Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มดาวยูไรอัน (อังกฤษ: EURion constellation) หรือที่รู้จักกันในชื่อ แหวนออมรอน (Omron rings[2]) และ โดนัต (doughnuts[3]) เป็นรูปแบบของสัญลักษณ์ที่รวมอยู่ในการออกแบบธนบัตรจำนวนหนึ่งทั่วโลกตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2539 มันถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยให้ซอฟต์แวร์จัดการภาพตรวจพบการปรากฏของธนบัตรในภาพดิจิทัล ซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถป้องกันไม่ให้ผู้ใช้พิมพ์ซ้ำธนบัตรเพื่อป้องกันการปลอมแปลงโดยใช้เครื่องถ่ายเอกสารสี จากการวิจัยจาก พ.ศ. 2547 กลุ่มดาวยูไรอันใช้สำหรับเครื่องถ่ายเอกสารสี แต่อาจไม่ได้ใช้ในซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มีรายงานว่า อะโดบี โฟโตชอป จะไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขภาพธนบัตร แต่ในบางรุ่นของโปรแกรมเชื่อว่าเป็นเพราะลายน้ำดิจิทัลที่ไม่รู้จักมากกว่าเป็นเพราะกลุ่มดาวยูไรอัน
ในประเทศไทยมีการพิมพ์ธนบัตรโดยมีลายน้ำกลุ่มดาวยูไรอันโดยมีทั้งหมดดังนี้
ธนบัตรที่มีลายน้ำกลุ่มดาวยูไรอัน | ธนบัตรที่ไม่มีลายน้ำกลุ่มดาวยูไรอัน | |
บาท | 20 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2556), 50 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2555), 70 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2559), 100 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2548, 2553, 2555 2558 และ 2567), 500 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2557 และ 2559), 1,000 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2548 และ 2558), ทั้งหมด (ธนบัตรชุดที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ.ศ. 2560), ทั้งหมด (ธนบัตร พ.ศ. 2561) | 20 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2546), 50 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2540 และ 2547), 100 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2547 และ 2563), 500 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2544), 1,000 บาท (ธนบัตร พ.ศ. 2542 และ 2563) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.