Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส (ญี่ปุ่น: タツノコ VS. CAPCOM ULTIMATE ALL-STARS; อังกฤษ: Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars) เป็นเกมต่อสู้ข้ามฝั่งของระบบวี กำหนดวางจำหน่ายวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2010 ในอเมริกาเหนือ, 28 มกราคมในญี่ปุ่น, 29 มกราคมในยุโรป และ 4 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกันที่ออสเตรเลีย ทัตสึโนโกะ vs แคปคอม ถือเป็นเกมลำดับที่เจ็ดในเกมต่อสู้ซีรีส์ vs ข้ามฝั่ง ที่แคปคอมได้สร้างขึ้น (โดยนับตั้งแต่เกมตระกูลมาร์เวล vs. แคปคอม กับ แคปคอม vs. เอสเอ็นเค เป็นต้นมา) เกมนี้ได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ (ญี่ปุ่น: タツノコ VS. CAPCOM CROSS GENERATION OF HEROES) สำหรับอาเขตเซ็นเตอร์ และเครื่องเล่นเกมระบบวี (Wii) โดยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมานั้น เป็นช่วงที่แฟนเกมทั้งหลายต่างเฝ้ารอเวอร์ชันใหม่อย่าง อัลติเมตออล-สตาร์ส ในการนำลิขสิทธิ์ตัวละครใหม่จากทัตสึโนโกะโปรดัคชั่นให้เข้ามาร่วมมีบทบาทในเกม
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส | |
---|---|
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส สำหรับเครื่องเล่นเกมระบบวี | |
ผู้พัฒนา | Eighting[1] |
ผู้จัดจำหน่าย | แคปคอม |
กำกับ | ฮิเคโตชิ อิชิซาวะ[2] |
อำนวยการผลิต | เรียวตะ นิตสุมะ[3] |
ชุด | Vs. |
เครื่องเล่น | วี |
วางจำหน่าย | ในชื่อของ ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์: อาเขต: วี: ในชื่อของ อัลติเมตออล-สตาร์ส:
|
แนว | เกมต่อสู้ |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว, มัลติเพลย์เยอร์, ออนไลน์ มัลติเพลย์เยอร์[6] |
ระบบอาร์เคด | อาเขตบอร์ดฐานระบบวี[7][8] |
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม เป็นเกมที่นำเอาซูเปอร์ฮีโร่ของญี่ปุ่นจากบริษัททัตสึโนโกะโปรดัคชั่น กับตัวละครเกมจากบริษัทแคปคอมมาสู้กัน โดยผู้เล่นจะต้องพยายามน็อคคู่ต่อสู้ลงในการต่อสู้แบบตัวต่อตัวซึ่งมีสมาชิกในทีมสองราย และเกมนี้ยังถือเป็นเกมแบบ 2.5D (กึ่งสามมิติ) เกมแรกของซีรีส์ Vs. โดยตัวละครและฉากหลังมาจากการเรนเดอร์ของภาพสามมิติ ในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามในฉากการต่อสู้อิงรูปแบบเกมสองมิติ[9] การควบคุมเกมเป็นการผสมคุณลักษณะของระบบวี กับซีรีส์ Vs. ในการใช้ระบบสามปุ่มโจมตี ซึ่งรองรับการควบคุมที่ต่างกันได้ถึงห้าทางเลือก โดยมีสองรูปแบบที่เสนอการควบคุมแบบง่ายขึ้น โดย อัลติเมตออล-สตาร์ส ถือเป็นเกมได้รับคำวิจารณ์โดยทั่วไปในเชิงบวก
ทัตสึโนโกะ vs แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส เป็นเกมต่อสู้ระบบ 2.5D ที่สามารถแข่งขันกันได้โดยเป็นการทำศึกเผชิญหน้าจากการใช้ตัวละครที่หลากหลายซึ่งต่างก็มีรูปแบบการต่อสู้ในสไตล์ของตัวเอง[10] แม้ว่าตัวละครถูกสร้างขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ แต่จะเป็นการทำศึกแบบสองมิติในฉากการต่อสู้ในขณะที่เดินหน้ากับถอยหลัง หรือพุ่งขึ้นไปในอากาศ ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครหลักได้สองราย และจะเป็นการส่งตัวแทนออกมาต่อสู้แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อทำลายไลฟ์เกจ (พลังชีวิต) ของอีกฝ่ายให้หมดสิ้น[11] หากตัวละครที่ใช้อยู่ถูกทำร้าย ไลฟ์เกจจะกลายเป็นสีแดง ในช่วงนี้ผู้เล่นสามารถจะเปลี่ยนตัวละครที่ใช้อยู่ออกจากจอไปพักฟื้นได้แทบทุกเวลา เพื่อให้พาร์ทเนอร์ (ตัวละครหลักอีกตัวที่เลือกไว้) เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นการพักฟื้นพลังไลฟ์เกจให้แก่ตัวละครที่ออกไปนี้ได้ทีละน้อย และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้ามาแทนที่ใหม่ได้ตามต้องการ[12] การแข่งขันจะสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสมาชิกในทีมเหลืออยู่[11]
