ความขัดแย้งในรัฐกะชีน เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่หลากหลายในสงครามกลางเมืองพม่า การสู้รบระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับกองทัพพม่าเกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 หลังจากที่สงบศึกไปแล้ว 17 ปี ความขัดแย้งในปัจจุบันทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคน มีผู้อพยพมากกว่าแสนคน และมีข้อกล่าวหาการใช้งานทุ่นระเบิด,[13] ทหารเด็ก,[13][14] การข่มขืนอย่างเป็นระบบ[13] และการทรมานจากทั้งสองฝ่าย[13][15]

ข้อมูลเบื้องต้น ความขัดแย้งในรัฐกะชีน, วันที่ ...
ความขัดแย้งในรัฐกะชีน
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า

นักเรียนนายทหารของกองทัพเอกราชกะชีน (KIA) เตรียมฝึกซ้อมทางทหารที่ศูนย์บัญชาการของกลุ่มในLaiza, รัฐกะชีน
วันที่ครั้งแรก: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
(33 ปี 2 สัปดาห์ 5 วัน)
ครั้งที่สอง: 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
(13 ปี 3 เดือน 2 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
สถานะ

ยังดำเนินอยู่

  • ลงนามหยุดยิงระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองทัพเอกราชกะชีนใน พ.ศ. 2537
  • เริ่มสงครามต่อใน พ.ศ. 2554 หลังสะเมิดข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี
คู่สงคราม

สหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)

รัฐบาลทหาร (2505–2537)

 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ตั้งแต่ 2554)

พรรคคอมมิวนิสต์พม่า (1971–1972)[a]
New Democratic Army - Kachin (เฉพาะ 2532)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อดีต:
  • N'Ban La[2]
  • Htang Gam Shawng
  • Twan Mrat Naing
อดีต:
  • Zaw Seng โทษประหารชีวิต
    (2504–2518)
  • Zaw Tu โทษประหารชีวิต
    (2504–2518)
  • Zaw Dan 
    (2504–2518)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพพม่า

กำลัง
20,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
  • 10,000–12,000 นาย[5]
  • 1,500[6]–2,500 นาย[7]
  • 200 นาย[8]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ถูกฆ่ามากกว่า 280 นาย (2554–2557)[b]
ตั้งแต่ 2554:
พลเมืองถูกฆ่า 1,677 คน[9]
ไร้ที่อยู่มากกว่า 100,000 คน[4][10][11]

    a ปะทะกันกับ KIA ใน พ.ศ. 2514 ถึง 1515

    b รัฐบาลพม่าอ้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557[12]
    ปิด

    ภูมิหลัง

    ขบวนการเอกราชกะชีนก่อตั้งระหว่างการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อราว พ.ศ. 2473 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในพม่า

    ความขัดแย้งครั้งแรก พ.ศ. 2504–2537

    ความขัดแย้งในรัฐกะชีนและชาวกะชีนในพื้นที่อื่น ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทหารกะชีนที่เคยมีความสำคัญในกองทัพพม่าได้ถอนตัวออกมาจากกองทัพพม่าหลัง พ.ศ. 2505 และจัดตั้งกองทัพเอกราชกะชีน ที่ควบคุมโดยองค์การเอกราชกะชีน ในช่วงนี้ รัฐกะชีนมีสถานะกึ่งเป็นอิสระจากรัฐบาลพม่า โดยมีรายได้หลักจากการค้าขายกับจีน หลังจากมีการเจรจาระหว่างกองทัพพม่ากับองค์การเอกราชกะชีน กองทัพเอกราชกะชีนได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลพม่าเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จากนั้นจึงไม่มีการสู้รบระหว่างกันอีกจนถึง พ.ศ. 2554

    ความขัดแย้งครั้งที่สอง พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน

    การต่อสู้ระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและกองทัพพม่าเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เมื่อกองทัพรัฐบาลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและโจมตีที่ตั้งของกองทัพเอกราชกะชีนตามแนวแม่น้ำตาบีน ตลอดแนวแม่น้ำฝั่งตะวันออกในบะมอ รัฐกะชีนใกล้กับโครงการพลังงานน้ำของรัฐ[16] การสู้รบเกิดขึ้นทั้วรัฐกะชีนและทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน[17]

    ตามรายงานข่าวพบว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งมาจากการที่รัฐบาลพยายามจะเข้ามาควบคุมพื้นที่ที่เคยควบคุมโดยกองทัพเอกราชกะชีนรวมทั้งพื้นที่ในรัฐกะชีนและรัฐชาน ที่อยู่ในโครงการพลังงานของรัฐบาลที่ได้รับการสันบสนุนจากรัฐบาลจีน[18] สถานการณ์ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2555[19] ใน พ.ศ. 2555 การต่อสู้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมตามถนนมยิจีนา-บะมอ ในเดือนเมษายนเกิดการต่อสู้แห่งปังวาในเมืองชี-บเวใกล้กับลูชาง[20][21] ในเดือนสิงหาคมที่พากันต์ ฝ่ายกบฏกล่าวอ้างว่าฆ่าทหารพม่าได้ 140 คน

    การเจรจาสงบศึก

    มีการเจรจาหลายครั้งระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนและรัฐบาลพม่าตั้งแต่มีการสู้รบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มีต่างชาติเข้าไปสนับสนุนการเจรจาสงบศึกหลายครั้ง ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้ประกาศสงบศึกฝ่ายเดียวในสงครามระหว่างกองทัพเอกราชกะชีนกับรัฐบาลพม่า[22] โดยจะมีผลในวันรุ่งขึ้น แต่ก็มีการสู้รบประปรายหลังจากนั้น[23] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลพม่าและกองทัพเอกราชกะชีนพบปะกันในจีนและเจรจาเพื่อลดความตึงเครียดทางทหารในรัฐกะชีน แต่ก็มีการปะทะกันอีกหลังจากนั้น

    การโจมตีทางอากาศ

    ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 รัฐบาลพม่ายืนยันว่ามีการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏเมื่อไม่กี่วันมานี้เพื่อโจมตีกองทัพเอกราชกะชีน[24] ในวันที่ 3 มกราคม กองทัพเอกราชกะชีนประกาศว่าการโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่หกแล้วในไลง์ซา และรัฐบาลพม่าได้ใช้อาวุธเคมี

    ผู้เสียชีวิต

    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 กองทัพพม่ายอมรับว่ามีทหารราว 300 คนเสียชีวิตตั้งแต่เริ่มการปะทะ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 กองทัพเอกราชกะชีนยอมรับว่ามีทหารฝ่ายตนเสียชีวิต 700 คน[25]

    พลเรือนและผู้อพยพ

    มีพลเรือนถูกสังหารระหว่างความขัดแย้ง[26] บางส่วนได้อพยพข้ามพรมแดนไปเป็นผู้ลี้ภัยในจีน และถูกรัฐบาลจีนผลักดันกลับมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 แม้ว่าจะยังมีการสู้รบกันอยู่ และยังมีปัญหาการใช้ทหารเด็กของฝ่ายกบฏ

    อ้างอิง

    Wikiwand in your browser!

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

    Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.