Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา (อังกฤษ: Volkswagen Jetta) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยฟ็อลคส์วาเกิน บริษัทรถยนต์สัญชาติเยอรมนี เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยชื่อเจ็ตตา เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า กระแสลมกรด (กระแสลมแรงที่พัดอยู่ในบริเวณ โทรโพพอส มีความเร็วลมเฉลี่ย 150 กม./ช.ม. แต่อาจเพิ่มได้ถึง 480 กม./ช.ม. ในช่วงฤดูหนาว)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | ฟ็อลคส์วาเกิน |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2522 - ปัจจุบัน |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก(รุ่นที่1) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก(รุ่นที่ 2-ปัจจุบัน) |
รูปแบบตัวถัง | ซีดาน 2 ประตู ซีดาน 4 ประตู วากอน 4 ประตู |
รุ่นที่คล้ายกัน | ฮอนด้า ซีวิค โตโยต้า โคโรลล่า มิตซูบิชิ แลนเซอร์ นิสสัน ซันนี่/ทีด้า มาสด้า 323/3 เฟชโรเลต ออพตร้า ฟอร์ด โฟกัส |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | ฟ็อลคส์วาเกิน บีเทิล |
รุ่นต่อไป | ยังไม่มี |
เจ็ตตา เป็นรถที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับ ฟ็อลคส์วาเกิน กอล์ฟ แต่จะแตกต่างตรงที่ กอล์ฟ จะเป็นรถแบบแฮทช์แบค (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) แต่เจ็ตตา จะเป็นรถแบบซีดาน (มีกระโปรงหลัง) ในภาพรวมแล้ว กอล์ฟดูจะมียอดขายสูงกว่าเจ็ตตา แต่ยอดขาย 6.6 ล้านคัน ใน 26 ปี ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว
ในประเทศไทย ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา เคยเข้ามีทำตลาดในเมืองไทยครั้งหนึ่งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยขายในชื่อ ฟ็อลคส์วาเกิน เวนโต (อังกฤษ: Volkswagen Vento) ซึ่งก็ได้รับการตอบรับพอสมควรอยู่ในช่วงหนึ่ง แต่ก็เงียบไป
ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา มีวิวัฒนาการแบ่งตามยุคสมัยแบ่งได้ 7 รุ่น ดังนี้
เจ็ตตารุ่นแรก ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจากหลายตลาดทั่วโลก ด้วยความที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้รถซีดานได้มาก ตั้งแต่การเลือกซื้อที่มีเครื่องยนต์ให้เลือกทั้งเบนซินและดีเซล เครื่องเบนซินเลือกขนาดได้ตั้งแต่แบบประหยัด 1,100 ซีซี ไปจนถึงแบบกำลังสูง 1,800 ซีซี และระบบขับขี่ที่ดี
เจ็ตตามีภาพรวมที่ค่อนข้างดี ผู้ใช้หลายคนบอกว่าเป็นรถที่ขับขี่ควบคุมได้ง่าย จะมีปัญหาเพียงเล็กน้อยขณะการถอยจอดหรือกรณีอื่นๆ ที่ขับขี่ด้วยความเร็วต่ำมาก เพราะยุคนี้ ยังไม่มีพวงมาลัยแบบ Power (พวงมาลัยพาวเวอร์ คือ มีระบบหล่อลื่นจากน้ำมันหล่อลื่นพวงมาลัย และแรงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช่วยให้หมุนพวงมาลัยได้ง่ายขึ้น ดังนั้น รถเก่าที่ไม่มีระบบนี้ จะใช้เพลาเพียงอย่างเดียว และผู้ขับขี่ต้องใช้แรงมากในการหมุนพวงมาลัยขณะรถจอดหรือวิ่งความเร็วต่ำ รถเกือบทุกรุ่นในปัจจุบัน เป็นระบบพวงมาลัยพาวเวอร์หมดแล้ว) อาจะมีข้อเสียอยู่บ้างในด้านของเสียงเครื่องยนต์ในห้องโดยสารค่อนข้างดัง
