Loading AI tools
กองการสงครามทางบกของกองทัพบรูไนดารุสซาลาม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพบกบรูไน (อังกฤษ: Royal Brunei Land Forces มลายู: Tentera Darat Diraja Brunei, ย่อ: RBLF, TDDB) เป็นกำลังทางบกของกองทัพบรูไน มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาและป้องกันดินแดนของบรูไน ทั้งจากการถูกโจมตีจากภายนอก[1] รวมไปถึงช่วยเหลือกองกำลังตำรวจแห่งชาติบรูไนในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ[2]
กองทัพบกบรูไน | |
---|---|
Tentera Darat Diraja Brunei | |
ตราอาร์มกองทัพบกบรูไน | |
ประจำการ | 31 พฤษภาคม 2504 |
ประเทศ | บรูไน |
รูปแบบ | กองทัพบก |
บทบาท | การสงครามทางบก |
กำลังรบ | 3,000 |
ขึ้นกับ | กองทัพบรูไน |
ยุทธภัณฑ์ | ดูรายชื่อ |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการ | พล.จ. Shanonnizam Sulaiman |
รองผู้บัญชาการ | พ.อ. Wata Abdullah Awat |
ผู้บัญชาการภาคสนาม | Vacant |
เสนาธิการ | พ.ท. Sufri Rosli |
จ่ากองทัพบก | จ.ส.อ. (พิเศษ) Kifley Johari |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธง |
กองทัพบกบรูไน หรือกองกำลังภาคพื้นดินบรูไนก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 โดยการจัดตั้ง กรมทหารมาเลย์บรูไน (Brunei Malay Regiment) และรับสมัครทหารเข้ารับการฝึกครั้งแรกจำนวน 60 นาย จากนั้นการก่อตั้งอย่างเป็นทางการของกรมทหารเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 เมื่อมีการจัดกำลังพลสามกลุ่มแรกเข้าประจำการในกรมทหารที่ประกอบไปด้วยกองร้อยไรเฟิลจำนวน 3 กองร้อย[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 กรมทหารดังกล่าวได้รับการพระราชทานคำนำหน้า กลายเป็น กรมทหารรอยัลบรูไนมาเลย์ (Royal Brunei Malay Regiment) เดิมประจำการอยู่ที่พอร์ตดิกสันในแหลมมาลายา ได้ถูกย้ายกรมไปตั้งในค่ายทหารที่สร้างขึ้นใหม่ในบรูไน กรมทหารรอยัลบรูไนมาเลย์ได้จัดตั้งหน่วยขึ้นมาใหม่อีก 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยเรือและหน่วยกิจการทางอากาศในปี พ.ศ. 2508 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองกำลัง ซึ่งทั้งสองหน่วยที่ได้ตั้งขึ้นมาใหม่ได้ถูกรวมพร้อมกันกับกรมทหารราบและกลายเป็นกองกำลังเดียวในปี พ.ศ. 2509[4]
ในปี พ.ศ. 2515 โครงสร้างของกรมทหารมีการเปลี่ยนแปลง โดยแยกส่วนของทหารราบ การบิน และนาวีออกเป็นหน่วยแยกกันอีกครั้ง โดยกองร้อยทหารราบกลายเป็นกองพันที่ 1 กรมทหารรอยัลบรูไนมาเลย์ ประกอบไปด้วยกองร้อยไรเฟิลจำนวน 5 กองร้อย หลังจากนั้นสามปี ได้มีการก่อตั้งกองพันที่ 2 กรมทหารรอยัลบรูไนมาเลย์ โดยแยกกองร้อยบราโว (B) และเอคโค (E) ออกจากกองพันที่ 1[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรโดยสมบูรณ์ ในเวลานั้น กรมทหารรอยัลบรูไนมาเลย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองกำลังภาคพื้นดินบรูไน หรือกองทัพบกบรูไน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบรูไนที่มีขนาดใหญ่กว่า ปี พ.ศ. 2533 กองพันสนับสนุนได้ถูก่อตั้งขึ้นพร้อมด้วย กองร้อยยานเกราะลาดตระเวน กองร้อยป้องกันภัยทางอากาศ และกองร้อยทหารช่าง จากนั้นปี พ.