การล้อมกาซา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมกาซา (อังกฤษ: Siege of Gaza) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 332 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองกาซา
การล้อมกาซา | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช | |||||||||
ภาพวาดเมืองกาซา โดยเดวิด รอเบิตส์ | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
มาซิโดเนีย, พันธมิตรชาวกรีก | จักรวรรดิอะคีเมนิด | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เฮฟีสเทียน | บาติส (เชลย) | ||||||||
กำลัง | |||||||||
45,000 |
ทหารอียิปต์ 15,000, รวมทั้งหมด 46,000 | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
3,760 | 19,000 |
บาติส (Batis) ผู้บัญชาการเมืองกาซาต้องการยึดอียิปต์จนกว่าผู้ปกครองเปอร์เซียจะส่งกองทัพมารบกับมาซิโดเนียที่นี่[1] เมืองกาซาเป็นเมืองชายขอบทะเลทรายและมีถนนจากซีเรียไปถึงอียิปต์ ตั้งอยู่สูงกว่า 60 ฟุต (18.29 เมตร) ท่ามกลางชุมชนเปอร์เซีย[1] บาติสรู้ด้วยว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์จะยกทัพมาที่นี่หลังจากยึดเมืองไทร์ได้
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์พบว่ากำแพงเมืองด้านใต้เป็นจุดที่เหมาะจะโจมตีที่สุด[2] จึงสั่งให้มีการสร้างเนินขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าเมือง[2] วันหนึ่งฝ่ายเปอร์เซียพยายามตีฝ่าวงล้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งให้ทหารใช้โล่เป็นแนวป้องกันจนพระองค์ได้รับบาดเจ็บ[3] อาร์ริอัน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกว่า "เนินถูกสร้างรอบ ๆ กำแพงเมืองและใช้เครื่องทุ่นแรงจากไทร์ร่วมด้วย"[3] หลังจากความพยายามสามครั้ง ทหารมาซิโดเนียก็ทลายกำแพงและบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ[3] ผู้ชายถูกฆ่า ส่วนผู้หญิงและเด็กถูกจับไปเป็นทาส กวินตุส กูร์ตีอุส รูฟุส (Quintus Curtius Rufus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันบันทึกว่า "บาติสถูกลากไปรอบกำแพงเมืองจนเสียชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าชายเฮกเตอร์แห่งทรอย"[4]
หลังเมืองถูกยึด พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สามารถเดินทัพไปที่อียิปต์ได้โดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.