Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบังคับการตำรวจน้ำ (อังกฤษ: Thai Marine Police Division) เป็นหน่วยงานตำรวจน้ำในสังกัดของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติตำรวจเช่นเดียวกับบนฝั่งทุกประการ และมีหน้าที่เพิ่มเติมคือการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามกฎหมายทางทะเลที่กำหนด
กองบังคับการตำรวจน้ำ | |
---|---|
เครื่องหมายราชการประจำหน่วยงาน | |
อาร์มประจำหน่วยงาน | |
อักษรย่อ | บก.รน. |
คำขวัญ | พิทักษ์ประชาดุจครอบครัว ปกป้องความมั่นคงทางน้ำทั่วหล้า |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 15 พฤษภาคม, พ.ศ. 2495 (72 ปี 183 วัน) |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
เขตอำนาจเฉพาะด้าน |
|
สำนักงานใหญ่ | ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง |
เขตอำนาจปกครอง | • 12 กองกำกับการ, 1 กลุ่มเรือตรวจการณ์ขนาด 110 - 180 ฟุต |
เว็บไซต์ | |
marine |
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยต้องพึ่งพาการขนส่งทางน้ำเพื่อนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก ซึ่งในขณะนั้นทางการไทยขาดหน่วยงานที่เข้ามาดูแลด้านการรักษากฎหมายทางทะเล โดยในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2490 ได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ควบคุมดูแลในการรักษากฎหมายทางทะเล แต่ด้วยภารกิจที่หลากหลาย ประกอบกับกองทัพเรือเองจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนในทุก ๆ ด้าน ทำให้รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการรักษากฎหมายในขณะนั้น คือกระทรวงกลาโหม ที่กำกับดูแลกองทัพเรือ และกระทรวงมหาดไทย ที่กำกับดูแลกรมตำรวจ พิจารณาร่วมกันเห็นชอบให้จัดตั้ง กองตำรวจน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2497 กองบังคับการตำรวจน้ำ เคยตั้งอยู่บริเวณศุลกสถาน หลังจากกรมศุลกากรย้ายไปทำการที่บริเวณท่าเรือคลองเตย[1] และปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายไปยังที่ทำการปัจจุบัน ซึ่งบริเวณเดิมต่อจากนั้นได้เปลี่ยนเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก[2]
ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองบังคับการตำรวจน้ำ ตามกฎกระทรวงที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และแบ่งโครงสร้างหน่วยงานใหม่ให้กองบังคับการตำรวจน้ำ เป็นหน่วยงานส่วนหนึ่งของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
กองบังคับการตำรวจน้ำ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ประกอบไปด้วย[3]
ธงเจ้าพนักงานตำรวจน้ำ ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานด้านติดกับคันธงกว้าง 1 ส่วน ผืนธงมีความยาว 3 ส่วน ช่วงต้นจากคันธง 1 ส่วน ลักษณธและสีเดียวกับธงชาติไทย ส่วนที่ 2 และ 3 ถึงปลายธงเป็นสีเลือดหมู ตรงกลางมีพระแสงดาบเขนและโล่สีเหลือง โดยจะชักธงเพื่อแสดงตนเวลาปฏิบัติหน้าที่[4]
กองบังคับการตำรวจน้ำ แบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็น 3 ส่วน 12 กองกำกับการ ประกอบไปด้วย[5]
หมายเลข | รูปภาพ | ผลิตในประเทศ | ชื่อเรือ | ปีที่เข้าประจำการ | ขนาด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|
เรือตรวจการณ์ขนาด 180 ฟุต | ||||||
1802 | เรือดำรงราชานุภาพ | 180 ฟุต | [15] | |||
1803 | เรือลพบุรีราเมศวร์ | 180 ฟุต | [16] | |||
1804 | ไทย[17] | เรือศรีนครินทร์ | 2532[17] | 180 ฟุต | มีปืนประจำเรือขนาด 3 นิ้วลำเดียวของตำรวจน้ำ[18][19] | |
เรือตรวจการณ์ขนาด 110 ฟุต | ||||||
1101 | เรือจ่าแสนยบดี | 110 ฟุต | ||||
1102 | เรือเชวงศักดิ์สงคราม | 110 ฟุต | ||||
1103 | เรือพรหมโยธี | 110 ฟุต | ||||
เรือตรวจการณ์ ขนาด 130 ฟุต | ||||||
1301 | ไทย [20] | เรือชัยจินดา | 2564 | 130 ฟุต | ปล่อยลงน้ำวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[21] | |
เรือตรวจการณ์ ขนาด 90 ฟุต | ||||||
901 | ไทย | เรือศรียานนท์ | 2532 | 90 ฟุต | [22] [23] | |
เรือตรวจการณ์ ขนาด 70 - 80 ฟุต | ||||||
706 | ไทย[24] | เรือวาสุเทพ | 2560[25] | 70 ฟุต | [26] | |
707 | ไทย[24] | เรืออธิกรณ์ประกาศ | 2560 | 70 ฟุต | [24] | |
807 | เรือพระองค์คำรบ | 85 ฟุต | [27] [28] | |||
808 | เรือพิจารณ์พลกิจ | 85 ฟุต | [29] [28] | |||
809 | เรือรามอินทรา | 85 ฟุต | [30] [28] [23] | |||
814 | ไทย | เรือคุณพุ่ม | 2551 | 80 ฟุต | [31] | |
815 | ไทย | เรือรัถยาภิบาลบัญชา | 2559 | 80 ฟุต | ตั้งชื่อเรือตามผู้บัญชาการตำรวจคนแรก หลวงรัถยาภิบาลบัญชา เรือตรวจการณ์ประเภท CATAMARAN | |
816 | ไทย | เรืออรรถราชวราทร | 2559 | 80 ฟุต | เรือตรวจการณ์ประเภท CATAMARAN | |
817 | ไทย | เรือปทุมวัน 2 | 2563 | เรือตรวจการแบบ M25 Patrol Boat[32] | ||
จะไม่มีการตั้งชื่อประจำเรือ แต่จะใช้การเรียก เรือตำรวจน้ำ ซึ่งบางครั้งเขียนเป็นอักษรย่อภาษาไทยข้างลำเรือว่า รน. ตามด้วย หมายเลขประจำเรือ ตามขนาดเรือ และลำดับภายในชุด เช่น
ประกอบด้วยเรือหลากหลายขนาด ตามภารกิจในแต่ละพื้นที่[35]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.