Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเมืองเนเธอร์แลนด์ เป็นการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในระบบรัฐสภา เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นระบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจ[1] อาจมองได้ว่าเป็นระบบที่มีการแบ่งสรรอำนาจกันเป็นอย่างดี[2] ประเด็นสำคัญในประเทศมักถูกตัดสินกันด้วยการมุ่งหาประชามติโดยเฉพาะเรื่องสำคัญ
การเมืองเนเธอร์แลนด์ Nederlandse politiek | |
---|---|
ประเภทรัฐ | รัฐเดี่ยว, ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, ระบบรัฐสภา |
รัฐธรรมนูญ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ |
ฝ่ายนิติบัญญัติ | |
ชื่อ | รัฐสภา |
ประเภท | สองสภา |
สถานที่ประชุม | พระราชฐานบินเนินฮอฟ |
สภาสูง | |
ชื่อ | วุฒิสภา |
ประธาน | ยาน อันโทนี เบรียน ประธานวุฒิสภา |
ผู้แต่งตั้ง | การเลือกตั้งทางอ้อม ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ |
สภาล่าง | |
ชื่อ | สภาผู้แทนราษฎร |
ประธาน | เวรา เบิร์กคัมป์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร |
ผู้แต่งตั้ง | การเลือกตั้งทางอ้อม ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ |
ฝ่ายบริหาร | |
ประมุขแห่งรัฐ | |
คำเรียก | พระมหากษัตริย์ |
ปัจจุบัน | สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ |
ผู้แต่งตั้ง | การสืบราชสันตติวงศ์ |
หัวหน้ารัฐบาล | |
คำเรียก | ประธานรัฐมนตรี |
ปัจจุบัน | มาร์ก รึตเตอ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ผ่านการเลือกตั้งทั่วไป |
คณะรัฐมนตรี | |
คำเรียก | คณะรัฐมนตรี |
ชุดปัจจุบัน | คณะที่ 71 (รึตเตอ 4) |
หัวหน้า | ประธานรัฐมนตรี |
รองหัวหน้า | รองประธานรัฐมนตรี |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์โดยการเสนอของประธานรัฐมนตรี |
สำนักงานใหญ่ | พระราชฐานบินเนินฮอฟ |
กระทรวง | 12 |
ฝ่ายตุลาการ | |
ศาล | ศาลเนเธอร์แลนด์ |
ศาลฎีกา | |
ประธานศาล | มาร์เติน เฟเตริส |
ที่ตั้งศาล | ที่ทำการศาลฎีกา นครเฮก |
รัฐธรรมนูญของประเทศเนเธอร์แลนด์มีบทบัญญัติทั้งในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางสังคมของพลเมืองชาวเนเธอร์แลนด์ทุกคน ระบุตำแหน่งและหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่มีอำนาจในการบริหาร บัญญัติกฎหมาย และตัดสินคดีในระบบยุติธรรม
รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ในประเทศเนเธอร์แลนด์ อันเป็นรัฐองค์ประกอบหนึ่งของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ร่วมกับอารูบา กือราเซา และซินต์มาร์เติน) ซึ่งจะมีกฎบัตรของราชอาณาจักรแยกต่างหาก กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์มีผลในประเทศเนเธอร์แลนด์ในยุโรป และโบแนเรอ ซาบา และซินต์เอิสตาซียึส ในทะเลแคริบเบียน
เนเธอร์แลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลไม่ได้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อกฎหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาสองครั้ง (ทั้งจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร)
สถาบันการเมืองหลังของเนเธอร์แลนด์ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล นอกจากนี้ยังมีองค์กรอิสระของรัฐที่สำคัญเช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีอำนาจเกือบเทียบเท่ากับรัฐสภาในการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ และยังมีองค์กรบริหารระดับภูมิภาคอื่นๆอีกเช่น เทศบาล ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ และจังหวัด
รัฐสภาและรัฐบาล (พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน การออกกฎหมายจะต้องผ่านการปรึกษากับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนในในเรื่องการเมือง และคณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจ รัฐบาลมีอำนาจในการบริหาร แต่คณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจมีอำนาจในการแทรกแซงในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ส่วนระบบศาลนั้นแบ่งออกเป็นสองศาลหลัก ได้แก่ ศาลสูงสุดที่จะตัดสินคดีพลเมืองและคดีอาญา และศาลปกครองที่จะตัดสินคดีของข้าราชการ
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปกครองในระบอบราชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1815 โดยราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศเนเธอร์แลนด์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มีองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรง คือ เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
รัฐธรรมนูญระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลและตรากฎหมาย กฎหมายทุกฉบับจะต้องได้รับการลงพระปรมาภิไทยจากพระองค์ พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นประธานของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในทางนิติบัญญัติทุกเรื่อง และยังทรงเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจเต็ม แต่พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันมักจะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมืองและทรงวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการจัดตั้งคณะรัฐบาลหลังการเลือกตั้งหรือในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีล้มเหลว นายกรัฐมนตรีต้องทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงยุบคณะรัฐมนตรี
รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลเท่านั้นและทรงไม่แทรกแซงการตัดสินใจของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ในการตรากฎหมายและออกนโยบายต่างๆ มีการประชุมกันทุกวันศุกร์ที่อาคารบินเนินโฮฟในนครเดอะเฮก รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะประจำอยู่ที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 มีการยินยอมให้มีรัฐมนตรีที่ไม่สังกัดกระทรวงใดๆ นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
กระทรวงในคณะรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้แก่
รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร (สภาสองหรือ Tweede Kamer) และวุฒิสภา (สภาหนึ่งหรือ Eerste Kamer) ทั้งสองสภาประชุมกันที่บินเนินโฮฟ ในนครเดอะเฮก เพื่ออภิปรายข้อเสนอกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย ส่วนวุฒิสภามีอำนาจในการอภิปรายเห็นชอบหรือปฏิเสธข้อเสนอ โดยเนเธอร์แลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปีในระบบสัดส่วนตัวแทน ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง โดยประชาชนเป็นผู้เลือกตามชื่อที่ปรากฎในบัตรเลือกตั้ง หากผู้แทนราษฎรลาออก ตำแหน่งที่ว่างลงจะตกเป็นของพรรคที่อดีตผู้แทนคนนั้นสังกัด รัฐบาลผสมอาจจะถูกยุบเลิกได้ก่อนครบวาระ ซึ่งมักจะนำมาสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรก่อนถึงวาระและมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
ส่วนสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมจากสมาชิสภาจังหวัด ที่มีการเลือกตั้งทุก 4 ปีเช่นกัน โดยสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในระบบพรรคการเมืองเช่นเดียวกัน ระบบนี้มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ที่แต่ละภูมิภาคจะส่งตัวแทนมาประชุมในสภากลางของประเทศ ปัจจุบัน วุฒิสภาเป็นดั่งองค์กรอาวุโสที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อกฎหมายโดยอิสระ ปราศจากแรงกดดันใดจากสังคมและสื่อ มีการประชุมหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์
เนเธอร์แลนด์มีระบบการเมืองที่มีหลายพรรค เกิดจากการที่สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา(อาทิ คาทอลิก โปรเตสแตนท์) และความแตกต่างทางแนวคิดการเมือง(สังคมนิยมหรือเสรีนิยม) พรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันได้แก่
ระบบยุติธรรมของเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วยศาลเขต 11 แห่ง ศาลอุทธรณ์ 4 แห่ง ศาลปกครอง 3 แห่ง และศาลสูงสุด รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดชีพจนกว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 70 ปี
นโยบายต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับสี่ประการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ข้ามทะเลแอตแลนติก การรวมตัวของยุโรป การพัฒนาระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ในอดีตนั้นเนเธอร์แลนด์เคยยึดนโยบายเป็นกลางมาตลอด กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนเธอร์แลนด์ได้เข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร ทั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และสหภาพยุโรป เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์เป็นระบบเปิดและขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก
เนเธอร์แลนด์มีนโยบายอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อความบันเทิง อนุญาตการค้าประเวณีระดับหนึ่ง และออกกฎหมายรับรองการแต่งงานในเพศเดียวกัน การทำแท้ง และการุณยฆาต นับเป็นประเทศที่มีแนวคิดเสรีนิยมสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.