ศ. 2537 ได้มีการก่อตั้งกองพันที่ 3 กองทัพบกบรูไนขึ้นมา โดยดึงกำลังจากกองร้อยเดลต้า (D) กองพันที่ 1 และกองร้อยฟ็อกทรอท (F) จากกองพันที่ 2 ในขณะที่กองร้อยป้องกันภัยทางอากาศ และกองร้อยทหารช่างถูกย้ายจากกองพันสนับสนุนไปสังกัดกับกองทัพอากาศบรูไน และกิจการสนับสนุนตามลำดับ[5]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 กองทัพบกบรูไนได้ทำการทดลองแทนที่เครื่องแบบสนามลายพราง DPM (Disruptive Pattern Material) ด้วยลายพรางแบบดิจิทัล (Digital Disruptive Pattern) ภายใต้ขอตกลงกับบริษัท Force-21 Equipment[6]
กองทัพบกบรูไนจัดกำลังแบ่งออกเป็นสี่กองพันแยกจากกัน ได้แก่[7]
กองพันที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 ประกอบไปด้วยหน่วยที่มีกำลังพลจากการรับสมัครมาเพื่อฝึกทหารจำนวน 3 หน่วย ณ ค่ายเซเกนติ้ง (Segenting Camp) เมืองพอร์ตดิกสัน ประเทศมาเลเซีย หลังจากการก่อสร้างค่ายในเบรากัสเมื่อปี พ.ศ. 2518 โครงสร้างของหน่วยก็เปลี่ยนไปเป็นกองพันภาคพื้นดินที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันเอก เจ.เอฟ. เดวิส ซึ่งกองกำลังประกอบไปด้วยกรมต่าง ๆ รวมไปถึงกองร้อยมาร์คัส (Markas Company) และกองร้อยไรเฟิลอีก 5 กองร้อย (อัลฟ่า (A), บราโว (B), ชาลี (C), เดลตา (D) และ เอคโค (E))[8]
กองพันที่ 2 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2518 ณ ค่ายโบลเกียห์[9] (Bolkiah Garrison) ก่อนหน้านี้กองพันประกอบไปด้วยกองร้อยบราโว (B) และเอคโค (E) จากกองพันที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการในขณะนั้น คือพันโท เอ.อี. ฮิบเบิร์ต จากนั้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 กองพันได้ย้ายไปยังค่ายตูตง (Tutong Camp) ซึ่งหลังจากการต่อตั้งกองพันที่ 2 พันจิรัน รัตนา อินเดรา พันโท เปงกิรัน ดาโต เซเตีย อิบนุ บิน เปงกิรัน ดาตู เปงกิรัน ฮะจิ อาปง (Pengiran Dato Setia Ibnu bin Pengiran Datu Penghulu Pengiran Haji Apong) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองพัน[10]
กองพันที่ 3 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ประกอบไปด้วยกองร้อยเดลตา (D) จากกองพันที่ 1 และกองร้อยฟอกซ์ทรอต (F) ของกองพันที่ 2 และกองร้อยบังคับบัญชาจากกองพันที่ 1 และ 2 โดยมี พันตรี ชาห์ลัน บิน ฮิดัป (Shahlan bin Hidup) เป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกที่ได้รับมอบหมาย่ให้บัญชาการกองพัน ก่อนหน้านี้กองพันที่ 3 ตั้งอยู่ที่ค่ายเปนันจง (Penanjong Garrison)[11] และย้ายไปยังค่ายใหม่ที่เมืองลูมุต เขตเบไลต์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550[12]
แต่เดิมกองพันสนับสนุนก่อตั้งขึ้นมาจาก 5 หน่วยหลัก ได้แก่ กองร้อยยานเกราะลาดตระเวน กองร้อยทหารช่าง กองร้อยป้องกันภัยทางอากาศ โรงงานช่างปีนังจง (Penanjong Workshop) และกองบัญชาการค่ายปันจง (Penanjong Garrison Headquarters) โดยได้รับการจัดหน่วยใหม่เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2533 และก่อตั้งอย่างเป็นทางการในชื่อว่ากองพันสนับสนุน ประกอบไปด้วยสามหน่วยหลัก ได้แก่ กองร้อยยานเกราะลาดตระเวน กองร้อยทหารช่าง และกองร้อยสนับสนุนกองพัน[13]