เจ็ตตารุ่นแรกมีการพัฒนาความปลอดภัยอย่างดี ทั้งระบบเตือนผู้ขับขี่ไม่ให้ลืมใส่เข็มขัดนิรภัย และยังมีตัวถังที่แข็ง ระบบกันกระแทกดี จากการทดสอบการชน (Crash Test) ขององค์กรบริหารความปลอดภัยทางการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: National Highway Traffic Safety Administration : NHTSA) ได้ให้คะแนนความปลอดภัยของเจ็ตตารุ่นแรกสูงถึง 5 ดาว (ได้คะแนนเต็ม)
ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา รุ่นแรก มียอดการผลิตรวม 571,030 คัน
เจ็ตตารุ่นที่ 2 ประสบความสำเร็จในวงกว้าง และมีการผลิตที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์เจ็ตตา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีการออกแบบตัวรถให้ใหญ่ขึ้นในทุกมิติ ทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง และระยะฐานล้อ ห้องโดยสารมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อน 14% สามารถบรรทุกผู้โดยสารผู้ใหญ่ขนาดตัวปานกลางได้ 5 คน, ห้องบรรทุกของใต้กระโปรงหลังมีปริมาตร 470 ลิตร เกือบเท่ารถขนาดใหญ่ ฟูลไซส์หายรุ่น และการออกแบบใหม่ช่วยให้รถลู่ลมได้มากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของรถต่ำลงเหลือ 0.36 ช่วยให้เครื่องยนต์ที่งานน้อย ประหยัดน้ำมัน เครื่องยนต์มีขนาดตั้งแต่ 1,300 - 2,000 ซีซี และมีเครื่องดีเซล 1,600 ซีซี ได้มีภาพรวมในแง่บวกเช่นเดิม โดยมีแต้มนำเรื่องความกว้างขวางภายใน และการขับขี่ที่สะดวกเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบของ NHTSA เจ็ตตารุ่นที่ 2 คะแนนตก เหลือ 3 ดาว แต่ก็ถือว่าปลอดภัยพอตัวเมื่อเทียบกับรถเกรดเดียวกัน และมีระบบป้องกันการขโมย หากเจ้าของต้องการ สามารถตั้งรหัสได้ และหลังจากดับเครื่อง เครื่องจะไม่สตาร์ทจนกว่าจะใส่รหัสได้ถูกต้อง
ฟ็อลคส์วาเกิน เจ็ตตา รุ่นที่ 2 มียอดการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,708,390 คัน
สำหรับเจ็ตตารุ่นที่ 3 ฟ็อลคส์วาเกินเกือบทั่วโลกขายเจ็ตตารุ่นที่ 3 นี้ในชื่อ ฟ็อลคส์วาเกิน เวนโต (อังกฤษ: Volkswagen Vento) ซึ่งชื่อเวนโตมีความหมายในภาษาโปรตุเกส และภาษาอิตาลี ว่า ลม เวนโตได้เข้ามาขายในเมืองไทยด้วย เป็นที่รู้จักของคนไทยมากที่สุด มีการออกแบบใหม่โดยลู่ลมมากขึ้น (ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานลดลงอีกเหลือ 0.32) มีการออกแบบรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยยกเลิกการใช้สาร CFC เป็นสารทำความเย็น และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ โดยมีประสิทธิภาพถึง 17.5 กิโลเมตรต่อลิตร มีถุงลมนิรภัย ขับขี่ได้ง่าย คล่องตัว เครื่องยนต์มีขนาด 1,600 - 2,800 ซีซี มีเครื่องดีเซล 1,900 ซีซี ตัวรถมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งกว้างขึ้น ยาวขึ้น สูงขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นที่ 2 แต่ระยะฐานล้อเท่าเดิม มีภาพรวมในแง่บวกเช่นเดียวกัน ด้วยความกว้างขวางใช้สอยสะดวกเช่นเดียวกัน
แต่ทว่า จากการทดสอบของ NHTSA เจ็ตตารุ่นที่ 3 ได้คะแนน 3 ดาว และจากการทดสอบของสถาบันทดสอบความปลอดภัยทางการจราจร สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: Insurance Institute for Highway Safety : IIHS) เจ็ตตารุ่นที่ 3 ได้รับเกรด Marginal หรือ พอใช้ (ผลการทดสอบของ IIHS จะรายงานโดยมี 4 เกรด คือ Poor รถอันตราย, Marginal ปลอดภัยพอใช้, Acceptable ปลอดภัยน่าพอใจ และ Good ปลอดภัยดีเยี่ยม)