ตัวละครที่ปรากฏใน ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ต่างมีรูปแบบการต่อสู้แบบพื้นฐาน, ท่าไม้ตาย และสุดยอดท่าไม้ตายไฮเปอร์มูฟที่หลากหลาย[13] ผู้เล่นสามารถบังคับได้โดยการกดหนึ่งในสามปุ่มเพื่อโจมตีในระดับเบา, กลาง, หนัก ได้ตามต้องการ และสามารถเปลี่ยนรูปแบบการโจมตีในลักษณะต่าง ๆได้โดยอาศัยจอยสติ๊กหรือคอนโทรลแพดในการควบคุม ตัวอย่างเช่น การกดปุ่มต่อยหนักของตัวละครบางรายจะทำการต่อยอัปเปอร์คัท แต่หากทำพร้อมกับการก้มลงจะเป็นการเตะตัดกวาดแทน[13][14] และยังมีรูปการใช้ปุ่มเพื่อปฏิบัติการร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถใช้ขณะเปลี่ยนตัวกับพาร์ทเนอร์มาเป็นผู้ช่วยในการโจมตี หรือใช้การโจมตีที่เรียกว่าเทคนิค "บาโรกคอมโบ" ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการกดปุ่มโจมตีแบบต่อเนื่องได้อีกด้วย[10][15] เมื่อผู้เล่นทำการโจมตีหรือถูกโจมตี เกจไฮเปอร์คอมโบจะสะสมเพิ่มขึ้นทีละน้อย โดยเกจนี้จะสามารถเพิ่มระดับไปจนถึงระดับห้า และเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เทคนิคพิเศษของเกมนี้[11]
ระบบการเล่นเป็นอย่างเดียวกับเกม มาร์เวล vs. แคปคอม โดยตัวละครจะสามารถเรียกพาร์ทเนอร์ให้มาเป็นผู้ช่วยในขณะที่เปลี่ยนตัวได้ ตัวละครที่มีอยู่สามารถทำแท็คทีมกับตัวละครอื่นได้ การเรียกผู้ช่วยให้เข้ามาจู่โจมเรียกว่า "วาริเอเบิลแอทแทค" ส่วนการเรียกพาร์ทเนอร์ออกมาช่วยโจมตีขณะที่ตัวละครเดิมกำลังทำการบล็อกก่อนเปลี่ยนตัวออกเรียกว่า "วาริเอเบิลเคาท์เตอร์"[16] สำหรับ "สแนปแบ็ค" คือการโจมตีที่รุนแรง ในขณะฝ่ายตรงข้ามกำลังควบคุมตัวละครอยู่ (แต่สามารถใช้วิธีนี้ได้เพียงสามตัวละครเท่านั้น) ส่วน "ไฮเปอร์ วาริเอเบิล คอมบิเนชั่น" จะเป็นการให้เพื่อนในทีมของเราออกมาใช้ไฮเปอร์คอมโบพร้อมกันได้ โดยอาศัยเกจไฮเปอร์คอมโบที่สะสมตั้งแต่ระดับสามขึ้นไปจึงจะใช้ได้ ขณะเดียวกัน "ดีเลย์ ไฮเปอร์ แคนเซิลเลชั่น" จะเป็นการยกเลิกการใช้ไฮเปอร์คอมโบของพาร์ทเนอร์ดังที่กล่าวมา[16] และเมื่อส่งคู่ต่อสู้ให้ลอยขึ้นไปบนอากาศแล้วเราสามารถใช้ "แอร์คอมโบ" จู่โจมต่อเนื่องกลางอากาศได้เช่นกัน[17] เมื่อการตั้งการ์ดในขณะโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นสามารถบังคับให้ทำการ"ครอสโอเวอร์ เคาน์เตอร์"ได้ ซึ่งจะเป็นการให้พาร์ทเนอร์เข้ามาต้านทานคู่ต่อสู้ให้กับเรา และสามารถทำให้เขาหรือเธอสับเปลี่ยนให้พาร์ทเนอร์เข้ามาสู้แทนได้[15] เมื่อพาร์ทเนอร์สามารถเข้ามาช่วย สมาชิกในทีมก็สามารถใช้ตัดจังหวะได้ตามต้องการ ซึ่งจะให้ตัวละครใช้ท่า"ครอสโอเวอร์แอทแท็ค"ขณะเข้ามาได้[12] ผู้เล่นสามารถนำพาร์ทเนอร์ออกชั่วขณะในช่วงของการทำ"ครอสโอเวอร์แอสซิสท์"โจมตีแบบย่อย หรือ"ครอสโอเวอร์คอมบิเนชั่น"เมื่อสมาชิกคนหนึ่งในทีมกำลังใช้ท่าไฮเปอร์มูฟโดยเกิดขึ้นพร้อมกันได้อีกด้วย
ยังมีเทคนิคสากลรายการใหม่ที่ถูกพบในเกม[18][19] อย่าง"ครอสโอเวอร์ แอร์เรด" ที่สามารถเปลี่ยนให้ตัวละครพาร์ทเนอร์ขณะอยู่กลางอากาศและเข้ามาร่วมโจมตีทางอากาศได้ ส่วน"เมก้าแครช" เป็นกลยุทธในการระเบิดพลังเพื่อต้านการโจมตีต่อเนื่องจากฝ่ายตรงข้าม โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อใช้เทคนิคนี้แล้วจะลดเกจสะสมไปสองแถบและไลฟ์เกจบางส่วน[16] ในช่วงแรกของการสร้างเกมนี้ มีเทคนิคการโจมตีที่เรียกว่า"แอสเซาส์" ซึ่งเป็นส่วนแทนของเทคนิคเมก้าแครช[7] สำหรับ"บาโรกแคนเซิล"นั้น เป็นรูปแบบที่ตัวละครเปล่งแสงในขณะที่ฟื้นพลังชีวิตบางส่วนของตัวละคร โดยจะกระตุ้นให้ยกเลิกโหมดเคลื่อนไหวจู่โจม แบ่งไปให้ผู้เล่นได้โจมตีต่อเนื่องมากกว่าความเกี่ยวพันถึงความรุนแรง เพื่อให้จำนวนรวมของแถบพลังชีวิตสีแดงได้ฟื้นพลังต่อไป[10][20] ทั้งนี้ บาโรกจะหยุดลงต่อเมื่อตัวละครหยุดหรือกำลังใช้ไฮเปอร์มูฟอยู่