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ
(เกิด–เสียชีวิต) |
สมัยดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เข้ารับตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง | ระยะเวลา | ||||
1 | พลตรี Husin Ahmad (born 1944) |
17 กันยายน 2534 | 10 สิงหาคม 2537 | 2 ปี 327 วัน | [14] | |
2 | พลตรี Shari Ahmad |
11 สิงหาคม 2537 | 28 ตุลาคม 2542 | 5 ปี 78 วัน | ||
3 | พลตรี Jaafar Abdul Aziz |
29 ตุลาคม 2542 | 31 มกราคม 2544 | 1 ปี 84 วัน | ||
4 | พลตรี Halbi Mohammad Yussof (born 1956) |
1 กุมภาพันธ์ 2544 | 14 มีนาคม 2546 | 3 ปี 42 วัน | ||
5 | พันเอก Abdu'r Rahmani Basir |
15 มีนาคม 2546 | 1 กรกฎาคม 2548 | 1 ปี 108 วัน | ||
6 | พันเอก Rosli Chuchu |
1 กรกฎาคม 2548 | 12 ธันวาคม 2551 | 3 ปี 164 วัน | ||
7 | พลตรี Aminuddin Ihsan (born 1966) |
12 ธันวาคม 2551 | 13 พฤศจิกายน 2552 | 0 ปี 336 วัน | [15] | |
8 | พลจัตวา Yussof Abdul Rahman |
13 พฤศจิกายน 2552 | 1 ธันวาคม 2557 | 5 ปี 18 วัน | [14] | |
9 | พลตรี Aminan Mahmud (born 1968) |
1 ธันวาคม 2557 | 31 มกราคม 2561 | 3 ปี 60 วัน | [16] | |
10 | พลจัตวา Khairul Hamed |
31 มกราคม 2561 | 30 กรกฎาคม 2563 | 2 ปี 191 วัน | [17] | |
11 | พลตรี Haszaimi Bol Hassan |
30 กรกฎาคม 2563 | 1 มีนาคม 2565 | 1 ปี 224 วัน | [18] | |
12 | พลจัตวา Abdul Razak (born 1972) |
1 มีนาคม 2565 | 10 มิถุนายน 2565 | 0 ปี 101 วัน | [19] | |
13 | พลจัตวา Saifulrizal Abdul Latif |
10 มิถุนายน 2565 | 9 มิถุนายน 2566 | 0 ปี 364 วัน | [20] | |
14 | พลจัตวา Shanonnizam Sulaiman |
9 June 2023 | อยู่ในตำแหน่ง | 1 ปี 151 วัน | [21] |
เครื่องหมายยศสำหรับนายทหารชั้นสัญญาบัตรของกองทัพบกบรูไน
กลุ่มชั้นยศ | นายพล / นายทหารชั้นนายพล | นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส | นายทหารสัญญาบัตร | นักเรียนนายร้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพบกบรูไน[22] |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Fil marsyal | Jeneral | Leftenan jeneral | Mejar jeneral | Brigedier jeneral | Kolonel | Leftenan kolonel | Mejar | Kapten | Leftenan | Leftenan muda | Pegawai kadet | |||||||||||||||||||||||||
Field Marshal จอมพล |
General พลเอก |
Lieutenant general พลโท |
Major general พลตรี |
Brigadier general พลจัตวา |
Colonel พันเอก |
Lieutenant colonel พันโท |
Major พันตรี |
Captain ร้อยเอก |
Lieutenant ร้อยโท |
Junior lieutenant ร้อยตรี |
Officer cadet นักเรียนนายร้อย |
บรูไนต่างไปจากกองกำลังติดอาวุธอื่น ๆ ในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ โดยยังคงมีจ่าสิบจำนวน 4 ตำแหน่ง ซึ่งใช้งานในระบบนายทหารชั้นประทวนของเครือจักภาพแห่งประชาชาติ ตลอดจนรูปแบบเครื่องหมายชั้นยศต่าง ๆ โดยตารางด้านล่างนี้แสดงเครื่องหมายชั้นยศของนายทหารชั้นประทวนของกองทัพบกบรูไน