สำหรับเจ็ตตารุ่นที่ 4 ฟ็อลคส์วาเกินเกือบทั่วโลกขายในชื่อ ฟ็อลคส์วาเกิน โบรา (อังกฤษ: Volkswagen Bora) ซึ่งโบราคือลมประจำฤดูหนาวซึ่งจะพัดผ่านชายฝั่งทะเลเอเดรียติก เป็นครั้งคราว เจ็ตตารุ่นที่ 4 เครื่องยนต์มีขนาดตั้งแต่ 1,400 - 2,800 ซีซี มีเครื่องดีเซล 1,900 ซีซี ซึ่งในการออกแบบครั้งนี้ ระยะฐานล้อเพิ่มขึ้น ตัวรถกว้างขึ้น สูงขึ้น แต่สั้นลงเล็กน้อย เจ็ตตารุ่นที่ 4 มีการใช้เทคโยโลยีขั้นสูงอยู่พอสมควร (ต่างจากรุ่นที่ 1-3) เช่น ระบบเซนเซอร์ที่ปัดน้ำฝน ปรับสปีดที่ปัดได้อัตโนมัติ และระบบเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ และอื่นๆ แต่ก็ทำให้ราคาสูงเกินไป เจ็ตตารุ่นที่ 4 มีภาพรวมปานกลาง (ไม่ใช่แง่ดีเหมือนแต่ก่อน) โดยสิ่งที่ฉุดกระแสนิยมดังกล่าวลงมาคือ จากการสำรวจความคิดเห็น พบว่าผู้ใช้หลายคนมองเห็นว่ารูปร่างของโบราอัปลักษณ์ (Ugly) และแพงเกินไปสำหรับ Compact Car รถ Compact Car รุ่นอื่นๆ ในตลาด มีราคาถูกกว่าโบรามาก แต่ผู้ใช้ยอมรับว่า เป็นรถที่ขับง่าย และกว้างขวางสะดวกสบาย
ในการทดสอบความปลอดภัย ครั้งนี้ เจ็ตตารุ่นที 4 ได้ปรับปรุงความปลอดภัยมาอย่างดี โดยจากการทดสอบของ NHTSA ได้คะแนนเต็ม 5 ดาว ในการชนจากด้านหน้า และได้คะแนน 4 ดาว ในการชนทางข้าง ส่วนการทดสอบของ IIHS ได้คะแนนในภาพรวมเป็นเกรดความปลอดภัยสูงสุด คือ "Good"
เจ็ตตารุ่นที่ 5 มีเป็นรุ่นที่มีชื่อเรียกเยอะมาก ในเม็กซิโก และโคลอมเบีย ขายในชื่อโบรา, ในชิลี ขายในชื่อเวนโต, ในจีน ขายในชื่อซากิตาร์ (Sagatar), ในแคนาดา ขายในชื่อ กอล์ฟ วากอน ฯลฯ เจ็ตตารุ่นนี้ ระยะฐานล้อเพิ่มขึ้น ตัวรถยาวขึ้น กว้างขึ้น สูงขึ้น เครื่องยนต์มีตั้งแต่ 1,600 - 2,500 ซีซี แต่ใน ค.ศ. 2009 ได้มีการผลิตเครื่องยนต์รุ่นใหม่ของเจ็ตตาขึ้น โดยที่ใช้เกียร์ดีเอสจี (เกียร์ DSG เป็นเกียร์ที่ออกแบบมาเพื่อรถที่ต้องการอัตราเร็วและอัตราเร่งที่สูงมาก มักติดตั้งในกลุ่มรถซูเปอร์คาร์ เช่น บูกัตติ เวย์รอน ที่ติดตั้งเกียร์ดีเอสจี ควบคู่กับเครื่องยนต์ 8,000 ซีซี แล้วมีกำลังสูงถึง 987 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 406 กม./ช.ม.) เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลัง แล้วลดขนาดเครื่องยนต์ลง โดยได้ทำเครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นเครื่องยนต์ 1,400 ซีซี แต่ให้กำลังมากกว่าเครื่องยนต์เกียร์อัตโนมัติ 2,000 ซีซี จึงได้มีการขายเจ็ตตา เครื่องยนต์ใหม่ดังกล่าว ในบางประเทศ
ส่วนภาพรวมของเจ็ตตา แม้ราคาจะยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรถ Compact Car รุ่นอื่นๆ ในตลาด แต่ชื่อเสียงของเจ็ตตากลับมาอยู่ในแง่ดี โดยยังมีจุดแข็งในการขับง่ายเช่นเดิม และข้อบกพร่องใดๆ ที่ทำให้รุ่นที่ 4 มีกระแสตอบรับไม่ดีนัก ก็ได้แก้ไข จนตัวรถมีคุณภาพกว่ารุ่นที่ 4 มาก (แต่หลายคนก็ยังคลางแคลงใจ ที่คิดว่าเจ็ตตาไม่ดี ซึ่งเป็นความคิดที่ตกค้างมาจากรุ่นก่อน)
ด้านความปลอดภัย จากการทดสอบของ NHTSA ได้คะแนน 4 ดาว ในการชนทางหน้า และ 5 ดาว จากการชนทางข้าง ส่วนการทดสอบจาก IIHS ได้เกรดสูงสุด "Good"