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ สำหรับระบบวี จะมีโหมด"อาเขต" ที่ผู้เล่นต้องทำศึกกับคอมพิวเตอร์ซึ่งควบคุมอยู่ฝ่ายตรงข้ามอยู่หลายด่านกระทั่งถึงบอสซึ่งคือ ยามิ จาก โอกามิ, ส่วนโหมด"ไทม์แอทแทค" กับโหมด"เซอร์ไววอล" จะเป็นการบังคับให้ผู้เล่นต้องกำจัดตัวละครทุกตัวในเกม โดย"เซอร์ไววอลโหมด"นั้น จะมีพลังชีวิตที่จำกัด ส่วน"ไทม์แอทแทค" จะเป็นการเล่นแบบทำสถิติเวลา นอกจากนี้ยังมีการปลดล็อกตัวละครลับ, ปรับแต่งรูปแบบเครื่องแต่งกาย, ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครในเกม, ภาพยนตร์, ภาพวาดประกอบ, เพลงประกอบสำหรับใช้ในโหมดแกลเลอรี่ กับมินิเกมต่าง ๆที่สามารถใช้เงินในเกมซื้อได้ และยังมีโหมดที่สามารถเล่นได้หลายคน โดยโหมด Vs. จะเป็นการเล่นแบบสองคนพร้อมกัน และมีเกมแบบดั้งเดิมไปจนถึงแบบเล่นสี่คนแข่งกันในมินิเกม[21] มันเป็นโหมดเกมที่ทดแทนโหมดอาเขตสำหรับผู้เล่นที่ต้องการเลือกรูปแบบให้ต่างไปจากเดิม[7]
อัลติเมตออล-สตาร์ส เป็นเวอร์ชันที่มีโหมดเกมมากที่สุด หากมองเทียบกับครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์สำหรับระบบวี ซึ่งยกเว้นออริจินอลเกม ส่วนอัลติเมตออล-สตาร์ส มีมินิเกมยานยิงเกมใหม่เรียกว่า "อัลติเมต ออล-ชูตเตอร์"[22][23] และยังมีมุมมองพิเศษแบบใหม่ที่เห็นใน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ สำหรับระบบวี ประกอบด้วยการเล่นแบบออนไลน์หลายคนที่เรียกว่า วีไอเอ นินเทนโด ไว-ไฟ คอนเนคชั่น[6] ที่ผู้เล่นหลายคนสามารถแข่งขันกันได้ร่วมกันกับเพื่อนที่ลงทะเบียนแล้ว, ผู้มีส่วนร่วมแบบเลือกสุ่มหรือฝ่ายตรงข้ามที่ได้ลงทะเบียนแล้ว และในส่วนที่เพิ่มขึ้น ผู้เล่นสามารถเลือกสุ่มคู่ต่อสู้ให้มาอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ด้วยตัวเอง โดยจะเห็นได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ซึ่งจะผันผวนไปตามผลของแพ้-ชนะ และฝ่ายตรงข้ามสามารถเพิ่มบัญชีรายชื่อคู่ต่อสู้สำหรับการแข่งขันในช่วงต่อไปได้[24]
สำหรับตัวเกมจะมีการเลือกการบังคับได้ถึงห้ารูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย การใช้คลาสสิกคอนโทรลเลอร์, นินเทนโดเกมคิวบ์คอนโทรลเลอร์, เทิร์ธปาร์ตี้เกมสติ๊ก กับอีกสองการควบคุมที่ทำให้ง่ายขึ้นคือ การใช้วีรีโมทกับนุนชะคุ และการใช้วีรีโมทโดยลำพัง[6][10] โดยสองรายการหลังได้อนุญาตให้เกมเมอร์ที่ยังไม่มีประสบการณ์สามารถหยิบมาเล่นแบบ พิก-อัป-แอนด์-เพลย์ได้ แต่ระดับการควบคุมบางอย่างจะลดลงไป[10] เกมประกอบทางเลือกการใช้ปุ่มสำหรับผู้เล่น โดยอิงความนิยมตามรูปแบบของเกมแพดชนิดต่าง ๆ
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส มีตัวละครทั้งสิ้น 26 ตัว ซึ่งใน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ ของระบบอาเขตเดิมนั้น จะมีตัวละครต้นฉบับอยู่ 18 ราย และเพิ่มขึ้นมาเป็น 22 รายในการวางจำหน่ายสำหรับระบบวี และบัญชีรายชื่อของอัลติเมตออล-สตาร์ส ยังมีส่วนคล้ายกับของเดิมที่จัดแบ่งตัวละครอย่างลงตัวระหว่างทัตสึโนโกะกับแคปคอม โดยในการสัมภาษณ์ เรียวตะ นิตสุมะ ได้อธิบายว่าตัวละครดังกล่าวได้ถูกเลือกจากบัญชีรายชื่อโดยอิงกระแสความนิยมเป็นหลัก[25]
