Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การได้ยินผ่านกระดูก[1] หรือ การนำเสียงผ่านกระดูก (อังกฤษ: Bone conduction) เป็นการนำเสียงไปยังหูชั้นในผ่านกระดูกในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเกิดทั้งในผู้ได้ยินเสียงปกติและผู้ได้ยินพิการ
การนำเสียงผ่านกระดูกเป็นเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมเสียงของตัวเองเมื่อพูดจึงฟังต่างกับเมื่อบันทึกแล้วเล่นเสียงนั้น เพราะกะโหลกศีรษะนำเสียงความถี่ต่ำได้ดีกว่าอากาศ บุคคลจึงได้ยินเสียงตัวเองต่ำกว่าและสมบูรณ์กว่าที่คนอื่นได้ยิน และเสียงบันทึกของตัวเองบ่อยครั้งจึงแหลมกว่าที่คาด[2][3]
นักดนตรีอาจใช้การได้ยินผ่านกระดูกเมื่อปรับเครื่องดนตรีสายให้ตรงกับเสียงจากส้อมเสียง (tuning fork) คือเมื่อส้อมเสียงเริ่มสั่นแล้ว การกัดมันด้วยฟันด้านหลัง จะช่วยให้คงได้ยินเสียงผ่านกระดูก โดยมือทั้งสองก็ยังว่างเพื่อใช้ปรับสาย[4]
เครื่องช่วยฟังบางชนิดอาจนำเสียงผ่านกระดูก ทำให้ได้ยินเหมือนกับปกติ เช่น หูฟังโทรศัพท์ที่ติดอย่างถูกหลักการยศาสตร์ที่ขมับหรือที่แก้ม โดยตัวแปรสัญญาณไฟฟ้าเป็นแรงสั่นจะส่งเสียงเป็นแรงสั่นเข้าไปในหูชั้นในผ่านกะโหลกศีรษะ เช่นเดียวกันไมโครโฟนก็สามารถใช้อัดเสียงพูดผ่านการนำเสียงผ่านกระดูกด้วยเหมือนกัน เครื่องฟังผ่านกระดูกอันแรกที่มีบันทึกสร้างขึ้นในปี 1923 โดยนักประดิษฐ์ชาวลักเซมเบิร์ก-อเมริกัน ซึ่งเขาเรียกว่า "Osophone"[5] และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น "Phonosone"[6]
หลังจากค้นพบว่า กระดูกสามารถงอกยึดกับเครื่องปลูกฝัง (osseointegration) ได้ราวปี ค.ศ. 1950 แล้วประยุกต์ใช้หลักนี้ในทันตแพทยศาสตร์ราวปี 1965 จึงพบว่า ฟันที่ปลูกฝังสามารถนำเสียงไปยังหู ดังนั้น จึงเกิดเครื่องช่วยฟังที่ยึดเข้ากับกระดูกในปี 1977 ต่อมา
ผลิตภัณฑ์นำเสียงผ่านกระดูกปกติจะมีสามพวก คือ
ตัวอย่างหนึ่งของผลิตภัณฑ์สื่อสารพิเศษก็คือลำโพงนำเสียงผ่านกระดูกที่ใช้เมื่อดำน้ำสกูบา เป็นอุปกรณ์หล่อหุ้มด้วยพลาสติก ข้างในเป็นแผ่นกลมแบนบิดงอได้แบบไพอิโซอิเล็กทริก[upper-alpha 1] กว้าง 40 มม. และหนา 6 มม. โดยมีสายที่หล่อหุ้มติดเข้ากับแผ่นด้วย ทำให้อุปกรณ์ทั้งชิ้นแข็งแรงและกันน้ำได้ เมื่อใช้ ลำโพงจะติดทับกับกระดูกนูนข้างหลังหู เสียงที่ดังจะฟังชัดและดูเหมือนจะมาจากภายในศีรษะของตนเอง[8]
แว่นกูเกิล (Google Glass) เป็นอุปกรณ์ที่นำเสียงผ่านกระดูก คือส่งข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ผ่านตัวแปรสัญญาณที่ติดข้างหู ซึ่งก็หมายความว่า เสียงที่ได้ยินคนอื่นจะไม่ได้ยิน[9]
บริษัทกระจายสัญญาณโทรทัศน์ Sky Deutschland และบริษัทโฆษณา BBDO Germany ร่วมมือกันรณรงค์โฆษณาโดยนำเสียงผ่านกระดูกที่เริ่มทำในเมืองกาน ประเทศฝรั่งเศสในงาน International Festival of Creativity เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 แนวคิดในโฆษณา "หน้าต่างพูดได้ (Talking Window)" นี้ ใช้การนำเสียงผ่านกระดูกเพื่อส่งโฆษณาไปยังผู้โดยสารรถไฟขนส่งมวลชนผู้อิงศีรษะกับหน้าต่างรถไฟ นักวิชาการจึงได้กล่าวไว้ว่า เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงโฆษณา นอกเหนือไปจากไม่ถูกต้องหน้าต่างแล้ว ผู้โดยสารจะต้องอิงวัสดุเบาเสียงที่ไม่ส่งแรงสั่นต่อจากหน้าต่าง[10][11]
ทีมแข่งเรือยอชท์ Land Rover BAR ใช้เทคโนโลยีนำเสียงผ่านกระดูกที่ผลิตโดยบริษัท BAE Systems ในหมวกกันภัยในงานแข่งเรือ 2017 America's Cup[12] ช่วยให้ลูกเรือสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์เร่งรีบที่มีเสียงดัง โดยยังดำรงความสำนึกถึงสถานการณ์รอบตัวได้เพราะไม่มีอะไรปิดหู[13]
บริษัท MED-EL Medical Electronics ได้คิดค้นเครื่องช่วยฟัง ADHEAR [14] เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องการฟังของผู้ที่ประสบปัญหาการนำเสียงบกพร่อง ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาหูชั้นกลางเรื้อรัง ผู้ที่ไม่มีใบหู ไม่มีช่องหู และยังเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาหูชั้นในแบบหูหนวกสนิท 1 ข้าง (single-sided deafness) ให้สามารถกลับมาได้ยินเสียงรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติอีกครั้ง โดยใช้หลักการเช่นเดียวกันกับ Bone hearing aid คือการนำเสียงผ่านทางกระดูก โดยจะรับสัญญาณเสียงจากภายนอกแล้วแปลงสัญญาณเสียงเป็นการสั่นสะเทือนเข้าไปสู่หูชั้นในโดยตรง ซึ่งการนำเสียงที่ Bone hearing aid โดยทั่วไปจะต้องใช้มวลน้ำหนักและแรงกดลงบนศรีษะเพื่อนำเสียงส่งไปยังหูชั้นใน แต่ ADHEAR ใช้ Adhesive adaptor เป็นการลดช่องว่างระหว่างผิวหนังกับตัวอุปกรณ์ ทำให้การสัมผัสกันระหว่างอุปกรณ์และผิวหนังมีความแนบสนิทจึงสามารถส่งผ่านพลังงานเข้าสู่หูชั้นในได้อย่างง่ายดาย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.