Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย (อังกฤษ: Final Solution ; เยอรมัน: Die Endlösung) เป็นแผนนาซีสำหรับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการกำจัดชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง "มาตรการสุดท้ายของปัญหาชาวยิว" เป็นชื่อรหัสนามอย่างเป็นทางสำหรับการสังหารชาวยิวทั้งหมดในการบรรลุถึง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่ทวีปยุโรป[1] นโยบายนี้เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเจตนาและอย่างเป็นระบบ ได้มีการเริ่มต้นไปทั่วทั้งดินแดนยุโรปที่ถูกยึดครองโดยเยอรมันเป็นการกำหนดในขั้นตอนและข้อตกลงทางภูมิศาสตร์-การเมืองโดยผู้นำนาซีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ที่การประชุมที่วันเซที่ถูกจัดขึ้นใกล้กับกรุงเบอร์ลิน[2] และถึงจุดสูงสุดของฮอโลคอสต์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการสังหารชาวยิวเชื้อสายโปล 90%[3] และสองในสามของประชากรชาวยิวในยุโรป[4]
มาตรการสุดท้าย | |
---|---|
ตามที่จดหมายจากเอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ถึง Ministerialdirektor Martin Luther ได้ถามถึงความช่วยเหลือจากฝ่ายบริหารปกครองในการดำเนินให้บรรลุของมาตรการสุดท้ายถึงปัญหาชาวยิว,วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 | |
หรือเป็นที่รู้จัก | Endlösung der Judenfrage |
สถานที่ | ยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง |
วันที่ | 1941–1945 |
รูปแบบ | การกำจัดชาวยิว, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ |
ผู้ทำ | นาซีเยอรมนี |
ผู้ร่วม | ชุทซ์ชตัฟเฟิล (SS), ตำรวจมั่นคง (ซีโพ), เกสตาโพ, ครีมีนาลโพลีทไซ (ครีโพ), เอสดี, และวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส |
เกตโต | เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี; ยิวเกตโตในโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน และสหภาพโซเวียต |
ลักษณะและระยะเวลาของการตัดสินใจที่นำไปสู่มาตรการสุดท้ายเป็นประเด็นที่ได้รับการศึกษาวิจัยและถกเถียงกันอย่างเข้มข้นของฮอโลคอสต์ โครงการที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วง 25 เดือนแรกของสงครามที่นำไปสู่ความพยายาม "การสังหารครั้งสุดท้ายต่อชาวยิวในอำนาจของเยอรมัน"[5] นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้เห็นด้วย นักเขียน Christopher Browning ว่ามาตรการสุดท้ายไม่สามารถนำมาประกอบกับการตัดสินใจครั้งเดียวที่ทำขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง[5] "เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ากระบวนการตัดสินใจเป็นเวลานานและเพิ่มขึ้น"[6] ในปี ค.ศ. 1940 หลังฝรั่งเศสถูกยึดครอง อาด็อล์ฟ ไอช์มันได้คิดค้นแผนมาดากัสการ์เพื่อโยกย้ายประชากรชาวยิวในยุโรปไปยังอาณานิคมฝรั่งเศส แต่แผนดังกล่าวถูกละเลยด้วยเหตุผลทางด้านโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่มาจากการปิดล้อมทางทะเล[7] นอกจากนี้ยังได้มีแผนเบื้องต้นเพื่อเนรเทศชาวยิวไปยังปาเลสไตน์และไซบีเรีย[8] ในปี ค.ศ. 1941 นักเขียน Raul Hilberg ในช่วงแรกของการสังหารหมู่ หน่วยสังหารเคลื่อนที่ได้เริ่มแสวงหาเหยื่อข้ามดินแดนตะวันออกที่ถูกยึดครอง ในขั้นตอนที่สอง ได้เริ่มต้นไปทั่วทั้งดินแดนยุโรปที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน เหยื่อชาวยิวที่ถูกรวบรวมจะถูกส่งโดยรถไฟมรณะเพื่อไปยังค่ายมรณะที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเป็นระบบของมาตรการสุดท้าย[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.