ภายในเกมยังมีตัวละครพิเศษที่มีขนาดใหญ่โตและมีพลังในการโจมตีที่รุนแรงอีกสองราย ซึ่งได้แก่โกลด์ไลตัน จากฝั่งทัตสึโนโกะ กับPTX-40A จากฝั่งแคปคอมเท่านั้นที่ต่อสู้ตามลำพังโดยลักษณะฉายเดี่ยว[10] ทั้งยังมีตัวละครเสริมที่ไม่สามารถเลือกเล่นเป็นตัวละครหลัก เข้ามาเป็นผู้ช่วยอีกหลายรายในส่วนของการจู่โจมบางรูปแบบ อย่างเช่นแคชเชิร์น จะมี"เฟรนเดอร์" เข้ามาเป็นผู้ช่วยขณะใช้ท่าไม้ตาย และไฮเปอร์คอมโบ ส่วนโดรอนโจจะมี"โบยัคกี้" (ให้เสียงพากย์โดยโจจิ ยานามิ) กับ"ทอนซูระ" (ให้เสียงพากย์โดยคาซูยะ ทาเตะคาเบะ) เข้ามาเป็นผู้ช่วย[10][26]
ตัวละครฝั่งทัตสึโนโกะ | ต้นกำเนิด[27] | ผู้ให้เสียงพากย์[26][28] | ตัวละครฝั่งแคปคอม | ต้นกำเนิด[27] | ผู้ให้เสียงพากย์[26][28] |
---|---|---|---|---|---|
เคน เดอะอีเกิ้ล | กัชช่าแมน | คัทสุจิ โมริ | ริว | สตรีทไฟท์เตอร์ | ฮิโรกิ ทากาฮาชิ |
จุน เดอะสวอน | กัชช่าแมน | คาสุโกะ ซุกิยามะ | ชุนลี | สตรีทไฟท์เตอร์ II | ฟูมิโกะ โอริกาสะ |
แคชเชิร์น | แคชเชิร์น | ไดสุเกะ โอโนะ | อเล็กซ์ | สตรีทไฟท์เตอร์ III | ฮิโรกิ ยาสุโมโต้ |
เทคก้าแมน | เทคก้าแมน | คัทสุจิ โมริ | มอริแกน ไอน์สแลนด์ | ดาร์คสทอล์คเกอร์ | ยาโยอิ จินกูจิ |
พอลิเมอร์ | เฮอร์ริเคน พอลิเมอร์ | คุนิฮิโกะ ยาสุอิ | บัตสึ | ลีเจี้ยน ออฟ ฮีโร่ส์ | โนบุยูกิ ฮิยามะ |
ยัตต้าแมน-1 | ยัตต้าแมน | เอริ คิตามูระ | ร็อก วอลนัท | ร็อคแมน DASH ซีรีส์ | มายูมิ ทานากะ |
คาราส | คาราส | เอ็นโด้ ไดจิ | ไคจิน โน โซกิ | โอนิมูฉะ ดาวน์ออฟดรีม | โทชิยูกิ คุซูดะ |
โดรอนโจ | ยัตต้าแมน | โนริโกะ โอฮาระ | โรล | ร็อคแมนซีรีส์ | ฮิโรมิ อิการาชิ |
ฮาคุชอน ไดเมียว12 | จินนี่ แฟมิลี่ | โทรุ โอฮิระ | ซากิ โอโมกาเนะ1 | ควิซ นานาริโอ้ ดรีมส์ | โยโกะ ฮอนนะ |
อิปปาสุแมน1 | กาคุเทน! อิปปาสุแมน | มิยาสุกิ คาโต้ | วิวติฟูล โจ1 | วิวติฟูล โจ | ชินจิ คาวาดะ |
โกลด์ไลตัน | โกลด์ไลตัน | อิเซอิ ฟุตามาตะ | PTX-40A | ลอสท์ พลาเน็ต: เอกซ์ตรีม คอนดิชั่น | — |
เทคก้าแมนเบลด13 | เทคก้าแมนเบลด | โทชิยูกิ โมริกาว่า | แฟรงค์ เวสท์13 | เดธ ไรซิ่ง | ปีเตอร์ วอง กอม |
โจ เดอะคอนดอร์13 | กัชช่าแมน | อิซาโอะ ซาซากิ | ซีโร่13 | ร็อคแมน X ซีรีส์ | เรียวทาโร โอกิอะยุ |
ยัตต้าแมน-213 | ยัตต้าแมน | เอมิริ คาโต้ |
^1 ฮาคุชอน ไดเมียว, อิปปาสุแมน, เทคก้าแมนเบลด, โจ เดอะคอนดอร์, ยัตต้าแมน-2, ซากิ โอโมกาเนะ, วิวฟูล โจ, แฟรงค์ เวสท์ และ ซีโร่ เป็นตัวละครที่ปรากฏในระบบวี[29]
^2 ฮาคุชอน ไดเมียว สามารถเล่นได้เฉพาะภาค ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ เท่านั้น[30]
^3 เทคก้าแมนเบลด, โจ เดอะคอนดอร์, ยัตต้าแมน-2, แฟรงค์ เวสท์ และ ซีโร่ สามารถเล่นได้เฉพาะภาค อัลติเมตออล-สตาร์ส เท่านั้น[6][31][32]
แนวคิด ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม เริ่มขึ้นเมื่อ ทางบริษัททัตสึโนโกะได้เข้าเชิญให้แคปคอมร่วมพัฒนาเกมโดยให้ตัวละครที่มีอยู่ เรียวตะ นิตสุมะถึงกับรู้สึกตื่นเต้นกับการผลิตเกมต่อสู้นี้ขึ้นมา ในขณะที่ผู้จัดทำเองก็คิดว่ามันเหมาะสมมากกว่าด้วยซ้ำที่ตัวละครของทัตสึโนโกะจะกลายเป็นเกม Vs. ที่น่าสนใจยิ่งกว่าสตรีทไฟท์เตอร์[33] แคปคอมประกาศว่านี่เป็นเกมลำดับที่เจ็ดของเกมต่อสู้ซีรีส์ Vs. โดยให้ชื่อว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ (Tatsunoko vs. Capcom: Cross Generation of Heroes) สำหรับระบบอาเขตของญี่ปุ่น โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 เกมได้สร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 70% และได้ประกาศว่าจะใช้สำหรับเครื่องวี ในญี่ปุ่น[34] การเลือกตัวละครโดยทีมพัฒนาเป็นไปอย่างรอบคอบจนเป็นที่น่าพอใจสำหรับเกมต่อสู้ โดยการเลือกตัวละครในฝั่งทัตสึโนโกะได้มาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่อยู่ในแต่ละสังกัด[35] ซึ่งทางแคปคอมได้ปิดไว้เป็นความลับเกี่ยวกับการเลือกตัวละครนี้ก่อนถึงเวลาวางจำหน่าย[36][37]