กลุ่มชั้นยศ | นายทหารประทวนอาวุโส | นายทหารประทวน | พลสมัคร และพลทหาร | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพบกบรูไน[22] |
ไม่มี เครื่องหมาย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
Sarjan mejar (Jawatan) |
Pegawai waran 1 | Pegawai waran 2 | Pegawai kadet | Staf sarjan | Sarjan | Koperal | Lans koperal | Prebet/Soldadu | ||||||||||||||||||||||||||||
จ่าสิบเอกพิเศษ | จ่าสิบเอก | จ่าสิบโท | นักเรียนจ่า จ่าสิบตรี |
จ่าสิบตรี | สิบเอก | สิบโท | สิบตรี | พลทหาร | ||||||||||||||||||||||||||||
Sergeant major | Warrant officer | Warrant officer | Warrant officer | Staff sergeant | Sergeant | Corporal | Lance corporal | Private |
ชื่อ | ที่ตั้ง | หน่วย |
---|---|---|
ค่ายเบรากัส (Berakas Camp) | เบอรากัซ 'เอ' |
|
ค่ายโบลเกียห์[9] (Bolkiah Garrison) | เบอรากัซ 'เอ' | |
ค่ายสุไหงอาการ์ (Sungai Akar Camp) | เบอรากัซ 'บี' |
|
ค่ายลุมัต (Lumut Camp) | เลียง |
|
ค่ายตู่ตง (Tutong Camp) | เปอกันตูตง |
|
ค่ายปนันจง (Penanjong Garrison) | เปอกันตูตง | |
ค่ายบังการ์ (Bangar Camp) | บางาร์ | |
ฐานทัพเรือมัวรา (Muara Naval Base) | เซอราซา |
|
เกาะบารู-บารู (Baru-Baru Island) | อ่าวบรูไน |
|
กองทัพบกบรูไนมีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับกองทัพบกสหราชอาณาจักร เนื่องจากในความเป็นจริงนั้นมีกองทหารรักษาการณ์ถาวรของสหราชอาณาจักรอยู่ในบรูไน หลังจากการปฏิวัติบรูไนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ทำให้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างบรูไนและสหราชอาณาจักรว่ากองพันทหารกรูข่าจะประจำการอยู่ในประเทศบรูไน เพื่อรักษาผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะสถานีน้ำมันสำคัญที่เซอเรีย ปัจจุบันกองทหารรักษาการณ์ประกอบไปด้วยกองพันของกองพันทหารกูรข่า (Royal Gurkha Rifles) พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์อีกจำนวนหนึ่งจากหน่วยบินกองทัพบกเพื่อสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ประเทศบรูไนยังถูกใช้งานพื้นที่เพื่อทำการฝึกการรบในป่าโดยกองทัพบกสหราชอาณาจักร การคงอยู่ของกองทหารรักษาการณ์โพ้นทะเลเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของสหราชอาณาจักรที่คอยช่วยเหลือกองทัพบกบรูไนในการฝึก
กองทัพบกบรูไนรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาติอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ โดยฝึกซ้อมรบร่วมกับกองทัพบกมาเลเซีย[38]และกองทัพบกสิงคโปร์[39]เป็นประจำ นอกจากนี้กองทัพบกบรูไนยังได้ฝึกซ้อมรบเป็นประจำกับกองทัพบกของออสเตรเลีย[40] จีน นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์[41] และไทย[42] ในขณะที่นาวิกโยธินสหรัฐได้ดำเนินการฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า การัต (Cooperation Afloat Readiness and Training: CARAT) ร่วมกับบรูไนอีกด้วย[43]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.