คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือเดิมคือ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบใน การจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และจัดบริการวิชาการแก่สังคมในสาขาวิชาบริหารธุกิจ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีคุณภาพที่ดี และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเดิม, สถาปนา ...
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Business Administration for Society, Srinakharinwirot university
ชื่อเดิม ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ สถาปนา พ.ศ. 2516; 51 ปีที่แล้ว (2516 ) สังกัดการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณบดี สันติ เติมประเสริฐสกุล ที่อยู่ สี สีฟ้าน้ำทะเลเว็บไซต์ bas.swu.ac.th
ปิด
เนื่องจากในปัจจุบันสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความเห็นให้ยกระดับ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับคณะ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ปัจจุบันจึงมีสถานะเป็น คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้รับการจัดตั้งเป็น "คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม" เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
คณะบริหารธุรกิจธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยมีการปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม และจิตสาธารณะรับใช้สังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจเพื่อสังคม อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม โดยมีการริเริ่มโครงการต่าง ๆ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการสร้างประโยชน์และความยั่งยืนให้กับสังคม และประเทศชาติเป็นอย่างมาก ภายใต้ปรัชญาและคำนิยมของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ที่ว่า BAS (บาส) = Business Action (for) Sharing โดย
B คือ Business เป็นผู้มีความสามารถในการใช้และถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจให้กับผู้อื่น
A คือ Action เป็นผู้เน้นการลงมือปฏิบัติและมุ่งผลสัมฤทธิ์
S คือ Sharing เป็นผู้ร่วมแบ่งปันสู่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ
สภาพอาคารคณะสังคมศาสตร์ก่อนถูกทุบแยกส่วนจากคณะศึกษาศาสตร์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2549 [1]
พ.ศ. 2516 จัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร (อธิการบดี) ได้ส่ง อาจารย์นิภา แนวบุญเนียร ไปศึกษาวิชาธุรกิจศึกษา ณ ประเทศแคนาดา เพื่อเตรียมการเปิดหลักสูตรธุรกิจศึกษา
พ.ศ. 2518 เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกธุรกิจศึกษา สาขาการตลาด และการบัญชี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เทียบหลักสูตรนี้เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) เปิดหลักสูตรวิชาโทธุรกิจศึกษาและเปิดหลักสูตรวิชาโทบริหารธุรกิจ โดยในขณะนั้นมีคณาจารย์ในภาควิชา จำนวน 7 คน
พ.ศ. 2531 ได้รับอนุมัติหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) โดยได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
พ.ศ. 2533 ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี เป็นโครงสร้างหลักสูตรใหม่ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด และสาขาการบัญชี และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2536 ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยในการเปลี่ยนชื่อปริญญาจาก ศศ.บ. เป็น บธ.บ. สาขาการตลาด และสาขาการบัญชี
พ.ศ. 2539 ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) หลักสูตร 4 ปี สาขาการตลาด และ สาขาการบัญชี จากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
พ.ศ. 2540 ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) ใหม่โดยได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2541
ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาการตลาด จากทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
หลักสูตร บธ.บ. วิชาเอกการตลาด และวิชาเอกการบัญชี ก.ค. ให้การรับรองและกำหนดคุณวุฒิปริญญาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการครู
พ.ศ. 2542 ดำเนินโครงการความร่วมมือระดับบัณฑิตศึกษา สาขาธุรกิจศึกษา กับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2543
ได้รับอนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร และสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม
เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาการตลาด
พ.ศ. 2544
เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการบัญชี ในโครงการความร่วมมือระดับปริญญาตรี กับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ
เปิดหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี สาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการตลาด และปรับปรุงหลักสูตร กศ.บ. เป็น บธ.บ.
พ.ศ. 2545 ปรับปรุงหลักสูตร บธ.บ. (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด
พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม
พ.ศ. 2552
จัดทำหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) (เพื่อเปิดสอนในปี 2553)
ปรับปรุงหลักสูตร บธ.บ. 4 ปี สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม (เพื่อเปิดสอนในปี 2553)
งดรับนิสิตหลักสูตร บธ.บ. (ต่อเนื่อง 2 ปี ) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด ทั้งที่ มศว และในโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ
พ.ศ. 2553
เปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม
เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
รัฐบาลมีการจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม พ.ศ. 2553-2557 และมีการจัดตั้งสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) เพื่อส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียม ยุติธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
พ.ศ. 2554
ปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (TQF) (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการจัดการโรงแรม(TQF) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการเงิน วิชาเอกการตลาด และเพิ่มวิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ (TQF) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และหลักสูตรสองภาษา (Bilingual) พ.ศ. 2554 (เปิดสอนในปีการศึกษา 2555)
พ.ศ. 2555 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนด้านกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความสามารถและจิตวิญญาณในการประกอบกิจการหรือทำงานในองค์กรที่เป็นกิจการเพื่อสังคม
พ.ศ. 2557 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2559 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
พ.ศ. 2561 ยกระดับจากภาควิชาบริหารธุรกิจ ภายใต้คณะสังคมศาสตร์เป็น คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
พ.ศ. 2562 เปิดรับนิสิตบริหารธุรกิจสาขาการบัญชี โครงการพิเศษ และ บริหารธุรกิจบัญฑิต โครงการพิเศษ
พ.ศ. 2563 เปิดการเรียนการสอนบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี กลุ่มเปิดเพื่อบุคคลทั่วไป กลุ่มคนทำงาน ผู้เรียนปริญญาใบที่ 2 กลุ่มนักเรียนที่ต้องการเรียนปริญญาตรีล่วงหน้า โดยดำเนินการในสาขาการตลาดและ สาขาการเงิน เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่มีลักษณะ block course และเรียนแบบ Credit bank ที่ทางกระทรวง อว. ให้แนวทางเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดชีวิต
พ.ศ. 2564 เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) เพิ่มเติม ได้แก่
หลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาด
หลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกการการเงิน
หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
พ.ศ. 2565
ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) โดยเพิ่มสาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม ปัจจุบันหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มีสาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) เพิ่มเติมหลักสูตรบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2566
เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอก รุ่นที่ 1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจเพื่อสังคมและได้เป็นสมาชิกสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ (AACSB)
เปิดตัวสัญลักษณ์ประจำคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม (มาสคอต : ชื่อ บีโก้ (Be go) มาจากคำว่า Business go on
เปิดตัวสโลแกนของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม “SWU BAS SMART WORLD”
มีเพลงประจำคณะ ชื่อ BAS SWU
มีอาจารย์ที่ได้รับรองคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของสหราชอาณาจักร UKPSF มากที่สุดในประเทศไทย ในกลุ่มทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี
พ.ศ. 2567
เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Business Administration Program in Global Business Management (International Program)
ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
วิชาเอกการตลาด
วิชาเอกการเงิน
วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตแบบสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Business Administration Program in Global Business Management (International Program)
ระดับปริญญาโท [2]
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
วิชาเอกการตลาด (Marketing)
วิชาเอกการจัดการ (Management)
วิชาเอกธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ((Business Administration for Society)