เกมมีระบบการควบคุมที่แตกต่างจากซีรีส์สตรีทไฟท์เตอร์กับเกมต่อสู้ทั้งหลายที่มีอยู่แต่ก่อน การควบคุมอาศัยสามปุ่มควบคุมการโจมตี (เบา, กลาง, หนัก) ซึ่งมีตั้งแต่การพัฒนาสำหรับระบบวีโดยคำนึงถึงความเป็นเกมต่อสู้ รวมถึงความสามารถในการใช้ท่าไม้ตาย และการควบคุมแบบทั่วไปเป็นสำคัญ[38] ในช่วงต้นของการสร้างเกมได้ประกอบเทคนิคการต้าน "แอสเซาส์", โดยบางส่วนได้รวมตัวกันกลายเป็นเทคนิคเมก้าแครชเข้ามาแทนที่[7] ซึ่งการใช้เมก้าแครชนี้อาจนับได้ว่าเป็นการใช้เทคนิคแอสเซาส์รูปแบบหนึ่ง[6]
ความที่ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีกราฟิกลักษณะพิเศษที่เหมาะกับเครื่องวีโดยเฉพาะ อาจทำให้การผลิตเกมนี้สำหรับเครื่องคอนโซลอื่นจำเป็นต้องสร้างเกมนี้ขึ้นมาใหม่อย่างละเอียดสำหรับคอนโซลนั้น ๆ ตามที่ทางผู้ผลิตได้วางแผนไว้ในเบื้องต้น และแคปคอมจะเพิ่มการวัดผลสำรวจถึงกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้ด้วย[39] พวกเขาคิดว่าเหล่าเกมเมอร์คงจะลงทุนซื้อ อาเขตจอยสติ๊ก (จอยโยก) มาใช้เล่นในเกมนี้[30]
เมื่อได้ทำการคัดเลือกตัวละคร ทีมพัฒนาต่างมีอิสระที่จะเลือกรูปแบบที่ต้องการเห็นในเกมต่อสู้ ตัวอย่างเช่น การเลือกตัวละครในช่วงท้ายก็ให้กลุ่มเยาวชนในสังกัดของพวกเขาได้ช่วยดู[35] อย่างไรก็ตาม ทีมงานก็ได้พบกับข้อจำกัดในการคัดเลือกจากรายชื่อของฝั่งทัตสึโนโกะ โดยระบุว่าได้พิจารณาถึงเรื่องการมอบสิทธิ์ ซึ่งเรียวตะ นิตสุมะได้อธิบายไว้ว่า "ครั้งหนึ่งเรามีรายชื่อที่ทีมงานต้องคิดให้ออกว่าจะทำให้เกิดความสมดุลกับลักษณะของเกมต่อสู้ได้อย่างไร ในเบื้องต้นเราต้องการความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างตัวละครชายกับหญิง" และยังได้เน้นไปยังตัวละครหลักไม่น้อยไปกว่าเหล่าวายร้าย บางตัวละครไม่ได้รับการอนุมัติจากทัตสึโนโกะโปรดักชัน ด้วยเหตุผลที่ไม่เคยอธิบายให้ทางแคปคอมได้รับรู้ โดยเรียวตะ นิตสุมะ กล่าวว่า"เราไม่ล้วงถึงความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินการของพวกเขา พวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลกับพวกเรามากนัก เมื่อพวกเขากล่าวว่าไม่ และเราถามว่าทำไม พวกเขาก็ไม่บอกเราอยู่ดี แต่เขาก็ให้เราเสนอข้อแนะนำอื่นได้" โดยตัวละครจากการ์ตูนชุดเจเนซิสคลิมเบอร์ มอสปีดา และสามเหมียวยอดนินจา ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ได้รับการเรียกร้องมากที่สุดจากแฟน ๆ ได้ขาดหายไป[40]
ฉากที่ปรากฏในทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีการจำลองรูปฉากที่ปรากฏในวิดีโอเกมของแคปคอม รวมทั้งมีการจำลองรูปแบบฉากที่ปรากฏในการ์ตูนของทัตสึโนโกะ เช่น เมืองลับแลจีน เป็นฉากหมู่บ้านที่อยู่หลังหุบเขาซึ่งจำลองมาจากฉากเกมสตรีทไฟท์เตอร์, เรือบิน เป็นฉากภายในเรือบินลอยฟ้าลำใหญ่จากเกมร็อคแมนแดช, โบราณสถานพินาศ เป็นฉากซากอาคารแบบตะวันตกที่ถูกทำลายจากซีรีส์แคชเชิร์นโรบอท เป็นต้น
