส่วนระบบความปลอดภัยที่มีเฉพาะรุ่นย่อย SP และ XDL คือระบบ i-ACTIVSENSE คือ ระบบไฟหน้าอัจฉริยะ ALH : Adaptive LED Headlamps, ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน LDWS : Lane Daparture Warning System, ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LAS : Lane-keep Assist System, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ SCBS : Smart City Brake Support, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง SCBS-R : Smart City Brake Support-Reverse, ระบบช่วยเตือนเมื่อเหนื่อยล้าขณะขับขี่ DAA : Driver Attention Alert, ระบบเตือนการชนด้านหน้า และ ช่วยเบรกอัตโนมัติ SBS : Smart Brake Support, ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน MRCC : Mazda Radar Cruise Control
ในรุ่นปี 2019 มีการเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ DOHC Direct Injection Dual S-VT ขนาด 2.5 ลิตร 2,488 ซีซี. พ่วงเทอร์โบ กระบอกสูบ x ระยะช่วงชัก : 89.0 x 100.0 มิลลิเมตร อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1 กำลังสูงสุด 231 แรงม้า ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร ที่ 2,000 รอบ/นาที
ในรุ่นปี 2020 มีการปรับลดราคารุ่น 2.0 C (Core) เหลือ 1,160,000 บาท ราคาพิเศษ จำนวนจำกัด[7]
ในรุ่นปี 2021 มีการยุติจำหน่ายรุ่น 2.0 Core และ 2.2 XD อีกทั้งยังมีการปรับลดราคา – Option ใหม่ ถูกลง 90,000 บาท[8]
อาทิเช่น รุ่น
Entertainment ระบบความบันเทิง มีเครื่องเสียงรองรับ Apple CarPlay / Android Auto พร้อมระบบเสียงรอบทิศทาง BOSE® Surrond Sound, ลำโพง 10 ตำแหน่ง พร้อมโปรแกรม AudioPilot2 และ CenterPoint2
ในรุ่นปี 2022 มีการปรับขึ้นราคาทุกรุ่น 29,000 บาท อุปกรณ์มาตรฐานในแต่ละรุ่นย่อยเหมือนกับรุ่น MY 2021 (ราคาเริ่มต้นจากเดิม 1,320,000 บาท มาเป็น 1,349,000 บาท)
ปีทางปฏิทิน | สหรัฐ[9] | ญี่ปุ่น | ยุโรป[10] | ออสเตรเลีย | จีน[11] | แคนาดา[12] | ไทย[13] | เวียดนาม[14] | เม็กซิโก[15] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2012 | 43,319 | 35,438[16] | 26,664 | 15,861 | 11,301 | 906 | |||
2013 | 79,544 | 38,520[17] | 49,883 | 20,129 | 22,549 | 17,648 | 10,720 | ||
2014 | 99,122 | 29,466[18] | 57,289 | 21,571 | 51,585 | 19,920 | 5,634 | 12,246 | |
2015 | 111,450 | 27,243[19] | 56,179 | 25,136 | 45,110 | 22,281 | 3,832 | 14,782 | |
2016 | 112,235 | 21,078 | 55,345 | 24,564 | 49,147 | 25,123 | 3,323 | 11,703 | |
2017 | 127,563 | 41,622[20] | 59,499 | 25,831 | 51,585 | 25,404 | 4,835 | 10,968 | |
2018 | 150,622 | 38,290[21] | 69,956 | 26,173 | 22,549 | 26,587 | 8,184 | 11,955 | |
2019 | 154,545 | 31,538[22] | 64,860 | 25,539 | 33,579 | 27,696 | 3,020 | 7,498[23] | 13,742 |
2020 | 146,420 | 24,222[24] | 31,703 | 21,979[25] | 33,317 | 30,583 | 1,623[26] | 11,803[27] | 8,807 |
2021 | 168,448 | 22,431[28] | 24,968[29] | 26,571 | 9,162 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.