Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานอวกาศจูโน (อังกฤษ: Juno) เป็นภารกิจเขตแดนใหม่ของนาซา ไปยังดาวพฤหัสบดี จูโนถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และจะไปถึงจุดหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 โดยมีรูปแบบการโคจรอยู่ในวงโคจรขั้วโลก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี, สนามแรงโน้มถ่วง, สนามแม่เหล็ก และแม็กนีโตสเฟียร์ขั้วโลก ศึกษาจุดกำเนิดของดาวรวมถึงค้นหาคำตอบว่าดาวพฤหัสบดีที่มีแกนหินหรือไม่ ปริมาณน้ำในชั้นบรรยากาศที่ลึกลงไป การกระจายมวลและความเร็วลมในบรรยากาศชั้นลึกที่เชื่อว่าจะมีความเร็วลมสูงสุด 618 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (384 ไมล์ต่อชั่วโมง)
จูโน | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพของยานอวกาศจูโน | |||||||||||||||||||
ประเภทภารกิจ | โคจรรอบดาวพฤหัส | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินการ | NASA / JPL | ||||||||||||||||||
COSPAR ID | 2011-040A | ||||||||||||||||||
SATCAT no. | 37773 | ||||||||||||||||||
เว็บไซต์ |
| ||||||||||||||||||
ระยะภารกิจ | แผน: 7 ปี รวม: 13 ปี 3 เดือน 3 วัน เดินทาง: 4 ปี 10 เดือน 29 วัน เฟสวิทยาศาสตร์: 4 ปี (จนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2021) | ||||||||||||||||||
ข้อมูลยานอวกาศ | |||||||||||||||||||
ผู้ผลิต | Lockheed Martin | ||||||||||||||||||
มวลขณะส่งยาน | 3,625 kg (7,992 lb)[1] | ||||||||||||||||||
มวลแห้ง | 1,593 kg (3,512 lb)[2] | ||||||||||||||||||
ขนาด | 20.1 × 4.6 m (66 × 15 ft)[2] | ||||||||||||||||||
กำลังไฟฟ้า | 14 กิโลวัตต์จากโลก[2] 435 วัตต์ที่ดาวพฤหัส[1] 2 × 55-ampere-hour lithium-ion batteries[2] | ||||||||||||||||||
เริ่มต้นภารกิจ | |||||||||||||||||||
วันที่ส่งขึ้น | August 5, 2011, 16:25 UTC | ||||||||||||||||||
จรวดนำส่ง | Atlas V 551 (AV-029) | ||||||||||||||||||
ฐานส่ง | Cape Canaveral SLC-41 | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | United Launch Alliance | ||||||||||||||||||
บินผ่านโลก | |||||||||||||||||||
เข้าใกล้สุด | 9 ตุลาคม ค.ศ.2013 | ||||||||||||||||||
ระยะทาง | 559 km (347 mi) | ||||||||||||||||||
ยานอวกาศโคจรรอบ ดาวพฤหัส | |||||||||||||||||||
แทรกวงโคจร | 5 กรกฎาคม ค.ศ.2016, 03:53 UTC[3] 8 ปี 4 เดือน 3 วัน ago | ||||||||||||||||||
วงโคจร | 37 (แผน)[4][5] | ||||||||||||||||||
ลักษณะวงโคจร | |||||||||||||||||||
จุดใกล้ที่สุด | ระดับความสูง4,200 km (2,600 mi) รัศมี75,600 km (47,000 mi) | ||||||||||||||||||
จุดไกลที่สุด | 8.1 ล้าน กิโลเมตร (5.0 ล้าน ไมล์)* | ||||||||||||||||||
ความเอียง | 90 องศา (โคจรรอบขั้วดาว) | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
Juno mission insignia นิวฟรอนเทียร์โปรแกรม |
จูโนเป็นยานอวกาศลำที่สองที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดีต่อจากยานอวกาศกาลิเลโอที่โคจรระหว่างปี ค.ศ. 1995 - 2003
ตัวยานอวกาศใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานซึ่งมักจะใช้ในดาวเทียมที่โคจรรอบวงโคจรโลกและภารกิจในระบบสุริยจักรวาลชั้นใน ในขณะที่ภารกิจในระบบสุริยจักรวาลชั้นนอกมักจะใช้ radioisotope thermoelectric generators เป็นแหล่งพลังงาน อย่างไรแผงพลังแสงอาทิตย์ทั้งสามแผงที่ทำหน้าที่เป็นปีกไปในตัวจะมีหน้าที่เป็นทั้งตัวสร้างสมดุลของตัวยานและแหล่งพลังงาน
ชื่อยานอวกาศนั้นตั้งตามเทพปกรณัมกรีก ตามตำนานเล่าว่าเทพจูปิเตอร์ได้ซ่อนความผิดของตนไว้ภายใต้เมฆหมอก แต่จูโนชายาของจูปิเตอร์สามารถแหวกม่านหมอกนั้นและเห็นตัวตนที่แท้จริงของจูปิเตอร์ แต่อย่างไรก็ตามนาซาได้ระบุถึงชื่อเต็มของจูโนเป็นภาษาอังกฤษว่า JUpiter Near-polar Orbiter[6]
ยานอวกาศจูโนได้เดินทางจากโลกไปยังดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลานานถึง 5 ปี และเดินทางถึงจุดหมายในเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ตามเวลาในประเทศไทย ยานอวกาศได้เดินทางเป็นระยะทางประมาณ 2.8 พันล้านกิโลเมตร (18.7 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1.74 พันล้านไมล์) และจะโคจรรอบดาวพฤหัสบดี 37 รอบในระยะเวลา 20 เดือน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Atlas V (AV-029) ได้ใช้เครื่องยนต์หลัก RD-180 ที่ได้รับการออกแบบจากรัสเซีย ที่ขับเคลื่อนโดย น้ำมันก๊าด และออกซิเจนเหลว
การเดินทางไปดาวพฤหัสบดีจะใช้เวลา 5 ปี ซึ่งรวมถึงการบินผ่านโลกในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013[7][8] ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 จูโนเดินทางได้ครึ่งหนึ่งของการเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดี เมื่อไปถึงระบบดาวพฤหัสบดี จูโนจะได้เดินทางไปประมาณ 19 AU[9]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.