เดิมที ทางแคปคอมไม่ได้ตั้งใจที่จะวางจำหน่าย ทัตสึโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ออกนอกประเทศญี่ปุ่น แต่จากการตอบรับของแฟนเกมส่งผลให้ทางแคปคอมต้องพยายามร้องขอนำลิขสิทธิ์ตัวละครของทัตสึโนโกะไปทำเป็นเวอร์ชันต่างประเทศ ทว่า จากการคำนวณหลายประการของทัตสึโนโกะคิดว่าคงไม่เหมาะที่จะไปปรากฏอยู่ในฝั่งอเมริกาเหนือ อย่างเช่น ไทม์ วอร์เนอร์[35][41] เรียวตะ นิตสุมะ ได้อ้างถึงการดำเนินสิทธิในการครอบครองตัวละครค่อนข้างยากลำบากและซับซ้อน สำหรับแต่ละตัวละครในช่วงเวลาต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้มีกระบวนการจัดทำแยกในแต่ละส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะ โดยสิ่งที่ได้ปรับแก้ในอเมริกาก็มีการตรวจจัดทำในยุโรปเช่นกัน[30] และในส่วนอื่นก็มีความเป็นไปได้ของ Eighting ซึ่งเป็นนักพัฒนาที่ทางแคปคอมได้ว่าจ้างไว้ว่ายุ่งกับโครงการอื่นอยู่หรือไม่[1] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 คริสเตียน สเวนสัน รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและแผนกลยุทธ์ของแคปคอมได้กล่าวเน้นว่า "จะไม่มีการออกกฎตายตัว" และทางบริษัทได้พยายามดำเนินการด้านลิขสิทธิ์และทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนี้อย่างเต็มที่[1] และฉากจบของตัวละครได้ถูกวาดใหม่โดย UDON ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สร้างหนังสือคอมิกส์ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้แทนที่ฉากจบอนิเมทที่มีอยู่เดิม[42]
ทีมพัฒนาได้ค้นหาตัวละครอย่าง ฟีนิกซ์ ไวร์ท กับ ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า จากเกม แอซ แอททอร์นนี่ (หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "เกมทนาย") ให้มาอยู่ในเกม ซึ่ง ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า นั้นทำได้ง่ายเพราะเธอใช้แส้ สำหรับ ฟีนิกซ์ พวกเขาได้หาท่าทางการต่อสู้ที่นอกเหนือไปจากท่าชี้นิ้วสั่งการ อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาจะได้ท่าโจมตีด้วยวลีเด็ดที่ว่า"อิกิอาริ!"(ซึ่งหมายถึง "คัดค้าน!") โดยใช้ถ้อยอักษรในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม เขาพบว่าต้องเปลี่ยนตัวอักษรคันจิสี่ตัว มาเป็นตัวอักษรสิบตัวในภาษาอื่น ซึ่งแลดูไม่ค่อยสมดุลในเกมเท่าใดนัก[43]
ทางแคปคอมได้ลงรายการ "เกมลับ" 2 เกมในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน อิเล็คทรอนิกส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เอกซ์โป 2009 (E3 2009) [45] "เกมลับแคปคอม #1" ได้เปิดเผยในนิตยสาร นินเทนโดพาวเวอร์ ว่าจะให้ชื่อซับไตเติลของ ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ในโซนอเมริกาเหนือกับยุโรปว่า "อัลติเมตออล-สตาร์ส" ซึ่งสามารถเล่นได้ที่บูธของบริษัท[46] ส่วนการวางจำหน่ายในโซนยุโรปและออสเตรเลียได้มีประกาศในภายหลัง[47] ทางแคปคอมได้เน้นย้ำว่าจะวางจำหน่ายเกมเวอร์ชันนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ในอเมริกาเหนือ โดยมีมินิเกมที่หลากหลาย, การเสริมระดับของสตอรี่โหมด และระบบไว-ไฟที่รองรับการเล่นเกมแบบออนไลน์ได้ นอกจากนี้ รายชื่อตัวละครได้เพิ่มมาอีกห้าตัว แต่ตัวละครจากทัตสึโนโกะหนึ่งตัวซึ่งได้แก่ ฮาคุชอน ไดเมียว จะหายไป[48] อย่างไรก็ตาม ทางแคปคอมได้เข้ามาแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ในภายหลัง เนื่องจากไม่ถูกต้องและได้กล่าวว่าพวกเขาต่าง "เฝ้ามองการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ในเกม รวมทั้งเป็นไปได้ที่จะเพิ่มอีกหลายตัวละครจากทั้งฝั่งแคปคอมและทัตสึโนโกะ และมีการสำรวจหาทางเลือกสำหรับการเล่นเกมออนไลน์"[49][50]
