Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าจันทรคุปตะ (สันสกฤต: चन्द्रगुप्त) หรือ จันทคุตตะ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้รวบรวมแผ่นดินอินเดียให้เป็นปึกแผ่น พระราชบิดาของ พระเจ้าพินทุสาร และพระอัยกาของ พระเจ้าอโศกมหาราช
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ | |
---|---|
Mauryan Emperor | |
Indian postage stamp depicting Chandragupta Maurya | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 221-พ.ศ. 245 |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าธนนันทะ |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าพินทุสาร |
ประสูติ | พ.ศ. 203 แคว้นมคธ |
สวรรคต | พ.ศ. 245 (พระชนมพรรษา 42 พรรษา) |
พระอัครมเหสี | บุตรีของเซลลูคัส I นิเคเตอร์ , พระนางทุรฮารา |
พระราชบุตร | พระเจ้าพินทุสาร |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์โมริยะ |
พระราชมารดา | พระนางมูรา |
ศาสนา | Vedic Hindu, Jain |
ชาติกำเนิดของพระเจ้าจันทรคุปต์ยังไม่แน่ชัดมากนัก[1] ในตำนานพระพุทธศาสนากล่าวว่าพระองค์มีเชื้อสายเป็นกษัตริย์ที่กำพร้าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากครอบครัวเกษตรกร[2] บ้างกล่าวว่าเป็นสามัญชน บุตรของผู้นำหมู่บ้าน นามสกุล “เมารยะ” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า Mora ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “นกยูง”[3]
จากตำรามหาวรรศะ กล่าวว่า พระเจ้าจันทรคุปต์ร่ำเรียนและฝึกฝนวิชาจากพราหมณาจารย์จาณักยะ[4] และเริ่มสร้างจักรวรรดิโดยเริ่มตั้งต้นที่เมืองตักศิลา ในช่วง พ.ศ. 212[5] พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ทำสงครามขยายอาณาเขตยึดช่วงภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (เทือกเขาฮินดูกูฏ ในปัจจุบัน) ถอนกำลังทัพกลับกรีก และแต่งตั้งชาวกรีกมาเป็นเจ้าเมืองแทน จึงสบโอกาสให้พระเจ้าจันทรคุปต์เริ่มชิงดินแดนอินเดียกลับมา จากนั้นจึงทำการโค่นบัลลังก์พระเจ้ามหาปัทมนันทะและยึดเมืองปาฏลีบุตรในช่วง พ.ศ. 212[6] ต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเสด็จสวรรคต พระเจ้าจันทรคุปต์จึงเริ่มทำสงครามรวบรวมแผ่นดินอินเดีย จนกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ช่วง พ.ศ. 212เซลลูคัส I นิเคเตอร์ เริ่มสร้างอาณาจักรของตัวเองโดยมีเมืองหลวงคือบาบิโลน และมีการทำสงครามยึดแผ่นดินช่วงฝั่งตะวันออกของเอเชีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ทำให้พระเจ้าจันทรคุปต์จำเป็นต้องทำสงครามชิงดินแดน ในการโจมตีครั้งแรก พระเจ้าจันทรคุปต์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ประกอบกับคำแนะนำของพราหมณาจารย์จาณักยะ ทำให้คิดกลศึก “ป่าล้อมเมือง” จากการได้ยินคำสอนของยาย – หลานคู่หนึ่งขณะกินขนมร้อนๆ ซึ่งกลศึกนี้ทำให้พระเจ้าจันทรคุปต์ได้รับชัยชนะ อินเดียได้ดินแดน เช่น อราโชเซีย (กันดาหา ประเทศอัฟกานิสถาน) เกโดรเซีย (บาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน) และ ปาโรปมิศานต์ (กันดาระ ประเทศปากีสถาน) เป็นต้น มีการทำสงครามกันหลายครั้ง พระเจ้าจันทรคุปต์ก็สามารถขยายอาณาเขตออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลจากสงครามนั้น ทำให้เซลลูคัส I นิเคเตอร์ หวาดกลัวในแสนยานุภาพของพระเจ้าจันทรคุปต์ จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึก และส่งพระราชธิดามาอภิเษกกับพระเจ้าจันทรคุปต์[7] หากแต่ไม่มีทายาทสืบสันตติวงศ์ พระเจ้าจันทรคุปต์จึงอภิเษกกับพระนางทุรฮารา ชายาอีกพระองค์ ซึ่งพระนางคือพระราชมารดาของพระเจ้าพินทุสารนั่นเอง
มีการสันนิษฐานว่าในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ใช้ระบบการค้าแบบผูกขาด จากโบราณวัตถุต่างๆ พบว่ามีการเริ่มใช้ระบบชลประทาน การทำเหมืองแร่ มีการสร้างถนนสำหรับสัญจรทางการค้าไปยังต่างแคว้น[8] และการสร้างอนุสาวรีย์[9] แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่ามีความรุ่งเรื่องทางศิลปะมากน้อยเพียงใด รวมถึงเรื่องการรับอิทธิพลทางศิลปะจากกรีกและเอเชียตะวันตกนั้นจริงหรือไม่[10]
จากบันทึกของศาสนาเชน หลังจากสละราชบัลลังก์แก่พระเจ้าพินทุสาร ราชโอรสแล้ว พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงออกผนวชและเสด็จสวรรคตในช่วง พ.ศ. 245[11]
“พระเจ้าจันทรคุปต์” ปรากฏในละครบังกลาเทศ ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ เช่น
ละครโทรทัศน์ จันทรคุปตเมารยะ (2011) รับบทโดย รุจิราช พาวาร์ และ อาชิส ชาร์มา[12]
ละครโทรทัศน์ จันทรคุปต์ ศึกรักชิงบัลลังก์ (2016) รับบทโดย ราจาต โทกัส[13]
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2544 สำนักงานไปรษณีย์อินเดีย ยังเคยผลิตดวงตราไปรษณียากรพระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าจันทรคุปต์อีกด้วย[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.