Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติสหรัฐ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 ส่วน ยาว 19 ส่วน ภายในเป็นแถบสีแดงสลับขาวรวมกัน 13 ริ้ว เป็นริ้วสีแดง 7 ริ้ว สีขาว 6 ริ้ว ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวจำนวน 50 ดวง เรียงกันตามแนวตั้งเป็นแถวดาว 5 ดวงสลับกับแถวดาว 4 ดวง รวมจำนวนทั้งหมด 9 แถว ธงนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก 3 ชื่อ คือ "The Stars and Stripes" (ธงดาวและริ้ว) "Old Glory",[1] และ "The Star-Spangled Banner" ซึ่งชื่อหลังสุดนี้ ยังเป็นชื่อของเพลงชาติสหรัฐอีกด้วย
จำนวนของดาว 50 ดวงในพื้นสีน้ำเงิน หมายถึงรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐทั้ง 50 รัฐ โดยจำนวนดาวจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อมีการเพิ่มจำนวนรัฐในความปกครอง ริ้วสีแดงสลับขาวทั้ง 13 ริ้ว หมายถึงอาณานิคม 13 แห่งของราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในอเมริกา ซึ่งได้ร่วมกันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร และสถาปนาประเทศสหรัฐขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1776
จากการให้นิยามในธงชาติไว้ข้างต้น ส่วนที่เป็นพื้นสีน้ำเงินมีรูปดาวจึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ยูเนียน" (union) อันอาจหมายถึง ความเป็นเอกภาพของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐ ส่วนดังกล่าวนี้ได้มีการใช้เป็นธงฉานของกองทัพเรือสหรัฐ โดยใช้ชื่อว่า "ธงยูเนียนแจ็ค" (อย่างไรก็ตาม ธงนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธงยูเนียนแจ็กของสหราชอาณาจักรแต่อย่างใด) โดยใช้ในเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐระหว่าง ค.ศ. 1777–2002 ปัจจุบันธงดังกล่าวไม่ได้ใช้ในเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ แล้ว แต่ยังคงใช้อยู่ในเรือของรัฐบาลสหรัฐฯ สังกัดหน่วยป้องกันชายฝั่ง (United States Coast Guard) กองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (Military Sealift Command) และสำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Name | Absolute | Relative | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
CIELAB D65 | Munsell | CIELAB D50 | sRGB | GRACoL 2006 | ||||||||||||||
L* | a* | b* | H | V/C | L* | a* | b* | R | G | B | 8-bit hex | C | M | Y | K | |||
สีขาว | 88.7 | −0.2 | 5.4 | 2.5Y | 8.8/0.7 | 100.0 | 0.0 | 0.0 | 1.000 | 1.000 | 1.000 | #FFFFFF | .000 | .000 | .000 | .000 | ||
Old Glory Red | 33.9 | 51.2 | 24.7 | 5.5R | 3.3/11.1 | 39.9 | 57.3 | 28.7 | .698 | .132 | .203 | #B22234 | .196 | 1.000 | .757 | .118 | ||
Old Glory Blue | 23.2 | 13.1 | −26.4 | 8.2PB | 2.3/6.1 | 26.9 | 11.5 | −30.3 | .234 | .233 | .430 | #3C3B6E | .886 | .851 | .243 | .122 |
Source | PMS | CIELAB D50 | sRGB | GRACoL 2006 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
L* | a* | b* | R | G | B | 8-bit hex | C | M | Y | K | |||
Safe | 100.0 | 0.0 | 0.0 | 1.000 | 1.000 | 1.000 | #FFFFFF | .000 | .000 | .000 | .000 | ||
สถานทูตสหรัฐ, กรุงลอนดอน |
193 C | 42.1 | 64.4 | 26.7 | .756 | .076 | .238 | #C1133D | .165 | 1.000 | .678 | .063 | |
281 C | 15.4 | 7.0 | −41.8 | .000 | .149 | .388 | #002663 | 1.000 | .906 | .388 | .231 | ||
สถานทูตสหรัฐ., กรุงสต็อกโฮล์ม |
186 C | 44.1 | 67.8 | 37.9 | .800 | .048 | .185 | #CC0C2F | .122 | 1.000 | .796 | .035 | |
288 C | 18.0 | 7.6 | −50.3 | .000 | .172 | .466 | #002C77 | 1.000 | .863 | .357 | .141 | ||
CA Mil. Dept. | 200 C | 41.1 | 64.2 | 30.8 | .745 | .051 | .203 | #BE0D34 | .169 | 1.000 | .749 | .074 |
โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว ธงชาติสหรัฐอาจมีการตกแต่งด้วยชายครุยสีทองตามขอบธงได้ตลอด ตราบเท่าที่ไมการประดับตกแต่งใด ๆ ลงบนพื้นธงโดยตรง การใช้หรือแสดงธงในพิธีการ เช่น ในการเดินขบวนพาเหรด หรือภายในอาคาร โดยมากมักใช้ธงซึ่งแต่งด้วยชายครุยดังกล่าวเพื่อให้ธงมีความสวยงามมากขึ้น บันทึกที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1835 และกองทัพบกสหรัฐได้เริ่มใช้ธงลักษณะดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1895 ทั้งนี้ ไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใด ๆ ที่ระบุถึงการตกแต่งธงด้วยชายครุยโดยตรง แต่ใน ค.ศ. 1925 ได้มีความเห็นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (United States Attorney General) กล่าวถึงการใช้ชายครุย (และจำนวนดาวในธง) ว่า "...ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้บัญการทหารบกและผู้บัญชาการทหารเรือ..." ("...is at the discretion of the Commander in Chief of the Army and Navy...") อย่างไรก็ตาม สถาบันวิชาออกแบบตราสัญลักษณ์ของกองทัพบกสหรัฐ (Army Institute of Heraldry) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องแบบธงและกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเรื่องดังกล่าว ระบุว่าการตกแต่งธงด้วยชายครุยดังกล่าวไม่มีนัยความหมายพิเศษอื่น ๆ แต่อย่างใด[6] ซึ่งศาลของรัฐต่าง ๆ ส่วนมากก็สนับสนุนในข้อสรุปนี้[7][8]
ธงชาติสหรัฐมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธงมาแล้ว 26 ครั้ง นับตั้งแต่มีธงแบบแรกสุดซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐก่อตั้งประเทศทั้ง 13 รัฐ ธงชาติสหรัฐฯ แบบ 48 ดาว ซึ่งใช้มาถึง 47 ปี จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 (วันแรกที่รัฐอลาสกาได้เข้าร่วมเป็นรัฐที่ 49 ของประเทศ) นับเป็นสถิติของการใช้ธงชาติสหรัฐที่ยาวนานที่สุด สถิตดังกล่าวถูกทำลายลงด้วยธงชาติสหรัฐในปัจจุบันที่มีดาว 50 ดาว เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 อันเป็นวันครบรอบ 47 ปีของธงดังกล่าวนั้น
เมื่อมีการลงนามในคำประกาศเอกราชสหรัฐในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ประเทศสหรัฐยังไม่มีธงชาติอย่างเป็นทางการของตนเองใช้ ในประวัติศาสตร์นั้นมักจะอ้างถึงธงที่มีชื่อว่า "แกรนด์ยูเนียนแฟลก" ว่าเป็น "ธงชาติธงแรก" สหรัฐ แม้ในความจริงแล้วธงนี้จะไม่เคยมีสถานะเป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเลย ธงแกรนด์ยูเนียนแฟลกนั้นเป็นธงที่มีการใช้เป็นสัญลักษณ์ในช่วงสงครามการปฏิวัติอเมริกา[9] โดยนายพลจอร์จ วอชิงตัน และลักษณะของธงดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นต้นแบบของธงชาติสหรัฐอย่างเป็นทางการในช่วงต่อมา ที่มาของแบบธงนั้นไม่สามารถสืบได้แน่ชัด แต่ลักษณะของธงนี้คล้ายคลึงกับธงของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในยุคเดียวกันมาก เซอร์ ชาร์ลส ฟอว์เซตต์ ได้แสดงทัศนะไว้ในไป ค.ศ. 1937 ว่า ธงแกรนด์ยูเนียนแฟลกได้รับแรงบันดาลใจมาจากแบบธงบริษัทอินเดียตะวันออกอย่างแน่นอน[10] อย่างไรก็ตาม ธงของบริษัทดังกล่าวอาจมีแถบริ้วธงได้ตั้งแต่ 9 - 13 ริ้ว และธงนี้ห้ามใช้ในพื้นที่นอกมหาสมุทรอินเดีย[11] การทำธงทั้งสองผืนนั้นสามารถทำได้โดยง่ายโดยการเพิ่มแถบริ้วสีขาวลงบนธงเรดเอนไซน์ (Red Ensign) ซึ่งเป็นธงของสหราชอาณาจักรที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในอาณานิคมต่าง ๆ
มีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบริ้วสีขาวแดงของธงอาจมาจากตราอาร์มประจำตระกูลวอชิงตันของ จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นรูปโล่พื้นสีขาว มีแถบสีแดงคาดกลางตราตามแนวนอน 2 แถบ ที่ส่วนบนสุดของตราเป็นรูปดาวห้าแฉกสีแดง 3 ดวง[12] อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังไม่มีการพิสูจน์และทฤษฎีนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เพราะจอร์จ วอชิงตันไม่ได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการออกแบบธงในปี ค.ศ. 1777 และในแง่วิชาการออกแบบตราสัญลักษณ์ (heraldry) ตราและธงดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันน้อยมาก ยิ่งกว่านั้น ลำดับพัฒนาการของธงชาติสหรัฐยังถูกทำให้เข้าใจผิดว่ามาจากตรานั้นด้วย เป็นไปได้มากกว่าว่าธงสหรัฐฯ นั้นอาจมีที่มาจากธงของสมาคมลับ "ซันส์ออฟลิเบอร์ตี" (Sons of Liberty) ซึ่งเป็นธงริ้วขาวแดง 13 ริ้วเรียงสลับกันในแนวตั้ง
ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1777 คณะกรรมาธิการทหารเรือแห่งสภาคองเกรสภาคพื้นทวีปครั้งที่ 2 (Marine Committee of the Second Continental Congress) ได้ผ่านมติเรื่องธง (Flag Resolution of 1777) ซึ่งระบุว่า "อนุมัติให้ธงสหรัฐมีริ้ว 13 ริ้วสีแดงสลับขาว และที่มุมธงบนด้านคันธง (ในประกาศนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "union") ใช้รูปดาวสีขาวบนพื้นน้ำเงิน เป็นเครื่องหมายแห่งการรวมกลุ่ม (ก่อตั้งประเทศ) ขึ้นใหม่ ("Resolved, That the flag of the United States be thirteen stripes, alternate red and white; that the union be thirteen stars, white in a blue field, representing a new Constellation.")[13] สหรัฐจึงได้ถือเอาวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันธงชาตินับแต่นั้นมา
มติเรื่องธงในปี ค.ศ. 1777 นั้น อาจหมายถึงการบัญญัติธงนาวี (naval ensign) มากกว่าที่จะเป็นการบัญญัติธงชาติ (national flag) ขึ้นใช้ โดยปรากฏหลักฐานในมติอื่น ๆ ของคณะกรรมาธิการทหารเรือข้างต้น เช่น ริชาร์ด ปีเตอร์ จูเนียร์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการสงคราม (Secretary of the Board of War) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1779 ว่า "ยังไม่มีการตัดสินใจว่าธงอย่างใดจะเป็นธงประจำชาติสหรัฐ" ("it is not yet settled what is the Standard of the United States.")[14]
ในปี ค.ศ. 1795 จำนวนดาวและริ้วธงเพิ่มขึ้นจาก 13 ดวง/ริ้ว เพิ่มขึ้นเป็น 15 ดวง/ริ้ว เนื่องจากมีการรับเอารัฐเวอร์มอนต์และรัฐเคนทักกีเข้าเป็นรัฐสมาชิกสหรัฐ ทำให้ธงชาติสหรัฐไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อมีการรับเอารัฐอื่น ๆ เข้าเป็นรัฐสมาชิกในสหภาพ ซึ่งเป็นไปได้ว่าการเพิ่มริ้วและดาวในธงตามลักษณะดังกล่าวอาจทำให้ลักษณะของธงดูสับสนไม่งดงามนัก ธง 15 ดาว 15 ริ้ว แบบนี้เอง ที่ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ แต่งบทกวีชื่อ "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" ("The Star-Spangled Banner") ขึ้น และบทกวีนี้ก็คือบทร้องของเพลงชาติสหรัฐในปัจจุบัน
วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1818 สภาคองเกรสได้อนุมัติแบบแผนของธงชาติตามคำแนะนำของนาวาเอก แซมมวล ซี เรด (Samuel C. Reid) แห่งกองทัพเรือสหรัฐ[15]ในการเพิ่มจำนวนดาวในธงชาติตามจำนวนรัฐสมาชิกที่เพิ่มขึ้น (ในเวลานั้นสหรัฐมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 15 รัฐ เป็น 20 รัฐ) แต่จำนวนริ้วธงนั้นให้ลดลงมาเหลือเพียง 13 ริ้ว เพื่อเป็นเกียรติแก่อาณานิคมทั้ง 13 แห่ง ซึ่งร่วมกันก่อตั้งประเทศ ทั้งนี้ ในรัฐบัญญติดังกล่าวยังระบุด้วยว่า แบบธงชาติที่คิดขึ้นใหม่นั้นจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันชาติ (วันที่ 4 กรกฎาคม) ซึ่งเป็นวันชาติวันแรกหลังการรับรองรัฐสมาชิกใหม่ที่เข้าร่วมกับประเทศสหรัฐ ข้อความดังกล่าวถือเป็นข้อปฏิบัติสำคัญในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบธงชาติสหรัฐทุกครั้งจนถึงธงแบบที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีดาวในธงทั้งหมด 50 ดวง โดยธงนี้เริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1960 หลังมีการรับรัฐฮาวายเข้าเป็นรัฐสมาชิกลำดับที่ 50 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1959 และนับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา ธงนี้ก็ได้กลายเป็นธงชาติสหรัฐที่มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด[16]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.