ฮิเดโตชิ อิชิซาว่า ซึ่งเป็นผู้กำกับได้ยอมรับว่า เช่นเดียวกับที่ ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ซึ่งไม่ได้วางแผนไว้ในขั้นแรกว่าจะวางจำหน่ายในต่างประเทศ และฉบับ อัลติเมตออล-สตาร์ส ก็ได้ไม่ได้วางแผนไว้สำหรับจำหน่ายในญี่ปุ่น จากการเรียกร้องของแฟนเกมและทีมวิจัยและพัฒนาในท้ายที่สุดผลก็ได้ดังหวัง มีการประกาศว่าเกมฉบับดังกล่าวได้ปรับปรุงให้สามารถวางขายในฝั่งญี่ปุ่นได้[2] ในช่วงต้นของงาน 2009 โตเกียวเกมโชว์ ทางแคปคอมได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเป็นระยะๆเกี่ยวกับสิ่งใหม่ แม้ว่าจะมีข่าวรั่วไหลจากสำนักงานของญี่ปุ่นในโค้ดจาวาสคริปต์ออกมาให้เห็นอยู่ก่อนก็ตาม[32][51] ตัวละครแทบทุกตัวที่สามารถเล่นได้ในระบบวีฉบับดั้งเดิม ก็สามารถเลือกเล่นได้ในเกมชุดใหม่นี้ด้วย โดยยกเว้นเพียงฮาคุชอน ไดเมียว รายเดียวเท่านั้น[30]
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับระบบวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของกราฟิกที่เป็นตัวยับยั้งการแปลงเกมสู่ระบบอื่นโดยปราศจากการสร้างเกมขึ้นมาใหม่[52] เกมได้รับการพัฒนาสำหรับระบบวีตั้งแต่ทางผู้ผลิตต้องการให้แต่ละระบบคอนโซลได้มีเกมต่อสู้[40] ทางผู้ผลิตได้แนะนำถึงผลสืบเนื่องที่มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม และแคปคอมได้วัดกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้เป็นครั้งแรก[52] พวกเขาคิดว่าถ้าเหล่าเกมเมอร์ลงทุนซื้ออาเขตสติ๊กสำหรับใช้กับเกมนี้ ซึ่งมันอาจถือได้ว่าเป็น "การสร้างความเสียหายสำหรับแฟนเกม" ที่จะไม่ผลิตเกมเพิ่มเติม[30] เซธ คิลเลี่ยน ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมชนของแคปคอมได้เน้นย้ำว่าหากเกมได้รับการต้อนรับจากแฟนเกมเช่นเดียวกันนั้น ก็จะมีการแปลงเกมเป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับเกมในโครงการอื่นด้วยเช่นกัน[53]
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส จำหน่ายพร้อมกับคันบังคับแบบอาเขตของแมดแคทส์ หรือแบบแผ่นเกมเพียงอย่างเดียว สำหรับคันบังคับแบบอาเขตนี้เป็นผลงานออกแบบของนักออกแบบชื่อดังอย่าง ชินคิโร่ ซึ่งเป็นนามปากกาของ "โทชิอากิ โมริ" ผู้เป็นเจ้าของผลงานการออกแบบตัวละครจากเกมของบริษัท SNK ในอดีตปรากฏอยู่ด้วย[54] โดยได้รับการสั่งจัดทำล่วงหน้าโดยเกมสตอป ผู้เป็นบริษัทค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา โดยมีการ์ดสะสมแปดลายจากสิบสองแบบ ด้วยการจัดพิมพ์แบบภาพสามมิติประกอบด้วย[55] และทางแคปคอมเจแปนออนไลน์สโตร์เองก็ได้เสนอซีดีเพลงที่มีสี่แทร็คเสียงจากเกมและเกมเวอร์ชันก่อนหน้า ตลอดจนมีสมุดส่งเสริมการขายไฟล์ลับฉบับที่ยี่สิบเจ็ดมาสร้างแรงจูงใจในการซื้ออีกด้วย[56] สำหรับในเวอร์ชัน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ มีเพลงโอเพนนิ่งชื่อ "อะครอสเดอะบอร์เดอร์" ที่ขับร้องโดยอาซามิ อาเบะ[57] ในขณะที่เวอร์ชันภาษาอังกฤษอย่าง อัลติเมตออล-สตาร์ส มีการให้เสียงร้องโดยแอนนา โกลสตอน พร้อมด้วยเจมส์ ซี.วิลสันขับร้องจังหวะแร็ปในฉากเปิดเกม รวมทั้งธีมซองของโรลจังในเวอร์ชันญี่ปุ่นและอังกฤษที่เป็นธีมซองของโรลจัง[56][58] สมุดคู่มือไฟล์ลับ ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1996 ถึง 1999 ที่มีอยู่ 26 เล่ม ได้มีการรวบรวมแนวคิดของงานอาร์ทเวิร์ก และได้บันทึกถึงการออกแบบสำหรับเกมที่พวกเขาได้ออกจำหน่ายด้วย[59]
การเปิดตัวอย่างเป็นทางการจัดขึ้นที่นินเทนโดเวิลด์สโตร์ในร็อกกีเฟลเลอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2010 โดยจุดเด่นภายในงานคือการแจกลายเซ็นของเรียวตะ นิตสุมะ, การแจกของรางวัลและการแข่งขัน แฟนเกมหลายร้อยรายที่เฝ้าคอยได้เข้าร่วมกิจกรรมในเวลา 11:00 - 15:00 น. โดยพวกเขาสามารถทดลองเล่นเกมก่อนการวางจำหน่ายจริงได้[60]