เจ็ตตารุ่นที่ 6 พัฒนาขึ้นในคอนเซปต์ NCS (New Compact Sedan) เริ่มลงตลาดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นรุ่นล่าสุดของเจ็ตตา ในช่วงนี้ ฟ็อลคส์วาเกิน ต้องการเพิ่มยอดจำหน่ายให้ได้มากที่สุด ฟ็อลคส์วาเกิน ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของเจ็ตตาไปอย่างเกือบสิ้นเชิง โดยจากรถรุ่นที่ 4-5 ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ค่อนข้างมาก (ไฮเทค) กลายเป็นรถยนต์มาตรฐานต้นทุนต่ำในรุ่นที่ 6 เพื่อให้มีราคาถูกลง ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ง่ายขึ้น (คล้ายรุ่นที่ 1-3) องค์ประกอบหลายส่วนถูดลดเกรดลง เช่น เบาะ เปลี่ยนเบาะหนัง เป็นวัสดุชนิดอื่น, แผงปุ่มกดต่างๆ เปลี่ยนไปใช้วัสดุพื้นฐานราคาถูก, ระบบปรับอากาศ เปลี่ยนไปใช้ระบบที่ ฟ็อลคส์วาเกิน เคยใช้เมื่อปลายทศวรรษ 1990, ที่เท้าแขน เป็นแบบพื้นฐาน สวิตช์ต่างๆ จะติดตั้งไว้เท่าที่จำเป็น อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่เคยมีที่ในที่เท้าแขนของเจ็ตตารุ่นที่ 5 ถูกนำออกไปทั้งหมด, เครื่องยนต์ที่ใช้มิได้มีการคิดค้นพัฒนาใดๆ เพิ่มเติมจากรุ่นที่ 5 เลย เป็นการออกแบบตัวรถใหม่เท่านั้น แล้วยกเอาเครื่องที่เคยใช้ในรุ่นที่ 5 มาใช้ รวมทั้งอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น ฟ็อลคส์วาเกินตัดออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ราคารถ ถูกลงมา ให้เท่ารถรุ่นอื่นๆ ที่ใกล้เคียง
การตัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ออกเป็นจำนวนมาก จะทำให้เจ็ตตากลับคืนสู่สภาพรถเกรดทั่วไป แต่ราคาจะถูกลงมาก ดังนั้น ภาพรวมของรถจะเป็นอย่างไร การขับขี่ยังง่ายดายหรือไม่ การตัดอุปกรณ์เสริมออกอยู่ในระดับที่รับได้หรือไม่ กำลังอยู่ในช่วงการรอผลตอบรับจากลูกค้าในประเทศต่างๆ แต่ในประเทศไทย บริษัท ไทยยานยนตร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟ็อลคส์วาเกินในปัจจุบัน ไม่มีแผนจะนำเจ็ตตารุ่นนี้มาขายในประเทศไทย
แม้ Volkswagen Jetta อาจไม่ใช่ผู้เล่น C-Segment รายสำคัญในตลาดสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าหากเทียบอัตราส่วนด้านยอดขายแล้วล่ะก็ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Jetta คือรถยนต์รุ่นสำคัญรุ่นหนึ่งของ Volkswagen ที่สามารถทำยอดขายสูงลำดับต้น ๆ ในตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก Jetta รุ่นปัจจุบันเป็นรถยนต์ C-Segment Sedan All NEW Volkswagen Jetta เป็นรถยนต์ที่มาได้ถูกจังหวะคือมันมาในช่วงที่ยังไม่ค่อยมีใครเปิดตัวรถ C-Segment กันคงมีเพียงแค่ All NEW Kia Forte ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งที่ไม่แข็งแกร่งมาก All NEW Volkswagen Jetta ยังคงยึดมั่นอยู่กับความเรียบง่ายของดีไซน์ แต่ปราดเปรียวเพรียวลมยิ่งขึ้น เพราะมันถูกสร้างขึ้นบนพื้นตัวถัง MQB ร่วมกับ Golf รุ่นปัจจุบัน มีการขยายความยาวฐานล้อจาก 2,650 มิลลิเมตร เป็น 2,684 มิลลิเมตร ตัวรถดูยาวและกว้างขึ้นกว่าเดิม แต่มีระยะ Overhang ที่สั้นลง นั่นจึงทำให้ Jetta โฉมใหม่มีพื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวางกว่าที่ตาเห็น Vollkswagen ยังคงยึดมั่นกับทิศทางการออกแบบ Timeless Design ด้วยเส้นสายที่เรียบง่ายแต่คมชัด มีลูกเล่นด้านแสงและเงาตามร่องรอยต่าง ๆ ของรถ เน้นสัดส่วนตัวรถที่เอนลาดคล้ายกับรถ Coupe ด้านหน้าถูกออกแบบดูแข็งแกร่ง โดยออกแบบกระจังหน้าให้ดูคล้ายใบมีด
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.