การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (กรีกโบราณ: Ἅλωσις τῆς Κωνσταντινουπόλεως, อักษรโรมัน: Hálōsis tē̂s Kōnstantīnoupóleōs; ตุรกี: İstanbul'un Fethi, แปลตรงตัว 'การพิชิตอิสตันบูล') เป็นการยึดครองเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 6 เมษายน แล้วตัวเมืองถูกยึดครองในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453[8][9] รวมเวลาล้อมเมือง 53 วัน
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามไบแซนไทน์-ออตโตมันและสงครามออตโตมันในยุโรป | |||||||||
การล้อมคอนสแตนติโนเปิลครั้งสุดท้าย (1453), จุลจิตรกรรมฝรั่งเศสโดย Jean Le Tavernier หลัง ค.ศ. 1455 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
|
| ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
|
| ||||||||
กำลัง | |||||||||
ออตโตมัน กองทัพบก:
พลธนู 40,000 นาย ทหารราบ 40,000 นาย
กองทัพเรือ:
|
ไบแซนไทน์
กองทัพบก: กองทัพเรือ: เรือ 26 ลำ | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่คาดว่าเสียหายหนัก |
ถูกฆ่า 4,000 นาย[5] ถูกจับเป็นทาส 30,000 นาย[6][7] |
สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 (ภายหลังเรียกเป็น "เมห์เหม็ดผู้พิชิต") ในพระชนมายุ 21 พรรษา เป็นผู้บัญชาการกองทัพออตโตมัน ส่วนจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 เป็นผู้บัญชาการกองทัพไบแซนไทน์ หลังพิชิตเมืองนี้ เมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตั้งเมืองนี้เป็นเมืองหลวงใหม่ของออตโตมันแทนเอดีร์แน
การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และทำให้จักรวรรดิโรมัน ซึ่งเริ่มต้นใน 27 ปีก่อนคิรสต์ศักราช สิ้นสุดลง โดยอยู่ได้นานเกือบ 1,500 ปี[10] การยึดครองคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นจุดแบ่งระหว่างยุโรปกับเอเชียน้อย ทำให้ออตโตมันสามารถโจมตียุโรปภาคพื้นดินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ในภายหลัง ออตโตมันสามารถควบคุมคาบสมุทรบอลข่านส่วนใหญ่ได้
การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลและการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์[11] เป็นเหตุการณ์สำคัญในสมัยกลางตอนปลาย และถือเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลาง[12] ในสมัยโบราณ มีการป้องกันเมืองและปราสาทด้วยป้อมปราการและกำแพงเพื่อต้านทานผู้บุกรุก ตัวป้องกันคอนสแตนติโนเปิล โดยเฉพาะกำแพงเทโอโดเซีย (Theodosian Walls) เป็นหนึ่งในระบบป้องกันที่ทันสมัยที่สุดในยุโรปและโลก อย่างไรก็ตาม ปราการสำคัญเหล่านี้ถูกพิชิตด้วยการใช้ดินปืน โดยเฉพาะในรูปของปืนใหญ่และระเบิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสงครามปิดล้อมที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง[13]
หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้
การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านจานิสซารี กองทหารชั้นเอกของออตโตมันได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง
การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์
ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และบางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุด[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.