เซธ คิลเลียน ได้แสดงความพึงพอใจความพึงพอใจสำหรับการวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือของเวอร์ชัน อัลติเมตออล-สตาร์ส จึงคาดได้ว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม น่าจะเป็นเกมที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้อย่างแน่นอน แม้ว่าเกมนี้จะมิได้รับการบันทึกความสำเร็จอย่างรวดเร็วในพื้นที่ใด ๆ อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็นับว่าประสบความสำเร็จ" นั่นเป็นสิ่งที่คิลเลี่ยนกล่าวไว้ "และสามารถบอกได้จริง ๆ ถึงการพิจารณาบางสิ่ง ว่าเรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับเกมนี้ ที่ไม่เพียงแต่เป็นเกมที่ไม่เคยมีมา หากแต่จะเป็นรายการที่มีผู้คนส่วนใหญ่ถึงกับอ้าปากค้าง"[61] โดยเวอร์ชันอัลติเมตออล-สตาร์ส ที่ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างยอดจำหน่าย 10,583 ชุดในสัปดาห์แรก และในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ก็ได้สร้างยอดจำหน่ายสูงถึง 62,805 ชุด[62]
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส ได้รับการวิจารณ์ในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86 จากการรวบรวมเว็บไซต์เมตาคริทิคและเกมแรงกิงส์[63][64]
เว็บไซต์เกมเทรเลอร์ส ได้ยกย่องถึงรูปแบบเกมที่เข้าถึงได้ง่ายรวมไปถึงเนื้อหาสาระในส่วนเพิ่มเติม[67] นิตยสารทางการของนินเทนโด ได้กล่าวยกย่องกราฟิกเซล-เชดด์และรายชื่อตัวละครที่มีจำนวนมาก[68] นิตยสารนินเทนโดพาวเวอร์ ได้กล่าวยกย่องชื่อของเกม แต่ทางนิตยสารเองรู้สึกเสียดายอยู่บ้างที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วนจากฉบับครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโรส์ รายการโทรทัศน์เอกซ์-เพลย์ ได้ให้รางวัลแก่อัลติเมตออล-สตาร์ส ด้วยคะแนนเต็ม 5 และกล่าวว่าเป็นหนึ่งในเกมที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุดสำหรับนักเล่นเกมต่อสู้ในวันนี้ เอ็นเกมเมอร์ให้คะแนน 85 จาก 100 คะแนนและกล่าวยกย่องในความหลากหลาย ตลอดจนภาพที่สวยงามกับระบบการควบคุมที่ง่ายต่อการเข้าถึงทั้งผู้เล่นใหม่และแฟนเกมชุดเดิมของเกมประเภทนี้[69]
ส่วนนิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์ของสหรัฐอเมริกาให้คะแนนเกมนี้ 8 จาก 10 คะแนน และไอจีเอ็นให้คะแนน 9.0 จาก 10 คะแนน[70] ดาโกตา กราบาวสกี จากเกมโซนส์ให้เรตติงเกมนี้ 8.5 จาก 10 และกล่าวว่า "แฟนเกมแนวต่อสู้จะต้องหยิบเกมนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะมีตัวละครเพิ่มเติมสำหรับระบบนินเทนโดวี"[71]
นิตยสารแฟมิซือของญี่ปุ่น ให้คะแนนเกม ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ 32 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน โดยกล่าวว่าแม้รูปแบบการเล่นของเกมอาจราบเรียบไปบ้าง เนื่องจากผู้มีทักษะด้านเกมรู้สึกราวกับว่ากลับไปเล่นในเกมต่อสู้แบบเก่า อย่างไรก็ดีนักวิจารณ์ได้ระบุด้านดีของความหลากหลายของตัวละครและระบบการต่อสู้ของเกมที่เป็นจุดแข็ง[72] เมื่ออัลติเมตออล-สตาร์ส ได้เปิดตัวครั้งแรกในงาน อีทรี 2009 (E3 2009) ก็สามารถคว้ารางวัลเกมประเภทต่าง ๆ ได้หลายรางวัล[73] และได้รับรางวัลเกมคริทิกส์ในสาขา"เกมต่อสู้ยอดเยี่ยม" ด้วยเช่นกัน[74]
บริษัทแคปคอมยังได้จัดทำเพลงประกอบสำหรับเกม อัลติเมตออล-สตาร์ส โดยให้ชื่อชุดเพลงประกอบนี้ว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส โวคอลแทรกส์ (Tatsunoko vs. Capcom Ultimates All-Stars Vocal Tracks) ซึ่งผลิตขึ้นมาในจำนวนจำกัดในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยเพลงหลักจากเกมจำนวนสี่เพลง ได้แก่:[75]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.