Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตุ่มน้ำของต่อมบาร์โทลิน (อังกฤษ: Bartholin's cyst) เกิดขึ้นจากการอุดตันของต่อมบาร์โทลินในแคมของปากช่องคลอด[1] ตุ่มร้ำขนาดเล็กอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และหากเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่อาจก่อใเชห้เกิดปากช่องคลอดโตข้างเดียว ไปจนถึงอาการเจ็บขณะเดินหรือมีเพศสัมพันธ์[1] อาจเกิดหนองได้หากติดเชื้อในถุงน้ำ ซึ่งมักเป็นสีแดงและเจ็บมาก[2] หากไม่มีอาการอะไร โดยัท่วไปก็ไม่จำเป็นต้องรักษา[2][1] ตุ่มน้ำนี้สามารถพบได้ใน 2% ของสตรีในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต[2]
ตุ่มน้ำของต่อมบาร์โทลิน | |
---|---|
ชื่ออื่น | บาร์โทลินอักเสบ (Bartholinitis), Bartholin's duct cyst, หนองบาร์โทลิน (Bartholin's abscess) |
บาร์โทลินซิสต์ที่ด้านขวา | |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | ปากช่องคลอดบวมข้างเดียว, เจ็บ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | หนอง[2] |
สาเหตุ | โดยทั่วไปไม่ทราบ[1] |
วิธีวินิจฉัย | ตามอาการและการตรวจร่างกาย[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | เซบาเชียสซิสต์, ไส้เลื่อน, hidradenitis suppurativa, รูขุมขนอักเสบ, มะเร็งวัลวาร์[3][4] |
การรักษา | ผ่าเปิดและระบาย, ผ่าเปิดแบบกระเป๋าหน้าท้อง, ซิตซ์บาธ[3][1] |
ความชุก | 2% ในสตาร[2] |
หากตุ่มน้ำก่อความระคายเคืองหรือเจ็บ แพทย์อาจแนะนำให้เจาะระบายถุงน้ำ[2] วิธีที่นิยมคือการใส่สายสวนเวิร์ดสี่สัปดาห์ ในขษะที่การผ่าระบายก็มีทำทั่วไปเช่นกัน[2][3] นอกจากนี้อาจใช้หัตถการที่เรียกว่าการผ่าเปิดแบบกระเป๋าหน้าท้อง หรืออาจตัดทั้งต่อมบาร์โทบินหากอาการยังคงอยู่[2] โดยทั่วไปแล้วไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคนี้[2]
โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของตุ่มน้ำบาร์โทลินไม่เป็นที่ทราบ[1] หนองที่เกิดขึ้นตามมาเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่โดยมากไม่ใช่การติดเชื้อที่มาจากเพศสัมพันธ์ (STI)[5] อาจพบหนองในแท้ร่วมด้วย แต่พบได้น้อยมาก[1][4] การวินิจฉัยโรคกระทำโดยการซักอาการและตรวจร่างกาย[1] หากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี แพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมะเร็ง[3][1]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.