Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสทีอัน ฟรีดริช เชินไบน์ (เยอรมัน: Christian Friedrich Schönbein; 18 ตุลาคม ค.ศ. 1799 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 1868) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน/สวิส เกิดที่เมืองเม็ทซิงเงิน เมื่ออายุได้ 13 ปี เชินไบน์ช่วยงานที่บริษัทยาในเมืองเบอบลิงเงินและผ่านการสอบของศาสตราจารย์ด้านเคมีที่ทือบิงเงิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1828 เชินไบน์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบาเซิล ในปี ค.ศ. 1838 เขาประดิษฐ์เซลล์เชื้อเพลิง[1] เชินไบน์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1868
คริสทีอัน ฟรีดริช เชินไบน์ | |
---|---|
เกิด | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1799 เม็ทซิงเงิน ดัชชีเวือร์ทเทิมแบร์ค |
เสียชีวิต | 29 สิงหาคม ค.ศ. 1868 ปี) บาเดิน-บาเดิน เยอรมนี | (68
สัญชาติ | เยอรมัน/สวิส |
มีชื่อเสียงจาก | เซลล์เชื้อเพลิง, โอโซน, ดินสำลี |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยบาเซิล |
ในปี ค.ศ. 1839 ระหว่างทำการทดลองอิเล็กโทรไลซิสที่มหาวิทยาลัยบาเซิล เชินไบน์ได้กลิ่นเฉพาะกลิ่นหนึ่งในห้องทดลอง[2] เขาจึงตั้งชื่อก๊าซชนิดใหม่นี้ว่า "โอโซน" (ozone) ซึ่งมีที่มาจากคำ ozein ในภาษากรีก แปลว่า "ได้กลิ่น"[3][4] เชินไบน์ตีพิมพ์ผลงานการค้นพบในปีต่อมา[5]
ในปี ค.ศ. 1845 ระหว่างทำการทดลองในห้องครัว เชินไบน์ทำสารผสมกรดไนตริกและกรดซัลฟิวริกหก เขาใช้ผ้าฝ้ายเช็ดและนำไปตากไว้ที่เตา แต่กลับพบว่าผ้าฝ้ายติดไฟอย่างรวดเร็ว เชินไบน์จึงพบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า "ดินสำลี"[6] (guncotton) อย่างไรก็ตาม การนำดินสำลีไปใช้ในทางทหารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งต่อมามีการพัฒนาดินสำลีให้ใช้งานได้ดีขึ้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.